7 เม.ย. 2021 เวลา 14:17 • ครอบครัว & เด็ก
นักศึกษาครูปฐมวัย EP.2
เราอยากส่งต่อโลกแบบไหนให้กับเด็กๆ🤔
1
ณ เหตุการณ์บนรถสองแถว
น้อง A (นามสมมุติ) " เก็บโทรศัพท์ได้แล้วลูก เราอยู่บนรถ เล่นโทรศัพท์ไม่ดีหรอกนะ"
แม่พูดพลางพร้อมกับสายตาก้มมองจอสี่เหลี่ยมที่อยู่ในมือของตัวเอง
"แม่ก็เล่น" เสียงเด็กชายพูดขึ้นมาอย่างชัดแจ๋ว...
ได้ยินดังนั้น แม่จึงเงยหน้า "แม่เก็บแล้ว ถึงบ้านค่อยเล่นดีกว่าเนาะ"
2
เมื่อรถออก...แม่จึงดับหน้าจอ และ เก็บโทรศัพท์ใส่ลงในกระเป๋า เด็กชายที่นั่งอยู่ข้างๆ จึงวางโทรศัพท์บนมือของแม่ๅ พร้อมกับมองวิวข้างทาง ในขณะที่รถกำลังแล่น...
คำถามคือ ถ้าเรามองเข้ามา แล้วเห็นภาพแบบนั้น เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเด็ก ติดโทรศัพท์หรือไม่
คำตอบคือ ดูตามอายุ+พัฒนาการ
เพียงแค่เรามองภาพเด็กคนนึง เราไม่สามารถตัดสินได้ ว่าใครติด หรือไม่ติดโทรศัพท์
แต่เราอยากให้ลูก หลาน น้อง หรือเด็กๆ เป็นแบบไหน อยู่ที่ว่า เรายื่นอะไรให้กับเค้าในช่วงที่กำลังพัฒนา..
เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี👶 ไม่ควรที่จะ ได้ใช้ สัมผัส หรือแม้แต่ดูหน้าจอของอุปกรณ์ เทคโนโลยีพวกนี้เลย รวมถึงTV ด้วย เพราะ ดวงตาและการรับรู้ของเด็กช่วงอายุนี้ ยังไม่เหมาะที่จะรับสื่อภายนอกใดๆเลย ประกอบกับอายุยังเล็กมากๆอีกด้วย
1
อายุ 3-5 ปี 🧒 วันนี้เป็นวัยที่เริ่มไปโรงเรียน จะเริ่มรับรู้สื่อและโลกภายนอกได้แล้ว แต่คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ สามารถเล่นได้เพียง 1 ชั่วโมง ต่อวันเท่านั้น หรือไม่เกิน 1 ชั่วโมงค่ะ
1
ในวันนี้ ถ้าเมื่อไหร่ที่เราให้เล่น และเมื่อถึงเวลาจะต้องเก็บ และเด็กมีอาการอิดออด นั่นแปลว่าสัญญานอันตรายเริ่มใกล้เข้ามาแล้วค่ะ
1
อายุ 5-18 ปี ในวัย 5ปีขึ้นไป เด็กจะเริ่มไปโรงเรียนแล้ว เด็กจะได้เรียนรู้โลกภายนอก และจากสื่อต่างไปมากมาย ซึ่งเป็นการเปิดโลกกว้างให้กับเด็กๆ กระนั้น ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ที่กล่าวไว้ว่า ในวัยนี้ ควรเล่นได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน
1
แต่หลายคนอาจจะคิดว่า ในวัยประถม มัธยม ควรจะได้ใช้มากกว่านั้นรึเปล่า(เพราะเห็นใช้กันทั้งวัน)
บางครั้ง เราใช้เพื่อการเรียนเป็นส่วนน้อย แต่ใช้เพื่อความบันเทิงเป็นส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้ จึงควรฟังคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุดค่ะ💙
แต่จากเหตุการณ์เด็กชายข้างต้น เราคงไม่สามารถสรุปได้ ว่าน้องติดโทรศัพท์หรือไม่ ด้วยไม่ทราบอายุ และไม่เห็นพฤติกรรมการเล่นโทรศัพท์ทั้งหมด ทั้งอยู่ที่บ้าน และโรงเรียน
แต่จะเห็นได้ว่า น้องไม่ได้แสดงท่าทีอิดออด เพียงแต่แย้ง เพื่อถ่ายทอดและพูดในสิ่งที่ตนเองเห็น...
แต่ถึงอย่างนั้น ต้องชื่นชมคุณแม่ ที่มีวิธีการหยุดของน้องได้อย่างน่ารัก และไม่มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง
ประโยคนึงจึงผุดขึ้นมาในหัวใจกับภาพที่เห็น
ตัวอย่างที่ดี มีค่ามากกว่าคำสอน 💙
1
เรื่องราวดีๆที่อยากแบ่งปันค่ะ😊
reference:สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา