1 เม.ย. 2021 เวลา 17:04 • หนังสือ
ในรัฐธรรมนูญ ep.1 ก็ได้เล่าถึงที่มาของรัฐธรรมนูญ อเมริกาหรือฝรั่งเศส ที่เกิดการแตกหักจากระบอบเก่าไปสู่ระบอบใหม่ แล้วนำไปสู่การริเริ่มกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร อันเกิดจากประชาชน
แต่ทั่วโลกนั้นมีระบบกฎหมายอยู่ 2 อย่างคือ กฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร และ กฎหมายแบบจารีตประเพณี
ส่วนในไทยเองนั้นไม่ได้เปลี่ยนเป็นระบบใดระบบหนึ่ง 100 % แต่รู้จักผสมผสานทั้งสองระบบเข้าด้วยกัน ก็คืออันไหนเป็นธรรมเนียมปฎิบัติกันมาช้านานแล้วดีก็คงไว้ ถ้าหากต้องการสร้างสิ่งใหม่ก็บัญญัติขึ้นมาเป็นลายลักษณ์เป็นเฉพาะเรื่องไป
แต่เหตุผลในการเปลี่ยนระบอบการปกครองนั้นของไทยนั้นแท้จริงอาจจะเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือการกลัวว่าจะถูกฝั่งยุโรปล่าอาณานิคม ดังนั้นเพื่อเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเลยเปลี่ยน จากสมบูรณยาสิทธิราชย์ ไปสู่ รัฐธรรมนูญที่มีกษัติรย์ทรงเป็นประมุข
ถ้าหากมองกันอย่างคนทั่วไป ประชาธิปไตยคือประชาชนเป็นใหญ่ หรือเสียงข้างมากในสังคม ดังนั้นถ้าเราบอกว่าเราปกครองแบบประชาธิปไตยแต่อำนาจที่แท้จริงไม่ใช่ของประชาชน มันควรเรียกว่าระบอบการปกครองแบบไหนกัน ?
ดังนั้นใน Ep.2 นี้ผมอยากชวนมาตั้งคำถามและหาคำตอบไปพร้อมๆกันว่า แท้จริงอำนาจ สร้าง ก่อตั้ง ริเริ่ม หรือที่เรียกว่าการสถาปนารัฐธรรมนูญ ใครสมควรเป็นผู้สถาปนารัฐธรรมนูญ ? แล้วรัฐธรรมนูญเราเป็นเสรีประชาธิปไตย หรือ เผด็จการทหาร ?
เรื่มต้นที่การสถาปนาคืออะไร  ?
การสถาปนาก็คือ อำนาจแห่งการ "ริเรื่ม"  มันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมี ระบบเก่า และ ระบบใหม่ ต่อมาภายหลังระบบเก่าถูกทำลายลง แล้วถูกทดแทนโดยระบบใหม่
มีคำถามอยู่ว่าในห้วงของการทำลายระบบเก่าและก่อตั้งระบบใหม่นั้น เกิดขึ้นเมื่อใด ? ใช้อำนาจอะไร ?  อำนาจนั้นชอบธรรมหรือไม่ ?
