7 เม.ย. 2021 เวลา 15:35 • หุ้น & เศรษฐกิจ
📌กองทุนมีกี่ประเภท? มาจัดประเภทของกองทุนกันเถอะ
[เข้าใจประเภทและความเสี่ยงของกองทุน พื้นฐานของ Asset Allocation]
วันนี้ #เด็กการเงิน จะมาไขข้อสงสัยว่า กองทุนมีกี่แบบกันแน่ สินทรัพย์ที่ลงทุนผ่านกองทุนได้มีกี่แบบกันนะ?
1
เราขอแนะนำการจัดกลุ่มกองทุนตาม AIMC (Association of Investment Management Companies) หรือสมาคมบริษัทจัดการลงทุน และเรานำมาทำให้เข้าใจง่ายๆ ควบคู่กับความเสี่ยงตามที่แสดงใน Factsheet ของกองทุน ใช้เป็นพื้นฐานของการจัดพอร์ท แบบ Asset Allocation อีกด้วย
AIMC มีการแบ่งกองทุนหลักๆ ออกเป็นประเภท ดังนี้ กองทุนรวมตราสารทุน กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมผสม กองทุน REIT/Infra/Property Fund กองทุนรวม Commodities และกองทุนรวมที่ไม่สามารถจัดกลุ่มได้ รายละเอียดของแต่ละหมวดหมู่ยังแตกย่อยลงไปได้อีก ไปทีละประเภทกันเลย
1️⃣ TH FIXED กองทุนรวมตราสารหนี้ในประเทศ/ต่างประเทศบางส่วน
1. Money Market - Government Bond กองทุนรวมตลาดเงินที่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก ตราสารหนี้ระยะสั้นของภาครัฐตามที่สำนักงานกำหนดให้ลงทุนได้โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 1) ตัวอย่างกองทุน เช่น K-CASH
1
2. Money Market - General กองทุนรวมตลาดเงินที่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก ตราสารหนี้ระยะสั้นของภาครัฐตามที่สำนักงานกำหนดให้ลงทุนได้โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี < 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 2) ตัวอย่างกองทุน เช่น K-MONEY
3. Short Term Government Bond ลงทุนในเงินฝากตราสารหนี้ของภาครัฐตามที่สำนักงานกำหนดให้ลงทุนได้โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และเฉลี่ยจะมีอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ณ ขณะใดขณะหนึ่ง <= 1 ปี (ความเสี่ยงระดับ 3) ตัวอย่างกองทุน เช่น TBOND1Y
4. Mid Term Government Bond ลงทุนในเงินฝากตราสารหนี้ของภาครัฐตามที่สำนักงานกำหนดให้ลงทุนได้โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และเฉลี่ยจะมีอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ณ ขณะใดขณะหนึ่ง > 1 - 3 ปี (ความเสี่ยงระดับ 3) ตัวอย่างกองทุน เช่น KTILB
5. Short Term General Bond ลงทุนในเงินฝากตราสารหนี้ทั่วไปตามที่สำนักงาน กำหนดให้ลงทุนได้โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และเฉลี่ยจะมีอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ณ ขณะใดขณะหนึ่ง <= 1 ปี (ความเสี่ยงระดับ 4) ตัวอย่างกองทุน เช่น KASF
6. Mid Term General Bond ลงทุนในเงินฝากตราสารหนี้ทั่วไปตามที่สำนักงานกำหนดให้ลงทุนได้โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และเฉลี่ยจะมีอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ณ ขณะใดขณะหนึ่ง > 1 - 3 ปี (ความเสี่ยงระดับ 4) ตัวอย่างกองทุน เช่น K-FIXED
7. Long Term General Bond ลงทุนในเงินฝากตราสารหนี้ทั่วไปตามที่สำนักงานกำหนดให้ลงทุนได้โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และเฉลี่ยจะSCBEMBONDมีอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ณ ขณะใดขณะหนึ่ง >= 3 ปี (ความเสี่ยงระดับ 4) ตัวอย่างกองทุน เช่น KFENFIX KFLTGOVRMF K-AFIXED
2️⃣ FIF FIXED กองทุนรวมตราสารหนี้ต่างประเทศ
1. Emerging Market Bond Fully F/X Hedge ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศกลุ่ม emerging market ในทวีปเอเชีย ละตินอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา เป็นต้น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ >= 90% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ (ความเสี่ยงระดับ 4)
2. Emerging Market Bond Discretionary F/X Hedge or Unhedge ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ต่างประเทศกลุ่ม emerging market ในทวีปเอเชีย ละตินอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา เป็นต้น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศบางส่วน หรือตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน หรือไม่ป้องกันความเสี่ยง (ความเสี่ยงระดับ 4) ตัวอย่างกองทุน เช่น SCBEMBOND
