Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wiboon100เรื่อง
•
ติดตาม
6 เม.ย. 2021 เวลา 14:57 • การเกษตร
พืชกระท่อมที่ใช้กันมานานตั้งแต่โบราณ
ประโยชน์ของพืชกระท่อม เมื่อมีสรรพคุณเป็นยา กระท่อม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 15 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่ ปลายแหลม โคนป้าน หูใบระหว่างก้านใบเป็นแผ่นคล้ายใบ ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจุกแน่น ออกตามปลายกิ่ง มี 1-3 ช่อ ช่อกลางสั้นมาก แต่ละช่อประกอบด้วยดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงเป็นหลอดสั้น ปลายมี 5 แฉก กลีบดอกเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 5 หยัก เมล็ดมีปีก กระท่อมเป็นพืชที่อยู่ในสกุล Mitragyna หอพรรณไม้ กรมป่าไม้ รายงานไว้ว่าพืชในสกุลนี้ในประเทศไทยมีอยู่ 5 ชนิด ได้แก่ Mitragyna diversifolia (Wall ex G. Don) Havil. มีชื่อท้องถิ่นว่า กระท่อมขี้หมู กระทุ่มดง กระทุ่มนำ ท่อมขี้หมู ตุ้มน้ำMitragyna hirsuta Havil. มีชื่อท้องถิ่นว่า กระทุ่มโคก ตุ้มเขา ทุ่มพาย Mitragyna parvifolia Korth. มีชื่อท้องถิ่นว่า กระทุ่มใบเล็ก Mitragyna rotundifolia (Roxb.) Kuntze มีชื่อท้องถิ่นว่า กระทุ่มเนิน แก่นเหลือง ตุ้มกว้าว Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. มีชื่อท้องถิ่นว่า กระท่อม ท่อม อีถ่าง กระท่อมมีหลายสายพันธุ์ถือเป็นความร่ำรวยทางชีวภาพ ในแต่ละพันธุ์มีความแตกต่างกันที่ลักษณะของใบ คือ พันธุ์ก้านแดงมีก้านและเส้นใบสีแดง พันธุ์แตงกวามีเส้นใบสีเขียวอ่อนกว่าแผ่นใบ พันธุ์ยักษ์ใหญ่มีใบขนาดใหญ่กว่าพันธุ์อื่นและส่วนบนของขอบใบเป็นหยัก พันธุ์ที่นิยมบริโภคกันมาก คือ พันธุ์ก้านแดง ที่มีวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. มีชื่อท้องถิ่นว่า ท่อม (ภาคใต้) กระท่อม อีถ่าง (ภาคกลาง) และกระท่อมพบได้ในเขตร้อนและกึ่งร้อนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปแอฟริกา ถือเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี การศึกษาพบว่าใบกระท่อมมีสารสำคัญ เรียกว่า ไมทราไจนีน (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) เช่นเดียวกับยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน เช่น สารไซโลไซบิน (psilocybin) ที่พบในเห็ดขี้ควาย LSD และยาบ้า ทำให้รู้สึกชา กดความรู้สึกเมื่อยล้าขณะทำงานทำให้สามารถทำงานได้นานและทนมากขึ้นและทนต่อความร้อนมากขึ้นด้วยเช่นกัน จึงไม่ต้องแปลกใจที่สังคมเกษตรแต่ก่อนเก่า ก่อนที่กระท่อมจะกลายเป็นยาเสพติด ผู้ใช้แรงงานในท้องไร่ท้องนา หรือแม้แต่ทหารเดินทัพออกศึกในอดีตก็ได้กระท่อมเสริมพลัง กินใบกระท่อมช่วยให้ทำงานกลางแจ้งได้ทนนานขึ้นนั่นเอง ฤทธิ์ทางเภสัชของ ไมทราไจนีน (Mitragynine) ที่ลดอาการเจ็บปวดได้ เมื่อให้กินทางปากในขนาด 200 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งมีฤทธิ์เทียบเท่ากับการได้รับมอร์ฟีนในขนาด 5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม กระท่อมจึงเป็นยาที่นำมาใช้เพื่อลดอาการขาดยาจากสิ่งเสพติดอื่น เช่น ฝิ่นและมอร์ฟีน เป็นต้น และมีผลข้างเคียงน้อยกว่ามอร์ฟีนเมื่อใช้ในระยะเวลาที่จำกัด กระท่อมยังนำมาใช้แทนแอมเฟตามีน (ยาบ้า) เพื่อเพิ่มพละกำลัง ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีการใช้กระท่อมในลักษณะนี้ในหลายประเทศทั่วโลก วิธีการเสพ วิธีเสพใบกระท่อม นิยมเคี้ยวใบสด หรือบดใบแห้งแล้วละลายน้ำดื่ม บางรายอาจเติมเกลือด้วยเล็กน้อย