4 เม.ย. 2021 เวลา 02:42 • สุขภาพ
ภาวะหลอดเลือดแดงช่องท้องโป่งพอง (abdominal aortic aneurysm) เป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณช่องท้องโป่งขยายขนาดผิดปกติ
สาเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมของผนังหลอดเลือดตามวัย ทำให้แรงดันภายในหลอดเลือดดันให้ขยายขนาด
มากขึ้น นอกจากนั้นการสูบบุหรี่ และภาวะแข็งตัวของหลอดเลือด ก็เป็นปัจจัยร่วมทำให้ผนังหลอดเสื่อมเร็วมาก ขึ้นเช่นกัน สาเหตุอื่นๆที่พบได้ไม่บ่อย เช่นการติดเชื้อของหลอดเลือด หรือการฉีกขาดของหลอดเลือดเป็นต้น
อาการแสดง
โดยทั่วไปจะไม่มีอาการ มักจะตรวจเจอโดยบังเอิญ หรือรายที่หลอดเลือดโป่งพองขนาดใหญ่มากๆ ผู้ป่วยอาจจะรู้สึก หรือคลำก้อนเต้นได้ที่ท้องบริเวณลิ้นปี่หรือสะดือ
ภาวะหลอดเลือดแดงช่องท้องโป่งพองแตก
เมื่อหลอดเลือดแดงช่องท้องโป่งพอง ขนาดจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆตามระยะเวลา โดยที่หลอดเลือดโป่งพอง
ยิ่งใหญ่ขึ้น จะมีโอกาสแตกมากขึ้น ผู้ป่วยหลอดเลือดแดงโป่งพองแตก จะมีอาการปวดท้องเฉียบพลัน รุนแรง อาจปวดทะลุหลัง ความดันตก หมดสติจากเสียเลือดมาก ซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูง จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ฉุกเฉิน
ปัจจัยที่ทำให้หลอดเลือดแดงแตก เกิดจากขนาดที่ใหญ่มากๆจะทำให้เกิดแรงดันสูงจนผนังหลอดเลือด แตกทะลุ การรักษาจึงแนะนำใก้ผ่าตัดแก้ไขก่อนหลอดเลือดแดงแตก
อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดรักษาโรคนี้ เป็นการผ่าตัดที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิต และมีภาวะ แทรกซ้อนหลังผ่าตัดสูง ดังนั้นจะพิจารณาทำการผ่าตัดเมื่อความเสี่ยงของหลอดเลือดแดงโป่งพองแตก สูงกว่า
ความเสี่ยงจากการผ่าตัด ซึ่งปัจจุบันแนะนำให้ทำการผ่าตัดเมื่อขนาดหลอดเลือดแดงโป่งพองใหญ่กว่า 5.0-5.5 cm
แนวทางการป้องกัน
เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความเสื่อม ยังไม่มียา หรือการรักษาใดๆที่แก้ไขหลอดเลือดที่โป่งพองไป
แล้วให้กลับเป็นปกติ จึงแนะนำให้ทำการตรวจคัดกรองเพื่อรักษาก่อนเกิดภาวะหลอดเลือดแตกโดยแนะนำให้ทำการตรวจอัลตร้าซาวน์หลอดเลือดแดงในช่องท้องในผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะคนที่มีประวัติ สูบบุหรี่ หากตรวจพบ จะมีการติดตามขนาด และวางแผนการรักษาอย่างใกล้ชิด ลดโอกาสเสียชีวิตจากหลอด เลือดแดงแตก
ข้อมูล : ผศ.นพ.สารนาถ ออรพินท์
รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ และ อาจารย์ประจำหน่วยศัลยศาสตร์หลอดเลือด ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
#MEDCMU
#MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โฆษณา