2 เม.ย. 2021 เวลา 05:30 • หนังสือ
📚 รีวิวหนังสือเทคนิค ”จำแบบไม่ต้องจำ” ที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ : หนังสือเทคนิคการจำที่ขายดีที่สุดในญี่ปุ่น! 📚
10
เขียนโดย คะบะซะวะ ชิอง
2
แปลโดย สำนักพิมพ์วีเลิร์น
👉🏻 หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่เขียนโดยจิตแพทย์นักเขียนชื่อดังของญี่ปุ่น คือคุณคะบะซะวะ ชิอง ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือ “The Power Of Output” ที่ฮอต 🔥 จนหาซื้อยากมาก ๆ อยู่ช่วงหนึ่งเลยครับ
1
ซึ่งหนังสือเรื่องเทคนิคการจำนี้ก็มีการนำเทคนิคของการทำ “output” หรือ “การส่งออก” นี่แหละครับมาใช้เป็นเทคนิคหลักเลย และในหนังสือก็มีการต่อยอดไปหาเทคนิคที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกมากมาย ที่อ่านแล้ว เออ ใช่เลยหวะ! จนผมเองแอบเสียดายว่าทำไมเราไม่ได้อ่านหนังสือแบบนี้ตั้งแต่ตอนยังเรียนหนังสืออยู่หละเนี่ย ไม่งั้นคงจบมากเกรดไม่ต่ำต้อยแบบนี้เป็นแน่ 😭
❓ถามว่าทำไมเราถึงต้องจำเก่ง หรือมีเทคนิคการจำหละครับ?
1
ถ้าเราลองมองตั้งแต่เราเด็ก ๆ ที่เราเรียนหนังสือ ต้องอ่านหนังสือมาสอบแข่งขัน สอบเพื่อข้ามระดับชั้น จนกระทั่งสอบเข้าทำงาน หรือแม้กระทั่งตอนทำงานที่ต้องไปพรีเซ็นต์หรือไปประชุม จะเห็นว่ามันต้องมีการใช้ความจำระดับหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยใช่มั้ยครับ? 🤨
แล้วมันจะดีกว่ามั้ยครับ ถ้าเราสามารถอ่านหรือเห็นอะไรแล้วจำได้ดี จำได้แม่นกว่า ผมมองแล้วมันน่าจะมีข้อดีต่อตัวเรามากกว่าข้อเสียนะครับ
3
เราเคยสังเกตมั้ยหละครับว่า เพื่อนเราบางคนทำไมอ่านหนังสือแล้วจำได้ดีกว่าเรา บางคนอ่านหนังสือแค่นิดเดียวแต่จำเก่งมาก สอบได้คะแนนดีแบบชิว ๆ ในขณะที่เราอ่านสามรอบ ยังไม่เข้าหัวเลยซักนิด แง 😩
……………..
“ความจำที่ดีเป็นเรื่องของการเตรียมการถึง 90 เปอร์เซ็นต์!”
2
เค้าบอกว่าการที่จะเกิดความจำนั้นต้องผ่านกระบวนการ 4 อย่างดังนี้ครับ
1. ทำความเข้าใจ ✅
2. จัดระเบียบ ✅
3. จำ ✅
4. แล้วก็ ทบทวน ✅
3
💡 ซึ่งผู้เขียนบอกว่าส่วนที่สำคัญคือข้อ 1 กับ 2 ซึ่งคือการ “เตรียมการ” ก่อนการจำ ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่คนอื่นมองว่าเรียนดี หัวดี จำเก่ง นั้นมักจะเกิดจากการที่เค้ามีทักษะในการ “ทำความเข้าใจ” กับ “จัดระเบียบ” ข้อมูลที่รับเข้าไปสูงครับ สองสิ่งนี้เองทำให้เค้าเกิดความจำที่ดีได้ 😃
1
……………..
“เทคนิคการจำด้วยการส่งออก”
📌 เค้าบอกว่าหัวใจสำคัญของการจำนั้นคือ “การส่งออก” หรือทำ “output” นั่นเองครับ (ซึ่งอันนี้จะเป็นแก่นสำคัญของหนังสือ the power of output หนังสืออีกเล่มของผู้เขียน)
1
การส่งออกก็คือการถ่ายทอดข้อมูลที่เราได้มาจากการรับเข้ามา หรือ “input” ครับ ไม่ว่าจะเป็นการเล่าต่อ การเขียน การจดสรุป การอ่านออกเสียง รวมไปถึงการเอาสิ่งที่เราอ่านมาฝึกทำโจทย์ นำมาใช้จริง
1
🔥 และที่สำคัญยิ่งส่งออกเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีครับ เพราะว่ามีการทำการทดลองพบกว่าคนเรานั้นเมื่อผ่านไป 1 ชั่วโมงจะลืมข้อมูลที่เพิ่งรับไป 56 เปอร์เซ็นต์ และถ้าผ่านไป 1 วันนั้น จะลืมไปถึง 74 เปอร์เซ็นต์เลยครับ!
3
👉🏻 ซึ่งการส่งออกนั้นต้องทำซ้ำ ๆ ด้วยนะครับ ถึงจะจำได้แม่นยำกว่าเดิม โดยใช้หลักการง่าย ๆ ว่าพยายามส่งออกสัก 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์ ซึ่งการส่งออกซ้ำ ๆ นี่แหละครับเป็นการกระตุ้นสมองให้รู้ว่าข้อมูลอันนี้เป็นข้อมูลสำคัญ มีการหยิบเรียกเอามาใช้บ่อยดังนั้นสมองจึงจะย้ายข้อมูลนี้จากสมองส่วน “ฮิปโปแคมปัส” (Hippocampus) เอาไปเก็บไว้ที่ “สมองกลีบขมับ” ซึ่งเป็นที่เก็บ “ความทรงจำระยะยาว” 💡
3
……………..
“ใช้การแต่งเรื่องแทนการท่องจำ”
เพราะคนเรานั้นหลีกเลี่ยงความจริงไม่ได้นะครับว่าเมื่ออายุมากขึ้น ความทรงจำบางส่วนก็จะมีการเสื่อมถอยไปตามกาลเวลา แต่สิ่งที่มีมากขึ้นตามอายุก็คือ “ทักษะการมองภาพใหญ่” และ “ประสบการณ์” 👨🏻‍🦳
4
🔑 ดังนั้นเค้าจึงบอกให้เราลองเอาเรื่องนั้น ๆ ไปเชื่อมโยงเรื่องราวในชีวิตของเราที่เราผ่านมาดู ซึ่งเค้าบอกว่าตรงนี้คนที่มีอายุเยอะจะได้เปรียบมากกว่าเด็ก ๆ หนุ่มสาวเพราะมีเรื่องราวและประสบการณ์ในชีวิตที่เยอะกว่าครับ
1
……………..
“จำแม่นขึ้นด้วยการเล่าหรือสอนคนอื่น” 📢
1
ถ้าเราเคยสังเกตจะเห็นว่าคนที่เรียนเก่งนั้นมักจะเป็นคนสอน คนติวเพื่อน ๆ คนอื่นครับ เพราะการที่เค้ามาเล่าหรือสอนคนอื่นได้ เค้าต้องผ่านการอ่านทำความเข้าใจ มีการจัดระเบียบความรู้ที่อ่านไป ก่อนที่จะมาสอนหรือเล่าให้คนอื่นเข้าใจได้ ยิ่งเค้าทำอย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ตัวเค้ายิ่งจำแม่นเลยครับ เพราะทำให้เค้าได้ทบทวนไปด้วยอีกรอบ ครบกระบวนการในการจำที่บอกไว้ข้างต้นเลยครับ 😃
2
……………..
2
“จำแบบมองภาพใหญ่”
ผู้เขียนบอกว่าเวลาจะเริ่มอ่านหนังสือให้เริ่มอ่านจากหน้าสารบัญ 📖 ให้เห็นภาพรวมของหนังสือทั้งหมดก่อน จะช่วยทำให้เราเชื่อมโยงเนื้อหาทั้งหมดและจำได้ดีขึ้น
……………..
“เทคนิคการจำด้วยการสรุป” 📝
การสรุปเนื้อหาก็เป็นหนึ่งในการทำ “output” ครับที่ช่วยให้เราจำได้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจดสรุปอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งก็คือ “การจัดระเบียบข้อมูล” นั่นเองครับ ซึ่งมีงานวิจัยรองรับเลยนะครับว่า มนุษย์เราจะจดจำคำที่ถูกจัดระเบียบโครงสร้างได้มากกว่าคำที่ต่อ ๆ กันแบบอย่างไม่เป็นระเบียบถึง 40 เปอร์เซ็นต์ทีเดียวเลยครับ
……………..