ส่วนมากจะเคี้ยวเพียง 2-3 ใบ และดื่มน้ำอุ่น หรือกาแฟร้อนตาม ส่วนของใบกระท่อมนิยมใช้ใบก้านแดง เอาใบสดมาเคี้ยว หรือดื่มน้ำชงจากใบตากแห้งกับน้ำร้อน ในใบกระท่อมมีสารไมตราจัยนิน ที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง จึงทำให้ทำงานไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย หายปวดเมื่อย มีความสุข ไม่หิว ทนแดดได้นาน แต่ไม่ชอบถูกฝน ในอดีต แพทย์แผนโบราณได้ใช้ใบกระท่อมเพื่อแก้บิด แก้ท้องเดิน รวมทั้งเพื่อแก้ปวดเมื่อย ระงับประสาท ผลของการเสพ 1. สำหรับผู้เสพติดแล้วจะพบว่าร่างกายทรุดโทรมมากจากการทำงานเกินกำลัง ผิวหนังแห้งและดำ โดยเฉพาะบริเวณแก้มจะเป็นจุดดำๆ อาจนอนไม่หลับ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และอาจมีอาการทางประสาท เช่น มีสภาพจิตใจสับสนเกิดอาการประสาทหลอน สำหรับผลอย่างอื่นที่อาจพบได้ เช่น ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก อุจจาระของผู้เสพติดมักพบว่าเป็นเม็ดสีเขียวคล้ายมูลแพะ ฯลฯ เมื่อร่างกายขาดยา ผู้เสพติดจะอ่อนเพลียมาก ฉุนเฉียวกระวนกระวายมึนงง และซึมเศร้า ปวดเมื่อยตามข้อและกล้ามเนื้อ รวมทั้งอาจมีอาการทางประสาท 2. การเสพใบกระท่อมมากๆหรือเป็นระยะเวลานานนั้น มักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีขึ้นที่บริเวณผิวหนัง ทำให้ผู้ที่รับประทานมีผิวคล้ำและเข้มขึ้น และยังพบอีกว่าเสพกระท่อมโดยไม่ได้รูดเอาก้านใบออกจากตัวใบก่อน อาจจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า “ถุงท่อม” ในลำไส้ได้ เนื่องจากก้านใบและใบของกระท่อมไม่สามารถย่อยได้ จึงตกตะกอนติดค้างอยู่ภายในลำไส้ ทำให้ขับถ่ายออกมาไม่ได้ เกิดพังผืดขึ้นมาหุ้มรัดอยู่โดยรอบก้อนกากกระท่อมนั้น ทำให้เกิดเป็นก้อนถุงขึ้นมาในลำไส้ บางรายจะมีอาการโรคจิตหวาดระแวง เห็นภาพหลอน คิดว่าคนจะมาทำร้ายตน และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง ถ้าหยุดเสพ จะเกิดอาการขาดยา ได้แก่ ไม่มีแรง ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและกระดูก แขนขากระตุก รู้สึกอ่อนเพลียไม่สามารถทำงานได้ อารมณ์ซึมเศร้า นํ้าตาไหล นํ้ามูกไหล ก้าวร้าว 3. การใช้ใบกระท่อมในขนาดต่ำจะให้ผลกระตุ้นประสาทส่วนขนาดสูงจะออกฤทธิ์กดประสาท พิษจากการเสพพืชกระท่อม คือ ทำให้รู้สึกสบาย ขยันว่องไว ทำงานได้นาน ๆ โดยไม่สนใจแดด แต่จะกลัวฝน เมื่อเสพไปนาน ๆ จะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผิวดำเกรียมโดยเฉพาะที่บริเวณโหนกแก้มทั้งสองข้าง คล้ายผู้ป่วยเป็นโรคตับ ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก อุจจาระสีดำ เป็นก้อนคล้ายขี้แพะ จิตสับสน ประสาทหลอน หากใช้เกินขนาด จะทำให้มึนงง คอแห้ง มึนเมา อาเจียน ถ้าติดยาแล้วหยุดทันที จะมีอาการน้ำมูกไหล เจ็บตามกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อแขนขากระตุก ก้าวร้าว ส่วนฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่นๆ ได้แก่ ต้านการอ่อนเพลีย เคลิ้มฝัน ต้านลมหายใจเหม็น มีผลต่อจิต และแก้ปวด การควบคุมตามกฏหมาย 1. กระท่อมจัดอยู่ในยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7 ยาเสพติดให้โทษที่อยู่ในประเภท 5 ได้แก่ กัญชา และพืชกระท่อม 2. ผลิต นำเข้า หรือส่งออก จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท (มาตรา 75 วรรค 2) 3. ผู้เสพ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท (มาตรา 92 วรรค 2) ประโยชน์ทางยา 1. ใบกระท่อมมีรสขมเฝื่อนเมา ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง แก้บิด ท้องเสีย แก้ปวดเมื่อยร่างกาย ระงับประสาทช่วยให้ทํางานทนไม่หิวง่าย วิธีใช้ให้นําใบสด 3-4 ใบ มาลอกเอาก้านใบและเส้นใบออก เคี้ยวให้ละเอียด ดื่มนํ้าอุ่นกลั้วกลืนลงไป หรือนําใบมาตากแดดให้แห้งบดเป็นผง รับประทานกับนํ้าอุ่นครั้งละ 1 ช้อนกาแฟพูนๆ แก้ท้องเสีย บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และทําให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มสบายตัวได้นานประมาณ 4-5 ชั่วโมง การรับประทานใบกระท่อมช่วยให้ทํางานได้ทนเวลามีแสงแดดจัด แต่จะเกิดอาการหนาวสั่นเวลาอากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝน 2. ในอดีตกระท่อมถูกนำมาใช้เพื่อให้ผู้ที่ต้องทำงานหนัก ทำงานได้ทน ไม่เหนื่อย ต่อการทำงานกลางแดดเป็นระยะเวลานาน ตำราของหมอพื้นบ้านและหมอแผนไทยจึงมีการใช้กระท่อมมานานแล้ว หมอพื้นบ้านนิยมใช้กระท่อมเป็นยารักษาท้องร่วง เบาหวาน แก้ปวดเมื่อย ระบุ ใช้ร่วมกับชุมเห็ดเทศ กินแบบไม่เอาก้าน ห้ามกลืนกาก 3. เท่าที่มีการสำรวจ พบว่าหมอพื้นบ้านนิยมใช้กระท่อมรักษาอาการท้องร่วงมากที่สุด ร้อยละ 67.4 เบาหวานร้อยละ 63.3 แก้ปวดเมื่อยร้อยละ 32.7 รูปแบบที่ใช้มากที่สุดคือ การใช้ใบเคี้ยวคายกากแล้วดื่มน้ำตาม และมีข้อห้ามกับคนที่เป็นโรคหัวใจ ซึ่งกระท่อมในการรักษาโรคชนิดที่มีฤทธิ์ดี คือ ชนิดก้านแดง ส่วนอาการข้างเคียงที่พบในกระท่อม คือ ท้องผูก กลัวฝน การใช้กระท่อมจึงนิยมใช้ร่วมกับใบชุมเห็ดเทศ และวิธีการรับประทานกระท่อมไม่ให้เสพติด คือ รูดเอาแต่ใบไม่เอาก้าน และเมื่อเคี้ยวห้ามกลืนกาก พิษวิทยา 1. จากการทดลองในหนูขาวและหนูตะเภาพบว่า mitragynine ซึ่งเป็นอัลคาลอยด์สําคัญที่แยกได้จากใบกระท่อม มีฤทธิ์ระงับปวดในลักษณะเดียวกับอัลคาลอยด์ที่ได้จากยางฝิ่น เช่น มอร์ฟีน โดยออกฤทธิ์ต่อโปรตีนตัวรับ แต่มีความแรงน้อยกว่ามอร์ฟีนประมาณ 10 เท่า และยังพบว่า mitragynine ในขนาด 5-30 มก./กก. มีฤทธิ์กดการทํางานของ 5-HT2A receptor ในหนูขาว พบว่าทําให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้ม คล้ายฤทธิ์ของโคเคน และคนที่ได้รับ mitragynine acetate ขนาด 50 มก. จะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน 2. mitragynine acetate ครั้งละ 50-100 มก. หรือผงใบกระท่อมขนาด 650-1300 มก. ช่วยให้ทํางานได้นานขึ้น ทนแดด ผิวหนังแดงเพราะเลือดไปเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น แต่ถ้ารับประทานใบกระท่อมในปริมาณมากๆ จะทําให้มึนงง และคลื่นไส้อาเจียน (เมากระท่อม) ในบางรายรับประทานเพียง 3 ใบ ก็ทําให้เมาได้ และถ้าหากรับประทานติดต่อกันนานๆ จะทําให้ปากแห้งคอแห้ง ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก อุจจาระแข็งเป็นก้อนเล็กๆ นอนไม่หลับ นํ้าหนักลด ผิวหนังดําเกรียมโดยเฉพาะบริเวณโหนกแก้มทั้ง 2 ข้าง บางรายอาจมีสภาพจิตสับสน และถ้าหยุดรับประทานใบกระท่อมจะเกิดอาการถอนยา คือ นํ้ าตาไหล นํ้ามูกไหล ก้าวร้าว ปวดเมื่อยตามตัว และกล้ามเนื้อแขนขากระตุก 3. เมื่อฉีด mitragynine ขนาด 3-30 ไมโครกรัมเข้าไปในสมองของหนูทดลองที่ถูกวางยาสลบ จะสามารถยับยั้งการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารได้เช่นเดียวกับมอร์ฟีน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทําให้ผู้ที่รับประทานใบกระท่อมไม่รู้สึกหิวและไม่อยากอาหาร จึงทํางานได้นานขึ้น และส่งผลให้นํ้าหนักตัวลดลง เกิดภาวะร่างกายผอมเกร็งได้
2 บันทึก
1
2
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย