7 เม.ย. 2021 เวลา 08:08 • สุขภาพ
ไขข้อข้องใจสารพันคำถาม วัคซีนโควิด - 19
ใครควรฉีด? วัคซีนแบบไหนดี? ปลอดภัยหรือไม่? หลังฉีดต้องปฏิบัติตัวอย่างไร?
2
มีความกังวลหลายอย่างเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ลองมาไขข้อข้องใจในบทความนี้
1. ใครควรฉีด?
ถ้ามีโอกาสควรฉีดทุกคน เพราะมีข้อมูลยืนยันว่าจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อใหม่ต่อวันลดลง ในประเทศที่อย่างน้อยร้อยละ 25 ของประชากรได้รับการฉีดวัคซีน
3
2. ตัวอย่างประเทศที่เห็นผลชัดเจนจากการฉีดวัคซีน
คืออิสราเอลและสหราชอาณาจักร
> อิสราเอล (ฉีดวัคซีนแล้ว 60.7%)
> สหราชอาณาจักร (ฉีดวัคซีนแล้ว 46.1%)
5
3. ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 2 เมษายน 2564) หลายประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาใต้เกิดการแพร่ระบาดรอบที่ 3
> ฝรั่งเศส (ฉีดวัคซีนแล้ว 13.0%)
> อิตาลี (ฉีดวัคซีนแล้ว 12.2%)
> เยอรมนี (ฉีดวัคซีนแล้ว 11.5%)
> บราซิล (ฉีดวัคซีนแล้ว 7.6%)
1
4. ปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 630 ล้านโดส มีอัตราการเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนต่ำมาก ขณะที่อัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อ COVID-19 โดยรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.2
> ข้อมูลจาก Center for Disease Control and Prevention (CDC) ในสหรัฐอเมริกา “ไม่มีรายใดที่ได้รับการยืนยันว่าการเสียชีวิตเป็นผลมาจากวัคซีนโดยตรง”
> ข้อมูลจาก European Medicine Agency (EMA) ในยุโรป (กรณีลิ่มเลือดในสมองและเกล็ดเลือดต่ำ) สรุปว่า”วัคซีนของ AstraZeneca ปลอดภัยมาก อุบัติการณ์ลิ่มเลือดต่ำกว่าสถิติทั่วไป”
1
5. สายพันธุ์ที่กลายพันธุ์พบในแอฟริกาใต้และบราซิลต้องเฝ้าระวัง
6. 4 ความเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง
1) บุคคลเสี่ยง
2) สถานที่เสี่ยง
3) กิจกรรมเสี่ยง
4) ช่วงเวลาเสี่ยง
หากเกิดพร้อมกัน เช่น ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว จะยิ่งนำไปสู่โอกาสการแพร่ระบาดได้
2
7. สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง
1) พื้นที่ที่มีคนอยู่หนาแน่นและพื้นที่ปิด
2) การไม่ใส่หน้ากากและพูดจาตะโกนใส่กัน
3) การสัมผัสกับบุคคลเสี่ยง โดยปราศจากมาตรการป้องกัน
8. วัคซีนไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ แต่ทำให้ติดเชื้อแล้วอาการไม่รุนแรง ไม่เสียชีวิต คนที่ฉีดวัคซีนเมื่อรับเชื้อแล้วถึงจะไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย แต่คนอื่นก็อาจติดเชื้อจากเราได้
9. ดังนั้น แม้ฉีดวัคซีนแล้ว ยังคงต้องดำเนินการตามมาตรการเหล่านี้เพื่อไม่แพร่เชื้อ
ที่มา: ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล จาก LIVE (5 เม.ย. 64) https://www.facebook.com/mahidolchannel/videos/285206999796667
*ข้อมูลอัพเดต ณ วันที่ 2 เม.ย. 64
เรียบเรียงข้อมูลโดย: ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล
อาจารย์ประจำหลักสูตรศศ.บ.การประกอบการเชิงนิเวศวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์
2
โฆษณา