3 เม.ย. 2021 เวลา 03:03 • ธุรกิจ
ฟรีแลนซ์ อาชีพอิสระ
ควรจัดการการเงินอย่างไรดี
5
พรี่หนอมรวบรวมสิ่งที่ต้องรู้มาให้ครับ
เขียนจากประสบการณ์จริงที่ผ่านมา
1
ฟรีแลนซ์ อาชีพอิสระ จัดการเงินอย่างไร?
รายได้ รายจ่าย กระแสเงินสด
1
รายได้ไม่แน่นอน รายจ่ายแน่นอน
อย่าลืมวางแผนล่วงหน้า ได้เงินมาห้ามใช้หมด
2
เช็คดูว่าแต่ละเดือนเรามีค่าใช้จ่ายเท่าไร
ควรสำรองเงินที่ต้องจ่ายไว้เลยอย่างน้อย 6 เดือน
ถ้าทำได้ขอให้สำรองไว้ 12 เดือนขึ้นไป
เงินก้อนนี้ไม่ต้องเอาไปลงทุนอะไร
ฝากพวกออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูงไว้ก็พอ
เผื่อต้องเบิกใช้ขึ้นมาจะได้ไม่มีปัญหา
2
3
ถ้าอยากจะซื้อของใหญ่ (ราคาแพง)
ไม่แนะนำให้ซื้อทันที เพราะอาจจะกระทบการเงินได้
แต่ควรสำรองเงินไว้ก่อนล่วงหน้า เผื่อว่ามีปัญหา
หรือถ้าจะผ่อน 0% ให้เพิ่มเงินเก็บในข้อ 2 เผื่อไว้ยิ่งดี
4
เวลาทำงานสร้างรายได้อย่าลืมคิดถึง...
1) ใบเสนอราคา ทำไว้ให้มั่นใจว่าจ้างกูแน่
2) วางบิลเมื่อไร เก็บเงินตอนไหน คุยให้ชัด
3) หักภาษีไหม อย่าลืมขอเอกสารหลักฐานด้วย
1
ถ้าวางแผนรายได้ดี เข้าใจการจ่ายเงินของลูกค้า
จะช่วยให้เราสามารถบริหารจัดการเงินได้ดีขึ้นด้วย
5
กระแสเงินสด คือ หัวใจของการบริหารเงิน
ไม่มีเงินหมุน เงินไม่พอใช้ คือ จุดเริ่มต้นของหนี้
และอาชีพแบบนี้มันกู้กันได้ง่าย ๆ เสียที่ไหน
2
ทำบัญชีรายรับรายจ่ายไว้เลยยิ่งดี
แล้วก็มีการวางแผนรายได้ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าไว้
พวกนี้จะทำให้เราไม่ประมาท และไม่พลาดเรื่องเงิน
เอกสารที่ต้องรู้จัก หลักฐานที่ควรออก
1
2
ใบเสนอราคา ออกให้ลูกค้าก่อนว่าจ้างงาน
อย่าเชื่อใจอะไรง่ายๆ เจอทำงานแล้วไม่จ่ายจะเป็นเรื่อง
1
2
เอกสารหลักฐานหักภาษี (50 ทวิ) ต้องขอทุกครั้ง
เช็คให้ชัวร์ว่าลูกค้าหักไหม ถ้าหักเอามาให้ด้วย
และเก็บทั้งหมดไว้ให้ดี เพราะต้องใช้ยื่นภาษีปลายปี
3
1
ถ้าลูกค้าต้องการใบวางบิล ใบแจ้งหนี้
ก็ออกให้เขาไป ออกไม่เป็นก็หัดออก จะได้ง่ายขึ้น
แต่ถ้าลูกค้าต้องการใบกำกับภาษี
เราต้องจด VAT ก่อนถึงจะออกได้ อย่าออกมั่ว
อันนี้ซวยแน่นอน ถ้าออกแบบไม่คิด มันผิดกฎหมาย
4
บัญชีธนาคาร เปิดแยกไว้ให้ชัด
- รายรับ เข้าบัญชีไหน รวมไว้บัญชีเดียวก็ได้
- โอนแยกเงินก้อนเข้าบัญชีส่วนตัว ไว้สำหรับใช้จ่าย
แยก 2 บัญชีนี้ออกจากกัน ชีวิตจะง่ายขึ้น
ถ้าเป็นไปได้ กำหนดเลยว่า รายได้ที่ได้มานั้นจะใช้เท่าไร
เช่น ทุกเดือนเราจะใช้ไม่เกิน XX,XXX บาท แบบนี้ก็จะยิ่งดี
5
1
สำเนาบัตรประชาชนเตรียมไว้
สำเนาบัญชีธนาคารมีพร้อมไว้รับเงิน
เซ็นรับรองสำเนาถูกต้องให้ครบถ้วน
ทำเผื่อไว้หมด ทั้งแบบกระดาษ แสกน ฯลฯ
เซฟเป็นไฟล์เก็บไว้เลยก็ยิ่งดี ใครขอส่งทันทีเลย
ภาษี
1
มีรายได้ต้องเสียภาษีนะ
ดังนั้นเก็บตัวเลขรายได้ไว้ให้ดีด้วย จะได้ยื่นถูก
คำนวณไม่เป็น ไม่เคยเข้าใจ ต้องหาความรู้
ถ้าไม่รู้ก็ดูคลิปฟรีก็ได้ https://youtu.be/hNS4xMm5RUk
2
ถูกหักภาษีไว้ ไม่ได้แปลว่าจ่ายแล้ว
มันคือการจ่ายล่วงหน้า ต้องเอายอดนั้นมายื่นภาษี
ส่วนภาษีที่ถูกหักก็เอามาลบออกจากภาษีที่คำนวณได้
3
