4 เม.ย. 2021 เวลา 11:46 • ไลฟ์สไตล์
เรื่องเล่าจากร้านกาแฟ #ความเหมือนของธนบัตรฉบับละ 1,000 กับ 100 บาท
เคยมั้ยที่จับธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท แล้วนึกว่าเป็น 100 บาท หรือจับธนบัตรฉบับละ 100 บาท แล้วนึกว่าเป็น 1,000 บาท
ธนบัตรฉบับละ 1,000 กับ 100
ครูส้มก็เป็นคนหนึ่ง ผู้ชอบใช้ความรู้สึกตัดสิน
วันหนึ่งครูส้มได้ธนบัตรฉบับละ 100 บาทมา ในใจคิดว่ายังไงต้องรีบใช้ธนบัตรฉบับนี้เพราะไม่งั้นมีหยิบผิดแน่ บังเอิญได้ไปร้านกาแฟเลยหยิบธนบัตรฉบับนี้จ่ายค่ากาแฟแก้วละ 60 บาท ในใจคิดว่าพ้นตัวล่ะ ให้คนอื่นไปใช้ล่ะกัน
ระหว่างที่รอพนักงานถอนเงิน สายตาเหลือบไปเห็นน้องพนักงานนับเงิน มีธนบัตร 500 บาท 1 ฉบับ ธนบัตร 100 บาท 4 ฉบับ
ไม่ต้องคิดต่อ น้องแคชเชียร์ดูธนบัตรผิดแน่ๆ
ก็เลยทวงน้องแคชเชียร์ไป พี่ให้ธนบัตรฉบับละ 100 บาทใช่ไหม?
มีความเป็นห่วงน้องแคชเชียร์ และกังวลว่าตัวเองจ่ายผิดไหม?
น้องแคชเชียร์เปิดลิ้นชัก น้องยกมือทาบอกสีหน้าตกใจ หน้าตาและน้ำเสียงเขาละล่ำละลัก ฉบับละ 100 บาทจริง ๆ พี่
"หนูขอบคุณพี่มาก ๆ"
ถ้าวันนั้นครูส้มไม่มีความซื่อสัตย์ น้องคนนั้นต้องควักกระเป๋าตัวเอง นั่นหมายความว่าคือค่าอาหาร คือค่าใช้จ่ายของเขา
ขอบคุณที่ตัวเองมีความซื่อสัตย์
ขอบคุณที่ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน
1
มาดูธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท
ธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท
และเปรียบเทียบกับธนบัตรฉบับ ละ 100 บาท
ธนบัตรฉบับละ 100 บาท
ธนบัตร 2 ฉบับนี้ มีความคล้ายกันมาก สีต่างกันเล็กน้อย ฉบับละ 100 บาท สีออกเหลืองทอง ถ้าไม่สังเกตดี ๆ นี่แทบจะแยกกันไม่ออก เพราะเป็นโทนใกล้เคียงกันมาก
เพราะคนเราคุ้นชินกับการแยกชนิดธนบัตรด้วยสี เช่น สีม่วงคือ 500 บาท สีแดงคือ 100 บาท สีเขียวคือ 20 บาท
ฉะนั้น ก่อนที่จะหยิบจับเงิน เราควรระมัดระวัง ดูตัวเลข ไม่ใช่ดูแต่สี อาศัยความรู้สึก และก่อนจับจ่ายให้คิดอย่างรอบคอบ ว่าจำเป็นเราต้องซื้อสิ่งนั้น ๆ มั้ยด้วยนะคะ
ใครเคยเจอเหตุการณ์แบบครูส้มบ้าง คอมเม้นท์มานะคะ หรือมีวิธีการสังเกตยังไงมาแบ่งปันกันค่ะ
-ครูส้ม so happy-
โฆษณา