จอห์น ล็อก ได้อธิบายสิทธิของประชาชนในการปฎิวัติไว้ใน Two trealises of Government (1689)
สิทธิในการปฎิวัติ  เป็น ส่วนหนึ่งของสัญญาประชาคม (Social contract) อธิบายภายใต้กฎธรรมชาติว่า ประชาชนทั้งปวงมีสิทธิ ในชีวิต , ในเสรีภาพ และ ในทรัพย์สินของตนเอง
ตามสัญญาประชาคมที่ก่อตั้งขึ้นระหว่าง  ประชาชน - ผู้ปกครอง  เมื่อผู้ปกครองใช้อำนาจอันมิชอบเพื่อทำลายผลประโยชน์ของประชาชาเมื่อใด  ประชาชนย่อมสิทธิในการ "ปฎิวัติผู้ปกครอง" ได้เมื่อนั้น
 
ต่อมามีความพยายามสร้างคำอธิบายว่า อำนาจที่ใช้ในการ   "ทำลายระบบเก่า"และ"ก่อตั้งระบบใหม่" เรียกทฤษฎีนั้นว่า "อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ"
- ทฤษฎีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญถือกำเนิดขึ้นเมื่อ
- ในศตวรรษที่ 17 มีความคิดที่คล้ายคลึงกับ ทฤษฎีสถาปนารัฐธรรมนูญอยู่บ้าง เช่น การปฎิวัติอังกฤษที่เปลี่ยนจากสาธารณรัฐในชื่อ Commonwealth โดยมีเอกสารที่เป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรชื่อ lnstrument of goverment 1653
- อีกตัวอย่างที่ชัดเจนอีก คือ อเมริกา ที่อาจจะเรียกได้ว่าค้นพบ ทฤษฎีสถาปนารัฐธรรมนูญ โดยมีประชาชนเป็นผู้ทรงอำนาจในการสถาปนาขึ้นเอง
- หรือ ฝรั่งเศส ก็ได้ยกให้ฐานันดรที่ 3 คือชาติ โดยมีนัยยะคือ ประชาชน มีอำนาจในการสถาปนารัฐธรรมนูญทดแทนอำนาจเก่าเช่น กษัตริย์ หรือ พระเจ้า นั้นเอง
- อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ  : เป็นอำนาจที่ไร้ระเบียบ และ ไม่อาจจัดระเบียบได้ แต่สามารถ "สร้างระเบียบรูปแบบใหม่ขึ้น"
- มีทวิลักษณ์อยู่ 2 ประการ ( ทวิลักษณ์คือ คำนิยามถึงลักษณะของความสัมพันธ์บนโลกนี้ซึ่งความหมายนั้นคือทุกสิ่งอย่างนั้นคงอยู่ด้วยสองขั้วคู่ตรงข้ามเช่น ขาว-ดำ ดี-ชั่ว ฯ  )
- 1. รื้อถอนทำลายระบอบการเมืองเก่า หรือ ระบบรัฐธรรมนูญเดิม
- 2.ก่อตั้งของการเมืองใหม่ หรือ รัฐธรรมนูญใหม่
- เมื่ออำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ปรากฎขึ้นและถูกใช้ เมื่อนั้นจะเกิดการรื้อถอนระบบเก่าตั้งระบบใหม่
- ปรากฎขึ้นและถูกใช้ จะอยู่ในห้วงสภาวะปราศจากรัฐธรรมนูญ หรือระบอบกการเมือง เป็นห้วงเวลาที่( ไร้ระเบียบ , ไม่มีกฎหมาย ) และเตรียมเข้าสู่หรือโอนย้ายไป รัฐธรรมนูญใหม่ ระเบียบทางกฎหมายจึงเกิดขึ้น อำนาจต่างๆต้องอยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญและระบอบใหม่
- ตัวอย่าง เช่น
- USA  : ประชาชนผู้ทรงอำนาจทำการ ''ปฎิวัติ"  เกิดการสถาปนาระบอบใหม่แทนที่ในรูปของรัฐธรรมนูญอเมริกา 1787 :  อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ  > เกิดการ ทำลาย และ ตัดขาดจาก [ ระบอบของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ]
- ฝรั่งเศส :  นิยามคำว่าชาติ nation อีกนัยยะคือประชาชน ได้ก่อตั้งระบบใหม่ ประชาชนผู้ทรงอำนาจ "ปฎิวัติ" เกิดอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ   อำนาจนั้นได้ ทำลายรื้อถอน  ออกจากระบอบกษัตริย์การปกครองสมบูรณรายาสิทธิราชย์ ดำรงอยู่ ณ ตอนนั้น
อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ได้ตัดขาดชีวิตของรัฐขาดสะบั้น (ชีวิตเก่าได้ตายไป ชีวิตใหม่ได้เกิดชึ้น)
หากยังมีสิ่งที่ตกค้างจากชีวิตเก่า สิ่งที่ตกค้างนั้นต้องอยู่กับ "ชีวิตใหม่ตามระเบียบของชีวิตใหม่"
 
เมื่ออำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเกิดขึ้น = การเปลี่ยนแปลงแบบ "ปฏิวัติ"
"ไม่มีทางพูดถึงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญโดยไม่พูดถึงการปฎิวัติ"
 
ผู้ทรงสถาปนารัฐธรรมนูญควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ?  
2.คุณสมบัติของอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ควรมีลักษณะ 3 ประการ 
1. อำนาจแห่งการริเริ่ม
2. อำนาจอิสระ
3. อำนาจที่ปราศจากเงื่อนไข
  กล่าวโดยสรุปว่า ก่อตั้งอย่างมีเสรีประชาธิปไตยที่ไม่ได้มาจากเผด็จการและต้องมีความเป็นอิสระฝ่ายเดียว ไม่ยืดโยงกับอำนาจเก่าหรือติดหนี้บุญคุณใครเพื่อได้อำนาจมา
3. ผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ สามารถเป็นใครได้บ้าง ?
คำตอบคือ ขึ้นอยู่ในแต่ละช่วง แต่ละยุคสมัย
- ยุคกลางพระเจ้า เป็นผู้ทรงอำนาจในการสถาปนารัฐธรรมนูญ
- ยุคปฏิวัติฝรั่งเศส ซีแยส สร้างทฤษฎีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็น “ชาติ”
- ศ. 18 กษัตริย์ไม่ใช่ผู้ทรงอำนาจในการสถาปนารัฐธรรมนูญแต่เป็นมนุษย์ทั้งหลายที่กำหนดประเภทรูปแบบหน่วยงานทางการเมือง
- 1815-1830 ยุคฟื้นฟูกษัตริย์ได้กลับมาเป็นผู้ทรงอำนาจในการสถาปนารัฐธรรมนูญอีกครั้ง แม้รัฐธรรมนูญจะจำกัดอำนาจของกษัตริย์ แต่กษัตริย์ก็เป็นผู้สถาปนาขึ้นเองอยู่
- หรือในบ้างครั้ง อาจเป็นคนส่วนน้อย ที่ถือกำเนิดขึ้นจากการใช้อำนาจสถาปนา
- อภิธนาธิปไตย  คือ คนกลุ่มน้อยชนชั้นปกครอง อาจมาจากวงศ์ตระกูล ความมั่งคั่ง อำนาจทหาร การศึกษา ศาสนา การปกครองแบบนี้ ประชาชนไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมในการปกครอง
- คณาธิปไตย คือ การปกครองโดยคณะกลุ่มบุคคล ซึ่งปกครองโดยมุ่งผลประโยชน์แก่กลุ่มของตนเท่านั้น
- กษัตริย์ เป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ อาจมีรูปแบบแตกต่างกันออกไปหลายรูปแบบ
- ตรารัฐธรรมนูญ + พรบ (การตัดสินใจฝ่ายเดียว)
- สภา + ประชาชน (มีส่วนในการตราด้วย)
- พระราชทานรัฐธรรมนูญ (ถูกกดดันทางการเมือง )
- ทั้งหมดแล้ว สุดท้ายตัวแปรก็คือ กษัตริย์
- ประชาชนนั้นอาจมีความซับซ้อนอยู่บ้างในการใช้อำนาจเพราะความต้องการของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้น การแสดงออกของประชาชนต้องทำให้เกิดการตัดสินใจฝ่ายเดียวให้ได้ หรือต้องมีความเป็นเอกภาพอย่างสูง เช่น
- การออกเสียงประชามติให้ความชอบรัฐธรรมนูญ (เสียงข้างมาก)
- หรือ สส. (ผู้แทนประชาชน) ในการทำหน้าที่ ยกร่าง + เห็นชอบรัฐธรรมนูญ
- ดังนั้นถ้าหากสังเกต ในยุคสมัยใหม่นั้น ประเทศที่พัฒนาแล้ว รัฐถูกแยกออกจาก ศาสนา + กษัตริย์ ดังนั้นจึงไม่มีข้อถกเถียงอีกต่อไปว่าใครเป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ เพราะมีแต่ ประชาชนที่ตัดสินใจและเลืกอรูปแบบการปกครองที่ตนปรารถ มีความอิสระ อัตตาณัติ มาจากคำว่า อัตตาที่เเปลว่า การถือตัวเองเป็นใหญ่ , อาณัติ ช้อบังคับ คำสั่ง กฎ เครื่องหมาย หรือ การมอบหมายให้ดูแลการปกครอง
4.ทวิลักษณ์อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ กับ กระบวนการสถาปนารัฐธรรมนูญ
- อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญทวิลักษณ์  2 ด้าน
1. การริ้อถอน ทำลายระบบรัฐธรรมนูญเดิม
2. การก่อตั้ง ระบบรัฐธรรมนูญ
1. การรื้อถอน ทำลายระบบรัฐธรรมนูญเดิม
1. สภาวะปราศจากระบบรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นได้หลายวิธีขึ้นอยู่ว่า ใครเป็นองค์กรผู้มีอำนาจตัดสินใจ สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท
1. โดยการตัดสินใจของบุคคล หรือ คณะบุคคล อาจมาในรูปแบบ รัฐประหาร : และสามารถเกิดได้อีกหลายปัจจัยด้วยกัน คณะทหารกองทัพสนันสนุน
2. โดยการตัดสินใจของสภา ตัวอย่างเช่นประเทศฝรั่งเศสที่ยกสภาฐานันดรให้กลายเป็นสภาแห่งชาติเพื่อจะได้้อำนาจในการยกร่างรัฐธรรมนูญ
3. โดยการตัดสินใจของประชาชน กรณีจะช่วยเสริมสร้างประชาธิปไตยให้แข็งแรงยิ่งขึ้น เช่นการลงประชามติ เสียงข้างมากของคนในสังคม
2. การวางกรอบการใช้อำนาจรัฐธรรมนูญในการก่อตั้งรัฐธรรมนูญใหม่
2. การก่อตั้งรัฐธรรมนูญ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ย่อย
1. การยกร่างรัฐธรรมนูญ : ยกตัวอย่าง กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญหลังรัฐประหารมีลักษณะเป็นการ “ชงกันเอง กินกันเอง”ให้สังเกตง่ายๆว่าเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ มีความเชื่อมโยงกับประชาชนหรือไม่ ?
2. การให้ความเห็นชอบ + ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญ : ใครเป็นผู้ทรงอำนาจตอนนั้น กษัตริย์ ประชาชน หรือ คณะรัฐประหาร ก็สามารถเห็นชอบและประกาศใช้ได้ ถ้าในไทยก็รัฐธรรมนูญทุกฉบับต้องผ่านการลงปรมาธิไธยจากกษัตริย์เสียก่อน
บทบาทรัฐธรรมนูญชั่วคราว
มีความสัมพันธ์อยู่ 3 ช่วงเวลาด้วยกัน คือ อดีต - ปัจจุบัน - อนาคต
1.สิ่งที่มาจากดอีตนั้นเราต้อง ล้มล้าง - เลือกรับหลักเกณฑ์ในระบบเก่าบ้างอย่าง ( ยุบ - เลิก - ปลด เปลี่ยนองค์กรในระบอบเดิม )
2.กำหนดกฎเกณฑ์การใช้อำนาจในช่วงเปลี่ยนผ่าน
3.กำหนดกระบวนจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่และวางกรอบเนื้อหาของรัฐธรรมนูญใหม่
 
ถ้าอยากรู้ว่ารัฐธรรมนูญในอนาคตจะมีความเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ให้ดูว่าประชาชนได้มีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญในแต่ละช่วงหรือไม่ แต่ถ้าประชาชนไม่มีส่วนในการร่วมร่างรัฐธรรมนูญหรือเห็นชอบ ก็อาจเป็นไปได้สูงว่ารัฐธรรมนูญนั้นไม่ใช่ประชาธิปไตย
 
5. ผลของอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ เมื่ออำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ถูกใช้เพื่อก่อตั้งรัฐธรรมนูญ และระบอบการเมืองย่อมเกิดผลตามมา ดังนี้ อยู่ 3 ประการ
1. การแบ่งแยก "อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ" ออกจาก "อำนาจที่รับมาจากรัฐธรรมนูญ"   
1. กษัตริย์/ประธานาธิบดี - สส-สว-รัฐสภา-คณะรัฐมนตรี-ศาล-องค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นใด = เป็นอำนาจที่ได้มาจากรัฐธรรมนูญ
2. ส่วนประชาชน คือ  อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ
2. การก่อตั้งระบบกฎหมาย : ระบบกฎหมาย ที่มีรากฐานมากจากรัฐธรรมนูญ กฎเกณฑ์ทางกฎหมายจะสมบูรณ์ได้ก็ต้องตราโดยองค์กรผู้มีอำนาจและตรากฎหมายกระบวนการที่กฎหมายลำดับสูงกว่ากำหนดไว้และส่งถอดความสมบูรณ์ต่อเนื่องกันไปเสมือน "ห่วงโซ่แห่งความสมบูรณ”                                                                                                                                                 
3. การก่อตั้งระบอบการเมือง : ช่วงที่อำนาจสถาปนาปรากฎและถูกใช้บ้านเมืองจะอยู่ในช่วง "ปลอดรัฐธรรมนูญ" ผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ณ ตอนนั้น เป็นผู้ตัดสินใจก่อตั้งระบอบการเมืองและรัฐธรรมนูญแต่เพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น สมาชิกในรัฐนั้นต้องอย่ภายใต้ระบบกฎหมายที่ถูกก่อตั้งขึ้น
6. การดำรงอยู่ของอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญภายหลังจากสถาปนารัฐธรรมนูญแล้ว
ปัญหาที่ต้องพิจารณาคืออำาจสถาปนาถูกใช้เพื่อก่อตั้งรัฐธรรมนูญแล้ว อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญดำรงอยู่หรือไม่ ?
ประเด็นปัญหาเหล่านี้เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่าง "อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ" กับ "อำนาจที่รับมาจากรัฐธรรมนูญ" ซึ่งเราอาจแยกพิจารณาได้ตามแนวคิดที่แตกต่างกัน ดังนี้ ตามแนวคิดดังนี้
แนวคิดที่ 1 การดำรงอยู่อย่างถาวรของอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ
แนวคิดที่ 2 การเปลี่ยนรูปจากอำนาจสถาปนารับธรรมนูญเป็นอำนาจแก้ไข
แนวคิดที่ 3 การดำรงอยู่เคียงคู่กันของอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญกับอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ
 
บูรโดยืนยันว่า ต้องรักษา "อำนาจปฐมสถาปนารัฐธรรมนูญ" ไว้ด้วย มิใช่ปล่อยให้อำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าครอบงำอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญแบบเบ็ดเสร็จ ดังนั้น อำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญจะใช้ได้ภายใต้เงื่อนไข 3 ประการ
ประการที่ 1  อำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่อาจล่วงเกิน รุกล้ำ รือจำกัดอำนาจปฐมสถาปนารัฐธรรมนูญได้ ไม่มีกรณีใดทำให้องค์อธิปัตย์สูญเสียอภิสิทธิ์แห้งการก่อตั้งรัฐธรรมนูญ
ประการที่ 2 อำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจที่มีข้อจำกัด
ประการที่ 3 กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะสอดคล้องกับอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญของงองค์ปัตย์ได้ก็แต่เพียงกระบบวนการนั้นต้องยอมให้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเข้าไปมีส่วนร่วมได้
 
กล่าวโดยสรุป อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ > ก่อตั้งองค์กรและกระบวนการตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด  > เพื่อใช้อำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ
อำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ควรควบคุม ชักใย อำนาจใหม่เพื่อที่ปฐมสถาปนารัฐธรรมนูญ
โฆษณา