ถึงแม้จะถูกหักภาษีหรือไม่ถูกหักภาษี
รายได้ทั้งหมดก็ต้องเอามารวมกันยื่นภาษีให้ถูกต้อง
จะเห็นว่ามาถึงตรงนี้ ถ้าใครทำบัญชีรายรับรายจ่าย
และแยกบัญชีธนาคารไว้รับรายได้ จะสะดวกมากขึ้น
เหลือแค่เก็บเอกสารภาษีให้ถูกต้องเพียงอย่างเดียว
1
4
สำหรับคนที่ต้องการกู้ซื้อบ้าน คอนโด
การยื่นภาษีคือ โอกาสที่ดีที่จะทำให้กู้ผ่าน
เพราะมันเป็นหลักฐานการแสดงรายได้ที่ดีที่สุด
1
5
สิ่งที่ต้องระวังมาก ๆ คือเรื่อง VAT
ในปีไหน ถ้ารายได้ฟรีแลนซ์เกิน 1.8 ล้านบาท
ต้องรีบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทันทีที่ยอดเกิน
4
ไม่งั้นรับรองว่าเพลินแน่นอน
ถ้าเจอกับพี่สรรพากรและภาษีย้อนหลัง
1
ประกัน
1
คุณไม่ได้เป็นอมตะ ทำประกันไว้ด้วย
ประกันช่วยป้องกันความเสี่ยงในชีวิตคุณได้
2
วันนี้ร่างกายคุณไหว คุณอาจจะยังไม่คิด
แต่ถ้าวันนึง ป่วย ตายห่า หรือ นอนเป็นผัก
ประกันจะทำให้คุณตระหนักถึงความสำคัญ
2
ประกันชีวิต ดูที่ความเสี่ยง ความคุ้มครอง
คุณต้องการทำเพื่อคนข้างหลังไหม
ความคุ้มครองเท่าไรเมื่อเราจากไปจะไม่ลำบาก
3
ประกันสุขภาพ ทำไว้ด้วย
เจ็บป่วยขึ้นมา มีปัญหาร่างกายครั้งใหญ่
ประกันช่วยจ่ายให้ก็เบาใจไปได้เยอะ
เพราะเงินเก็บทั้งชีวิตคุณจะไม่หายไป
1
เลือกให้เหมาะสมกับสิ่งที่เราเป็น
และเงินที่เรามีในกระเป๋าด้วยละกัน
4
ประกันสังคม เป็นไปได้ก็ส่งเถอะ
ถ้าออกจากงานประจำมา ส่งมาตรา 39
ถ้าอยากเป็นผู้ประกันตนเอง ก็ส่งมาตรา 40
5
ถ้ามีคนในครอบครัวที่ต้องดูแล
พวกเขาควรทำประกันไหม ทำแบบไหนยังไงดี ?
อย่าลืมคุยและทำความเข้าใจกันไว้ด้วย
ไม่งั้นก็ตกลงให้ชัดว่าถ้ามีปัญหาใครจะช่วยจ่าย
ลงทุน
1
ถ้าไม่อยากทำงานไปตลอด ควรเริ่มลงทุน
ศึกษาหาความรู้ในการลงทุนเผื่อไว้บ้าง
เริ่มจากฝั่งของกองทุนรวมก็ได้
บางตัวมันช่วยลดหย่อนภาษีได้อีกด้วยนะ
หรือจะไปลงทุนแบบอื่นมากกว่านั้น
ก็อยู่ที่เวลาในการศึกษาและความเข้าใจของเรา
2
วางเป้าหมายการลงทุนให้ดี ว่าต้องการอะไร
จะลงทุนแบบไหน ทำความเข้าใจความเสี่ยงด้วย
ไม่ใช่ทุกคนจะลงทุนแล้วรวยทันที
เพราะทุกอย่างมันมีเวลาของมันอยู่
3
1
ถ้าไม่อยากลงทุน ต้องถามตัวเองว่า
เราสามารถทำงานไปได้ถึงเมื่อไร
เราจะขยายกิจการก้าวไปสู่ด้านอื่นได้ไหม
การลงทุนอาจจะไม่ใช่แค่ลงทุนที่ว่ามา
แต่เป็นการลงทุนในการสร้างธุรกิจขึ้นมาก็ได้
คิดถึงวันที่ตัวเองทำงานไม่ไหวเรื่อย ๆ
จะทำให้เราเข้าใจว่าทำไมต้องรู้เรื่องลงทุน
4
ถ้าไม่รู้จะเริ่มยังไงกับการลงทุน
แนะนำให้เริ่มลงทุนในความรู้
กับลงทุนให้กับตัวเองเสียก่อน
3
ลงทุนในความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำ
ลงทุนในความรู้ด้านการเงินที่จำเป็นกับชีวิต
1
พวกนี้คือสิ่งที่ต้องคิดและทำสม่ำเสมอ
ถ้าอยากอยู่รอดในยุคที่วุ่นวายแบบนี้
5
อย่าลืมลงทุนในสุขภาพด้วย
รักษาร่างกายให้แข็งแรงไว้
ตราบใดที่เราต้องทำงานหาเงิน
ร่างกายคือสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุด
อย่าคิดว่าไปให้สุดแล้วหยุดที่โรงบาล
เพราะบางทีมันจะไปหยุดที่วัดแทน
ฝากไว้ประมาณนี้
หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกคนครับ
โฆษณา