6 เม.ย. 2021 เวลา 16:29 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ที่เห็นในภาพนี้ไม่ใช่แมงมุมยักษ์บนดาวอังคารแต่อย่างใด
หากแต่เป็นร่องรอยการปะทุของน้ำแข็งแห้งบนพื้นผิวดาวอังคารที่หนาวเหน็บ
ภาพปื้นดำและลวดลายโยงใยคล้ายแมงมุมที่เป็นปริศนา ได้ถูกไขกระจ่างแล้ว
กว่า 2 ทศวรรษที่ภาพของภูมิประเทศบริเวณขั้วโลกใต้ของดาวอังคารที่ถ่ายจากยานสำรวจได้สร้างความประหลาดใจให้กับเหล่านักวิทยาศาสตร์
1
เพราะลักษณะที่ดูแปลกตาด้วยโครงสร้างโยงใยแตกแขนงดูคล้ายแมงมุม ซึ่งสภาพทางธรณีวิทยาแบบนี้ไม่มีปรากฎให้เห็นบนโลกของเรา
ซึ่งในปี 2003 ก็ได้มีงานวิจัยที่ได้ตั้งสมมติฐานไว้ว่าลักษณะภูมิประเทศแบบนี้จะเกิดขึ้นในช่วงที่ขั้วโลกใต้ของดาวอังคารเริ่มเข้าสู่หน้าร้อน
จุดสำดำคือตำแหน่งของโครงสร้างแมงมุงที่ปรากฎใกล้กับขั้วโลกใต้ของดาวอังคาร
โดยในงานวิจัยได้นำเสนอแนวคิดว่าร่องรอยดังกล่าวเกิดจากการระเหิดของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เย็นจัดจนเป็นของแข็งหรือที่เราเรียกว่าน้ำแข็งแห้งนั่นเอง
การระเหิดนี้จะสร้างแรงดันจากก๊าซซึ่งสะสมตัวอยู่ระหว่างชั้นน้ำแข็งแห้งที่แข็งตัวปกคลุมพื้นผิวดินในช่วงหน้าหนาวและเมื่อได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เมื่อเริ่มเข้าสู่หน้าร้อนก็จะเกิดการระเหิดในบริเวณรอยต่อของชั้นน้ำแข็งแห้งกับผิวดิน
เมื่อสะสมจนได้ที่แรงดันนี้ก็จะดันปะทุพุ่งออกจากชั้นน้ำแข็งแห้งทำให้เกิดเป็นร่องรอยบนพื้นผิวดาวอังคารหลังจากที่น้ำแข็งแห้งระเหิดหายไปหมดในช่วงหน้าร้อน
แต่นั่นก็ยังคงเป็นเพียงสมมติฐาน ซึ่งมาวันนี้ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Dublin ในไอร์แลนด์ก็สามารถจำลองการเกิดโครงสร้างลักษณะแบบเดียวบนดาวอังคารได้ในห้องแลป
Open University Mars Simulation Chamber ห้องจำลองสภาพบนดาวอังคาร
โดยทีมได้สร้าง Open University Mars Simulation Chamber ซึ่งเป็นห้องจำลองสภาพบรรยากาศบนดาวอังคารซึ่งประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 95%
เมื่อสร้างสถาวะที่เหมือนกับบรรยากาศบนดาวอังคารได้แล้วก็จะทำการปูพื้นด้วยทรายละเอียดและวางแผ่นน้ำแข็งแห้งไว้ด้านบน
เมื่อแผ่นน้ำแข็งแห้งสัมผัสกับผืนทรายก็จะเกิดการระเหิดและก๊าซที่เกิดขึ้นก็จะดันตัวแทรกไปตามผืนทรายก่อนจะลอยตัวขึ้นด้านข้างของแผ่นน้ำแข็ง เกิดเป็นร่องคล้ายกับขาแมงมุงที่เห็นบนดาวอังคาร
โดยขนาดและลักษณะของลวดลายการดันตัวของก๊าซก็จะแตกต่างกันไปตามขนาดของเม็ดทรายที่ใช้ปูพื้นด้วย
ลายแมงมุมที่เกิดขึ้นใน OU Mars Simulation Chamber
ซึ่งผลการทดสอบนี้แสดงให้เห็นว่าสมมติฐานการเกิดโครงสร้างคล้ายแมงมุมยักษ์บนดาวอังคารนี้สามารถอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำทีเดียว
โดยเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวชั้นน้ำแข็งแห้งก็จะก่อตัวคลุมพื้นผิวดาวอังคาร และเมื่อได้รับความร้อนจากแสงแดดในหน้าร้อนก็ระเริ่มระเหิดจากด้านล่างเพราะพื้นดินดูดซับความร้อนจากแสงแดดได้ดีกว่าแผ่นน้ำแข็งแห้ง
1
เกิดชั้นน้ำแข็งแห้งในหน้าหนาวและพอได้รับแสงแดดก็ระเหิดจนแก๊สประทุผ่านชั้นน้ำแข็งแห้ง วนเวียนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ
และเมื่อก๊าซสะสะตัวมากพอก็จะดันปะทุเกิดเป็นพวยก๊าซพุ่งออกจากแผ่นน้ำแข็งแห้ง และเมื่อแผ่นน้ำแข็งแห้งระเหิดไปจนหมดก็จะเกิดเป็นลายแตกบนผืนดิน
วัฎรจักรนี้ก็จะดำเนินวนเวียนซ้ำไปเรื่อย ๆ ตามฤดูกาลบนดาวอังคารรังสรรค์ให้เกิดลวดลายแมงมุมอย่างที่เราได้เห็น
สุดท้ายแล้วก็ไม่ใช่แมงมุมเอเลี่ยน เป็นเพียงปรากฎการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งบนดาวอังคารเท่านั้น

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา