5 เม.ย. 2021 เวลา 16:37 • ท่องเที่ยว
ไหว้พระ ปล่อยปลา วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร | Devaraj Kunchorn Voraviharn
Devaraj Kunchorn Voraviharn
บ่ายวันอาทิตย์ .. ฝนตกพรำๆ
เรามีแพลนไหว้พระ ทำบุญ และปล่อยปลากับเพื่อน แต่บรรยากาศดันไม่เป็นใจเอาซะเลย ออกมาได้ครึ่งทางแล้วฝนดันตกซะงั้น ซึ่งจริงๆก็เช็ค Weather Forecast แล้วแหละแต่ก็ยังดึงดัน
ทำไงล่ะทีนี้?! สองสาวเลยต้องแวะหาอะไรทาน ระหว่างคุยกันก็ตกลงว่าคงต้องพับแพลนเก็บไว้ก่อน
บาปบุญ ..โชคเข้าข้าง หลังจากทานข้าวเสร็จ เดินช็อปกันพอหอมปากหอมคอ ออกมาเจอฟ้าเปิด ฝนหยุดตก
เอ้า!! ก็ไปดิคร๊าบบบบบ
เราเดินทางโดย BTS ลงสถานีราชเทวี ทางออก 1 ฝั่งโรงแรมเอเชีย เเล้วนั่งแท๊กซี่อีกต่อนึง ไม่ไกลจากสถานีราชเทวี ค่าแท๊กซี่ประมาณ 60 บาท
แท๊กซี่มาจอดตรงตลาดเทเวศน์ซึ่งอยู่ติดกับวัด เราจึงเเวะเข้าไปซื้อปลาหน้าเขียงมาปล่อยตรงท่าน้ำ
อย่าดราม่าน๊าาาา เราทำการบ้านมาพอสมควรว่าปลาชนิดไหนควรปล่อยลงในน้ำแบบไหน บางคนมองว่าการทำบุญมีหลายวิธี แต่การปล่อยนก ปล่อยปลาจะเป็นบาปมากกว่าบุญถ้าหากปล่อยไม่ถูกที่ถูกทาง ข้อนี้เรารับรู้และรับทราบค่ะ
สำหรับปลาที่เราเลือกปล่อยคือปลาดุกเผือกมีไข่ ปลาดุกดำมีไข่ และปลาสวาย ทั้งนี้ทั้งนั้นเราเลือกน้องตัวที่ดูแข็งแรงหน่อยเพื่อให้มั่นใจว่าน้องจะไม่ถูกเจ้าถิ่นรังแกและสามารถเอาตัวรอดได้
ปลาสวายที่ถูกตักมาจากหลังร้านตัวไม่บิ๊กอย่างที่เราคิด เราเลยขออนุญาตคืนเพราะไม่อยากให้น้องๆโดนกิน แต่คิดไปคิดมามันยังไงๆอยุ่นะ
"แกตักชั้นมาเเล้ว แกจะเอาชั้นกลับกะละมังไม่ได้นะ" น้องๆคงคิดแบบนี้
เรากับเพื่อนเลยตัดสินใจซื้อหลังจากเช็คดูอีกทีว่าขนาดน้องต้อง survive!!
เมื่อก่อนเราทำบุญปล่อยปลาเป็นเรื่องปกติ แต่ช่วงหลังๆไม่ค่อยได้มีโอกาสบวกกับกระแสสังคมที่มาแรงเกี่ยวกับการทำบุญด้วยวิธีนี้อาจจะเป็นบาป
⛔ จะเป็นการทำลายระบบนิเวศน์หรือไม่?
⛔ น้องๆจะโดนเจ้าถิ่นรังแกจนถึงแก่ชีวิตมั้ย?
⛔ น้องจะกลายพันธุ์เป็นปลาสายพันธุ์ใหม่แล้วกินสัตว์ที่ตัวเล็กกว่าหรือเปล่า?
⛔ น้องจะช็อคน้ำมั้ย?
คิดทบทวนจนล้มเลิกการทำบุญด้วยวิธีนี้หลายครั้ง แต่ก็เนอะเราตั้งใจจะไถ่ชีวิตพวกเค้าแล้วนี่ หากมีบุญสัมพันธ์กันก็เป็นตัวที่เราเลือกมาปล่อย ถ้าน้องๆมีบุญติดตัวมาจากชาติก่อนๆน้องคงเอาตัวรอดได้
เราคิดว่าการปล่อยปลาไม่ว่าน้องๆจะมีชีวิตรอดหรือไม่ จะโดนจับมาขายวนไปวนมาอีกหรือป่าว มันก็เเล้วแต่บุญแต่กรรมของน้องๆแล้วแหละ อย่างน้อยการที่ให้ชีวิตใหม่ไปน่าจะมีโอกาสรอดสูงกว่านอนรออะไรซักอย่างในกะละมังเป็นแน่
ปล่อยปลาเสร็จเเล้ว ไปไหว้พระกันค่ะ!
วัดเทวราชกุญชรเดิมเชื่อ วัดสมอแครง สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา สันนิษฐานว่าชื่อ สมอ มาจากต้นสมอที่ขึ้นกระจายอยู่ภายในวัด ในขณะที่บางกลุ่มมองว่าคำว่า สมอ น่าจะเพี้ยนเสียงมาจากภาษาเขมร ถะมอ ที่แปลว่า หิน สมอแครง จึงแปลว่า หินแกร่ง
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดแห่งนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท และสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระเชษฐภคินีในรัชกาลที่ 1 ผู้ทรงเป็นต้นสกุลมนตรีกุล ตามลำดับ
ในการบูรณะฯ นั้นได้รับการอุปถัมภ์โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษเทเวศร์ ต้นสกุลกุญชร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับการอุปถัมภ์โดยตระกูลนี้สืบต่อมา
1
องค์เทพเทวราชเนรมิต อมรินทราเทวราช
เดินมาอีกหน่อยบริเวณทางไปท่าน้ำจะพบกับประติมากรรมองค์เทพเทวราชเนรมิต-อมรินทราเทวราช กล่าวคือ องค์เทพเทวราชเนรมิตนี้เป็นองค์พระอินทร์ชื่อเทวราช หรือใครหลายๆคนเรียกว่า "เทพทันใจ" ยังไงก็แวะมาไหว้เคารพ สักการะ หรือขอพรกันได้นะคะ
พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ 3 เศียร หน้าพิพิธภัณฑ์สักทอง
เราเพิ่งจะเคยมาวัดเทวราชกุญชรเป็นครั้งแรก รู้สึกประทับใจ บริเวณวัดสวยงาม สะอาด สงบ และถูกแบ่งเป็นสัดส่วน เดินไปอีกนิดก็จะพบพิพิธภัณฑ์สักทอง
น่าเสียดายที่เราไม่ได้เข้าชมเพราะเค้าปิดตอนห้าโมงเย็น .. ช้าไปนิดเดียวเอง แต่ไม่เป็นรัย เราตั้งใจว่าถ้ามีโอกาสจะกลับไปที่วัดนี้อีกครั้ง 🙏
A LITTLE STORY TELLER
โฆษณา