3 เม.ย. 2021 เวลา 14:15 • สิ่งแวดล้อม
นกอพยพ(Migratory bird)
เป็นนกที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานด้วยสาเหตุหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการอพยพเพื่อที่อยู่อาศัยที่ดีกว่า หรือการอพยพเพื่อทำรังวางไข่
การอพยพของสัตว์นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นไปอย่างมีpatternในทุกๆปี โดยมีฤดูกาลเป็นสาเหตุ
นกจับแมลงตะโพกเหลือง เพศเมีย(Yellow-rumped flycatcher) ที่มากินนำ้ อาบนำ้จากบ่อนกที่ทางสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย(BCST)ได้จัดเอาไว้ให้พวกมัน บนเกาะมันใน
ถึงแม้ว่าการอพยพนั้นจะทำไปเพื่อสิ่งที่ดีกว่า แต่ระหว่างทางนั้น....เป็นอะไรที่แขวนอยู่บนเส้นด้ายมากๆ
นกจำนวนมากไม่สามารถอพยพไปถึงที่หมายได้ บ้างก็บาดเจ็บ ไปต่อไม่ใหว บ้างก็ตายระหว่างทาง...
ภาพซากนกคัคคูเหยี่ยวใหญ่(Large Hawk-cuckoo)ที่ถูกซัดมาเกยตื้นบนเกาะเสม็ด
ทีนี้ผมจะมาเล่าถึงการอพยพของนกกลุ่มหนึ่ง ที่จะเกิดขึ้นทุกๆช่วงเดือนมีนาถึงเดือนพฤษภาในไทยกันครับ
ในช่วงเดือนที่ว่ามานี้ จะมีนกจากประเทศทางตอนใต้ของเรา เช่นบอร์เนียว อินโด อพยพขึ้นมาประเทศต่างๆ
ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือประเทศไทย ซึ่งพวกมันก็เข้ามาในหลายๆจังหวัดของประเทศไทยครับ
และนกบางตัว ก่อนที่มันจะขึ้นฝั่ง มันอาจจะเห็นเกาะที่อยู่ก่อนหน้าฝั่ง มันก็จะลงไปบนเกาะเพื่อเป็นจุดแวะผักสำหรับเดินทางเข้าฝั่ง ซึ่งหนึ่งในเกาะที่มีนกมาใช้เป็นจุดแวะพักที่มากที่สุดคือ “เกาะมันใน” ครับ
ลองนึกภาพตามผมดูนะครับ
สมมติว่ามีนกตัวหนึ่งต้องการจะอพยพจากที่ที่มันอยู่ มายังประเทศไทย
มันต้องรีบกินอาหารเพื่อกักตุนไขมันและสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ
เมื่อถึงวันอพยพ พวกมันจะมารวมตัวกันที่ชายฝั่ง และออกตัวในช่วงพลบค่ำ โดยพวกมันจะบินข้ามทะเลจากที่ที่มันอยู่ มายังประเทศไทยตอนช่วงสายๆ
รวมๆแล้วไม่ต่ำกว่า17ชั่วโมง......
ผมอึ้งมาก หลังจากที่ได้ยินเรื่องนี้จากปากของนักดูนกท่านหนึ่ง...
แต่จากการที่ผมได้ดูนักวิจัยบนเกาะมันในที่ทำการตรวจสรีระร่างกายของนกเพื่อเก็บข้อมูล บางตัวก็ผลาญไขมันไปจนหมด บางตัวก็ถึงขั้นหนังหุ้มกระดูก เพราะฉะนั้นการบินในระยะทางที่โหดขนาดนี้ก็คงไม่ใช่อะไรที่เป็นไปไม่ได้...
การตรวจปริมาณไขมันและกล้ามเนื้อของนก จะใช้วิธีการเป่าที่หน้าอกแล้วก็เช็คครับ(รูปนี้คือคัคคูเหยี่ยวอกแดง Hodgson’s Hawk-cuckoo)
ซึ่งด้วยสาเหตุนี้ด้วยละครับ ที่ทำให้สมาคมBCSTต้องการที่จะช่วยเหลือนกพวกนี้ที่ร่อแร่เต็มที
ด้วยการให้อาหาร(หนอน)และนำ้กับพวกมัน โดยจะทำการสร้างโอเอซิสสำหรับนก ที่เรียกกันง่ายๆว่า”บ่อนก”
เพื่อที่จะให้พวกมันได้พักผ่อนและเตรียมตัวบินขึ้นฝั่งต่อไป
นกจับแมลงสีฟ้าอกดำ(Blue-and-white flycatcher)ที่ลงมากินนำ้ในบ่อนก
นกคัคคูพันธุ์หิมาลัย(Himalayan cuckoo)ที่ลงมากินหนอนในบ่อนก
(แถม)หนูบ้านท้องขาว......มาแย่งหนอนจ้าาาาา
สุดท้ายแล้ว การสร้างบ่อนกแบบนี้ ก็เป็นเพียงแค่การช่วยเหลือเบื้องต้นเท่านั้นครับ เพราะมันเป็นเพียงแค่โอเอซิสเล็กๆที่จะทำให้พวกมันได้ประทังชีวิต แต่สิ่งที่เป็นปัญหามากที่สุดสำหรับทั่วโลกในตอนนี้คือเรื่องของสิ่งที่มันควรจะได้รับต่างหาก
เพราะในสมัยนี้ เราคงรู้กันดีว่าสภาพแวดล้อมต่างๆมันเปลี่ยนไปในทางลบแค่ใหน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สีเขียวที่กำลังน้อยลงและกำลังกลายเป็นพื้นที่สีเขียว.....ที่เป็นป่ายูคาลิปตัสหรือสวนปาล์ม ทำให้นกพวกนี้มีประชากรที่ลดลงเรื่อยๆ(ปีนี้ที่ผมได้มาเก็บข้อมูลนกบนเกาะ ผมพบว่าจำนวนของพวกมันน้อยกว่าปีที่แล้วมากๆ) รวมไปถึงมลพิษและอะไรหลายๆอย่างที่พูดเท่าใหร่ก็ไม่หมด
เพราะงั้น การรักษาพื้นที่สีเขียวเอาไว้จึงไม่ใช่แค่”จิตอาสา” แต่มันเป็น”หน้าที่”ของทุกคนแล้วครับ
และบอกไว้ก่อนนะครับว่า.....”การปลูกป่า”,”การสร้างฝายชะลอนำ้”,”การปล่อยนกปล่อยปลา” ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไปนะครับ
ผมอยากพูดถึงเรื่องพวกนี้มากๆ แต่ความรู้ของผมในตอนนี้มันยังไม่มากพอ ในอนาคตผมจะมาเขียนเรื่องพวกนี้และอธิบายทุกอย่างให้ได้ครับ
บนเกาะ มีทั้งขยะ และคราบนำ้มันอยู่ไม่น้อยเลยครับ....
โฆษณา