“แค่นอนก็จำได้!” 😴
เค้าบอกว่าการนอนกับการจำมีส่วนเกี่ยวพันกันอย่างมากที่หลาย ๆ คนไม่เคยรู้ เพราะถ้าเรานอนไม่พอก็ไม่มีทางจำอะไรได้นาน ซึ่งมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาเวิร์ดนะครับว่าต้องนอนอย่างน้อย 6 ชั่วโมงถึงจะสามารถจำความรู้ใหม่ ๆ ได้ 🛌
❌ เคยกันมั้ยครับที่สมัยเรียนวันก่อนสอบแล้วเราอ่านหนังสือโต้รุ่งกันหนะครับ! เค้าบอกว่ามันก็อาจทำให้เราจำได้ขณะหนึ่งครับ แต่ความจำจะไม่อยู่กับเราระยะยาว สังเกตมั้ยครับว่าพอสอบเสร็จแทบจะลืม คืนอาจารย์ไปหมดเลย ซึ่งการทำแบบนี้ส่งผลให้เราไม่สามารถจำอะไรและไม่สามารถพัฒนาตัวเองในระยะยาวได้ครับ นอกจากนี้การอดนอนยังเป็นการบั่นทอนศักยภาพของสมองให้แย่ลงแบบฮวบฮาบเลยครับ ❌
1
💡 นอกจากนี้ยังมีเคล็ดลับอีกอย่างหนึ่งคือ ให้อ่านหนังสือก่อนนอน เพราะสมองจะมีช่วงที่มีประสิทธิภาพการจำสูงใน ”ช่วงก่อนนอน” ครับ เพราะเมื่อเรานอนสมองจะทำการจัดระเบียบสิ่งที่เรารับเข้าไปจึงทำให้เราจำได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ 💡
2
แล้วช่วงหลังจากเราตื่นนอน จะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการ “ทำความเข้าใจ” และ “จัดระเบียบ” จึงเป็นช่วงเวลาทองที่เราจะทำหรือคิดเรื่องที่มีความยาก ความซับซ้อนในตรรกะสูง ๆ ครับ เพราะหลังจากเรานอนหลับอย่างเพียงพอมาแล้วสมองจะมีการจัดระเบียบมาแล้วและอยู่ในสภาพที่ดีที่สุดครับ 🤓
1
……………..
“หากอยากจำแม่นต้องไม่ลืมทบทวน!”
หากอยากจำได้แบบ 💯 เปอร์เซ็นต์ผู้เขียนแนะนำว่าให้ทบทวนหลังจากได้รับหรืออ่านเข้ามา 1 วัน 3 วัน และ 7 วัน ซึ่งเค้าเรียกเทคนิคนี้ว่า “เทคนิคการย้อนทบทวนแบบ 1, 3, 7” ซึ่งเป็นการทำให้สมองรับรู้ว่าข้อมูลอันนี้สำคัญแล้วย้ายไปเก็บในส่วนความทรงจำระยะยาวครับ 🧠
1
……………..
“เทคนิคการแบ่งจำเป็นส่วน ๆ และกำหนดเวลาพัก” ⏳
เค้าบอกว่าเวลาเราอ่านอะไร ถ้าอ่านรวดเดียวยาว ๆ เลย จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการแบ่งอ่านเป็นส่วน ๆ แล้วอ่านซ้ำ ๆ ครับ เนื่องจากว่ามนุษย์เรานั้นต้องบอกว่าสมาธิสั้น จะจำหรือมีประสิทธิภาพสูงแค่ในช่วงเริ่มต้นกับช่วงท้าย การแบ่งเป็นส่วน ๆ แล้วมีเวลาพักคั่นจะช่วยทำให้เราสดชื่นขึ้นและได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการอ่านยาว ๆ รวดเดียวครับ
1
……………..
2
“เทคนิคการจำด้วยอารมณ์ความรู้สึก”
“ยิ่งมีอารมณ์ร่วมก็ยิ่งจำได้” 👍🏻 ผมว่าประโยคนี้จริงมากทีเดียว ถ้าเราลองสังเกตตัวเราเองว่าเหตุการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตที่เราจดจำได้ดี เรามักจะอิน หรือมีอารมณ์ร่วมกับมันสูงครับ เช่น เสียใจมาก ๆ หรือ ดีใจมาก ๆ ซึ่งเค้าเรียกความจำประเภทนี้ว่า “ความจำเชิงอารมณ์” (Emotional memory) ซึ่งจะจดจำได้ง่ายและนานว่าความจำแบบอื่น ๆ
……………..
“ความเครียดแบบกำลังดีจะช่วยกระตุ้นให้จำได้ดีขึ้น”
ความเครียดแบบกำลังดีจะช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่งสาร “นอร์อะดรีนาลิน” (Noradrenaline) ซึ่งจะไปช่วยกระตุ้นการสร้างความทรงจำระยะยาวส่งผลให้เราจำเรื่องนั้น ๆ ได้ยาวนานขึ้น
2
⚠️ แต่ถ้ามีความเครียดมากเกินไปมันจะส่งผลให้สมองด้อยประสิทธิภาพลงแทนครับ ซึ่งอันนี้เราอาจจะต้องทดลองกับตัวเราเองดูนะครับว่าระดับไหนที่ทำให้เรามีประสิทธิภาพ
1
📍 ตัวอย่างการนำไปใช้ ก็เช่น การกำหนดเส้นตายในเรื่องนั้น ๆ ให้ตัวเราเองครับ 💡 โดยต้องทำให้เป็นนิสัยและจริงจังการเรื่องของกำหนดเส้นตาย ก็จะทำให้สมองเราเค้นเอาประสิทธิภาพสูงสุดออกมาได้ครับ
……………..
“เทคนิคการจำด้วยการทำงานในร้านกาแฟ” ☕️
👉🏻 การเปลี่ยนสถานที่ทำงานหรืออ่านหนังสือนั้นช่วยกระตุ้นสมองส่วนฮิปโปแคมปัสของเราได้นะครับ เนื่องจากในฮิปโปแคมปัสมีเซลล์ที่เรียกว่า “เซลล์ประสาทสถานที่” (place cell) เมื่อเรามีการเปลี่ยนสถานที่เซลล์ประสาทส่วนนี้ก็จะถูกกระตุ้นให้ปล่อย ”คลื่นทีต้า” (Theta wave) ออกมา ทำให้ความจำรวมถึงการทำงานของเรามีประสิทธิภาพมากขี้น ซึ่งผู้ค้นพบเซลล์ประสาทส่วนนี้ถึงกับได้รับรางวัลโนเบลในปี 2014 เลยนะครับ 👍🏻
1
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่หลาย ๆ คนชอบไปนั่งอ่านหนังสือหรือจับกลุ่มติวที่ร้านกาแฟกันใช่มั้ยครับ
……………..
“เทคนิคการจำด้วยการบันทึก” ✍️
ผู้เขียนบอกว่าเวลาเราอ่านหนังสือ การที่เราขีดเส้นใต้ส่วนที่สำคัญหรือทำไฮไลท์หรือจดไปด้วยจะช่วยทำให้เราจำได้ดีขึ้นครับ หากเราฉุกคิดเรื่องอะไรออกก็ให้จดลงไปในหนังสือเลยครับ (หรือจดไว้ที่ไหนข้างนอกก็ได้ครับ สำหรับคนรักหนังสือ 😊)
เมื่อเวลาผ่านไปแล้วเรากลับมาเปิดอ่านสิ่งที่เราจดไว้อีกครั้ง มันจะช่วยให้เรานึกถึงเรื่องราวนั้น ๆ ได้ชัดเจนมากขึ้นครับ
1
……………..
“เทคนิคการจำด้วยการใช้ Social Network” 📲
เค้าบอกว่าในปัจจุบันนี้การจำสิ่งที่เราสามารถเสิร์ชหาได้ในอินเตอร์เน็ตหรือเปิดหาในหนังสือได้ไม่มีความจำเป็นนะครับ นอกจากว่าเราต้องไปสอบอะไรซักอย่างที่เค้าไม่อนุญาตให้เราเปิดหาเท่านั้นเอง ฉะนั้นในการทำงานเรามีสิทธิในการเปิดหาข้อมูล หรือ ”ลอกข้อสอบ” ได้ ดังนั้นจึงใช้สิทธินั้นให้เต็มที่ครับ
ตราบใดที่เราทำ “ดรรชนีความจำ” ที่เราบันทึกเอาไว้แล้วนึกออก ก็ถือว่าเราจำเรื่องราวเหล่านั้นได้แล้วครับ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญกว่าความจำ คือ “การบันทึก” ครับ
ทุกววันนี้เรามี social network มากมายให้เราใช้เขียน บันทึก โดยที่เราไม่เสียค่าใช้จ่ายอะไรเลยครับ ฟรี ดังนั้นเราจึงควรใช้ให้เกิดประโยชน์กับเราให้เต็มที่ครับ
ผู้เขียนนั้นเป็นคนที่ใช้สื่อทาง social network ในการทำ output ทั้งทาง facebook, youtube, twitter มาอย่างต่อเนื่องเกินกว่า 15 ปีแล้ว 👍🏻 ซึ่งเค้าบอกทั้งหมดที่เค้าทำการบันทึกนั้นเปรียบเสมือนคลังข้อมูล หรือฮาร์ดดิสก์ย่อย ๆ แบบพกพาเลยทีเดียว
👉🏻 นอกจากนี้เค้ายังยกตัวอย่างว่า เช่น การโพสต์บทความ ความรู้สึก หรือการรีวิวต่าง ๆ ลง social network ทำให้เราได้เห็นเรื่องนั้น ๆ ซ้ำ ๆ กันหลายรอบอีกด้วย เวลามีคนมีกดไลค์หรือแสดงความเห็น มันก็ทำให้เรากดเข้าไปดูและจะไปกระตุ้นให้นึกถึงสิ่งที๋โพสต์ไว้อีกครับ ซึ่งเปรียบเสมือนการ “ทบทวน” เรื่องนั้นซ้ำ ๆ ทำให้เราจำได้ดีเข้าไปอีกครับ
📌 เค้ายังให้เทคนิคอีกว่าเวลาเราจะโพสต์หรือเขียนอะไรลงไปก็ให้คิดไว้ว่าจะมีคนจำนวนมากมาอ่าน (ถึงแม้จะไม่ใช่ก็ตาม 55) มันจะทำให้เราเกิดความเครียดหรือความกดดันหน่อย ๆ ว่าจะเขียนอะไรห่วย ๆ ไม่ได้ เหมือนที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่าสมองจะหลั่งสาร “นอร์อะดรีนาลิน” ทำให้ประสิทธิภาพการจำเราดีขึ้น ซึ่งอันนี้แหละครับเป็นข้อดีของการโพสต์ลง social network ที่ดีกว่าการจดไว้อ่านคนเดียวครับ 😃
1
👉🏻 นอกจากนี้การใช้รูปภาพหรือแผนภาพก็จะช่วยเพิ่มการจดจำได้ดีขึ้นไปอีก เพราะสมองคนเราจะแยกข้อมูลด้านภาษากับข้อมูลด้านรูปภาพออกจากกัน การโพสต์ควบคู่ประกอบกันสองอย่างทำให้สมองได้เปิดประตูทั้งสองบานให้รับข้อมูลเข้ามาจึงทำให้มีประสิทธิภาพการจำดีขึ้นครับ
……………..
“ความสมดุลของการรับเข้าและส่งออก”
1
ผู้เขียนได้ย้ำไปหลาย ๆ รอบแล้วครับว่าสิ่งสำคัญในการทำให้จำได้คือ “การส่งออก” หรือ ทำ “output” บางคนอาจบอกว่าไม่มีเวลาส่งออกเลย เพราะใช้เวลาในการรับเข้าเยอะมาก เช่น คนที่ชอบบอกว่าอ่านหนังสือไปตั้งเยอะแยะ แต่ไม่เห็นได้ไรเลย หรือไม่เห็นมีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย
1
ก็เพราะไม่มีการส่งออกยังไงหละครับ ผู้เขียนเลยบอกให้เราทำการรับเข้ากับส่งออกให้มันสมดุลกัน หากไม่มีเวลาทำการส่งออก ก็ให้ลองลดเวลาในการรับเข้าลง แล้วเอาเวลาไปทำการส่งออกแทนจะดีกว่าครับ 🤓
1
……………..
1
“เทคนิคการเพิ่ม memory ให้กับสมอง” 🧠
สมองคนเราก็เหมือนกับคอมพิวเตอร์แหละครับ เวลาที่เปิดโปรแกรมหรือทำหลายอย่างพร้อมกัน อาจะเกิดอาการช้าหรืออาการ “เมมเต็ม” ได้ ดังนั้นให้เราเลือกที่จะทำอะไรแค่ 1-2 อย่างเท่านั้นก็พอครับ แล้วทุ่มสมาธิไปให้เต็มที่ให้เสร็จไปทีละอย่างแล้วค่อยเริ่มสิ่งใหม่
หรือเวลาเรามีความคิดอะไรหรือมีเรื่องอะไรที่ค้างอยู่ในสมองก็ให้พยายาม “เขียน” ✍️ ออกมาให้หมดครับ มันจะช่วยให้สมองเรามีพื้นที่เหลือครับ ไม่ต้องเก็บข้อมูลที่ไม่จำเป็นเดี๋ยวนั้น อีกทั้งทำให้เราไม่เสียสมาธิกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ตรงหน้าด้วย เค้าเรียกเทคนิคนี้ว่า “การเขียนแล้วลืม” 💡
……………..
“วิธีการป้องกันสมองแก่ด้วยเทคนิคจำแบบด้วยวิธีการใช้ชีวิต” 🧘🏻‍♂️
สุดท้ายผู้เขียนในฐานะแพทย์ก็ยังให้ข้อคิดและแนวทางในการใช้ชีวิตที่จะช่วยให้เรามีการกระตุ้นสมองตลอดเวลา ลดความเสี่ยงการเป็นโรคสมองเสื่อม ซึ่งหลัก ๆ อย่างที่ทุกคนทราบกันดีเลยครับคือ “การออกกำลังกาย” โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบ “คาร์ดิโอ” ที่จะช่วยเพิ่มเซลล์ประสาทในฮิปโปแคมปัสและเสริมความทรงจำระยะยาวให้ดีขึ้น 🏃‍♂️
💡 ซึ่งการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องทำให้สมองเรายังเติบโตได้นะครับแม้จะอายุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็ตาม
นอกจากนี้การไม่สูบบุหรี่ การรับประทานอาหารอย่างสมดุลรวมถึงการนอนอย่างเพียงพอก็เป็นตัวช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมได้อย่างดีเลยครับ
……………..
🎯 หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่บอกเทคนิคในการช่วยเพิ่มความจำที่เอาไปใช้ได้จริงในชีวิตเราเลยนะครับ ผู้เขียนจะเน้นให้เห็นความสำคัญของ “การจำนอกสมอง” มากกว่าการสะสมข้อมูลในสมองซึ่งมีพื้นที่จำกัด ซึ่งเค้าบอกว่ามันเป็น “เทคนิคการทำงานแห่งอนาคต” ที่เข้ากับยุคสมัยที่รายล้อมไปด้วยอินเตอร์เน็ตครับ 💻
ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยปรับปรุงการจำของเราเท่านั้นแต่มันช่วยทำให้เรามีการพัฒนาตนเองไปสู่อีกระดับหนึ่งเลยครับ
📌 การที่เราจะพัฒนาตัวเองขึ้นมาได้แบบก้าวกระโดดก็ต้องอาศัยการรับเข้าและส่งออกอย่างสมดุลและทำซ้ำ ๆ กันไปครับ มีประโยคหนึ่งที่ผู้เขียนเขียนไว้ท้ายบทแล้วผมชอบมากคือเค้าบอกว่า
💡 “อย่าเป็นคนที่เอาแต่ดู smartphone แต่จงเป็นคนที่ถูกดูผ่าน smartphone” 💡
✅ หากลดเวลาการรับข้อมูลเข้าแล้วเอามาใช้ส่งออกให้มากขึ้นซักหน่อย ชีวิตของเราก็น่าจะเปลี่ยนไปแบบคาดไม่ถึงเลยทีเดียวครับ ✅
1
#BookReview #รีวิวหนังสือ #สิงห์นักอ่าน
ป.ล. ถ้าไม่อยากพลาดการติดตามการรีวิวหนังสือดี ๆ แบบละเอียดยิบ ฝากกด Like กดติดตามเพจ รวมถึงยังติดตามได้อีกหนึ่งช่องทางใน facebook - facebook.com/TheCrazyBookReader
โฆษณา