3. Global Bond Fully F/X Hedge ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ต่างประเทศทั่วโลก ที่เน้นลงทุนในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศในทวีปยุโรป เป็นต้น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ >= 90% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ (ความเสี่ยงระดับ 4) ตัวอย่างกองทุน เช่น KKP G-UBOND-H
4. Global Bond Discretionary F/X Hedge or Unhedge ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้และเงินฝากต่างประเทศทั่วโลก ที่เน้นลงทุนในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศในทวีปยุโรป เป็นต้น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศบางส่วน หรือตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน หรือไม่ป้องกันความเสี่ยง (ความเสี่ยงระดับ 4) ตัวอย่างกองทุน เช่น KT-WCORP
1
5. High Yield Bond ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสาร non-investment grade/unrated โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 4) ตัวอย่างกองทุน เช่น ABEHB
3️⃣ Mixed กองทุนรวมผสมในประเทศ/ต่างประเทศบางส่วน
1. Aggressive Allocation ลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินตลอดจนการหาดอกผลโดยวิธีอื่น โดยลงทุนในตราสารทุน 0-100% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 5) ตัวอย่างกองทุน เช่น TISCOFLEXP
2. Moderate Allocation ลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินตลอดจนการหาดอกผลโดยวิธีอื่น โดยลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี > 25% แต่ < 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 5) ตัวอย่างกองทุน เช่น PRINCIPAL SIF
3. Conservative Allocation ลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินตลอดจนการหาดอกผลโดยวิธีอื่น โดยลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี <= 25% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 5) ตัวอย่างกองทุน เช่น TMBINCOME
4. Foreign Investment Allocation ลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินตลอดจนการหาดอกผลโดยวิธีอื่น โดยลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุนต่างประเทศ (ผสมระหว่างสองสินทรัพย์ขึ้นไป และลงทุนในต่างประเทศ) (ความเสี่ยงระดับ 5) ตัวอย่างกองทุน เช่น 1US-OPP
4️⃣ TH EQ กองทุนรวมตราสารทุนในประเทศ
1. Equity Small – Mid Cap ลงทุนในหุ้นไทยที่มี market capitalization ไม่เกิน 80,000 ล้านบาทโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 6) ตัวอย่างกองทุน เช่น TISCOMS-A
 
2. Equity Large Cap ลงทุนหุ้นใน SET50 โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 6) ตัวอย่างกองทุน เช่น KAEQ
3. Equity General ลงทุนหุ้นใน SET MAI หรืออื่น ๆ (ความเสี่ยงระดับ 6) ตัวอย่างกองทุน เช่น LHSTRATEGY-A
4. Energy Sector ลงทุนในซึ่งตราสารทุนกลุ่ม Energy โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 7) ตัวอย่างกองทุน เช่น K-ENERGY
5. SET 50 Index Fund กองทุนรวมดัชนีหรือกองทุนรวมอีทีเอฟโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อัตราผลตอบแทนของกองทุนใกล้เคียงกับอัตราผลตอบแทนของดัชนี SET50 มากที่สุด (ความเสี่ยงระดับ 6) ตัวอย่างกองทุน เช่น TMB50
5️⃣ FIF EQ กองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ
1. US Equity ลงทุนในตราสารทุนของประเทศอเมริกา โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม(ความเสี่ยงระดับ 6) ตัวอย่างกองทุน เช่น K-USA-A(A)
2. Japan Equity ลงทุนในตราสารทุนของประเทศญี่ปุ่น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 6) ตัวอย่างกองทุน เช่น KF-HJPINDX
3. European Equity ลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศกลุ่มยุโรป โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 6) ตัวอย่างกองทุน เช่น KF-HEUROPE
4. Greater China Equity ลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศกลุ่มเกรทเทอร์ไชน่า คือ จีน ฮ่องกง และไต้หวัน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 6) ตัวอย่างกองทุน เช่น TMBCOF
5. Global Equity (MSCI World, ACWI) ลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศทั่วโลกที่เน้นลงทุนในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศในทวีปยุโรป เป็นต้น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 6) ตัวอย่างกองทุน เช่น MGAG
6. Emerging market (MSCI Emerging based) ลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศกลุ่ม emerging market ในทวีปเอเชีย ละตินอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา เป็นต้น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 6) ตัวอย่างกองทุน เช่น K-GEMO
7. Asia Pacific Ex Japan ลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศกลุ่มเอเชียแปซิฟิค เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน และ เกาหลี เป็นต้น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม โดยลงทุนในตราสารทุนของประเทศญี่ปุ่น < 10% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 6) ตัวอย่างกองทุน เช่น UOBSCI-N
8. India Equity ลงทุนในตราสารทุนของประเทศอินเดีย โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 6) ตัวอย่างกองทุน เช่น MS-INDIA-A
9. Vietnam Equity ลงทุนในซึ่งตราสารทุนของประเทศเวียดนาม โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 6) ตัวอย่างกองทุน เช่น PRINCIPAL VNEQ-A
10. Health Care กองทุนลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุนของกลุ่ม Healthcare โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 7) ตัวอย่างกองทุน เช่น K-GHEALTH
11. ASEAN Equity ลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศกลุ่ม ASEAN โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 6) ตัวอย่างกองทุน เช่น KT-ASEAN-A
6️⃣ Property Fund กองทุนรวม REIT/Infra/Property Fund
1. Thai Free Hold ลงทุนในกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ (ความเสี่ยงระดับ 8 ) ปัจจุบันไม่มีกองทุนประเภทนี้แล้ว
2. Thai Lease Hold ลงทุนในสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิในการใช้ประโยชน์ของทรัพย์สิน (ความเสี่ยงระดับ 8 ) ปัจจุบันไม่มีกองทุนประเภทนี้แล้ว
3. Thai Mixed ลงทุนในกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ และลงทุนในสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิในการใช้ประโยชน์ของทรัพย์สิน (ความเสี่ยงระดับ 8 ) ปัจจุบันไม่มีกองทุนประเภทนี้แล้ว
4. Fund of Property fund - Thai ลงทุนในหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ REIT กองทุน Infrastructure ที่เน้นลงทุนในประเทศโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (มีการลงทุนในต่างประเทศเล็กน้อย < 20% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม) (ความเสี่ยงระดับ 8 ) ตัวอย่างกองทุน เช่น KFGPROP-D
5. Fund of Property fund - Thai and Foreign ลงทุนในหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ REIT กองทุน Infrastructure ที่ลงทุนในต่างประเทศบางส่วนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 20% แต่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 8 ) ตัวอย่างกองทุน เช่น LHPROPINFRA-D
1
6. Fund of Property fund - Foreign ลงทุนในหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ REIT กองทุน Infrastructure ที่เน้นลงทุนในต่างประเทศโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 8 ) ตัวอย่างกองทุน เช่น KT-PIF-A
 
7️⃣ Alternative กองทุนรวมลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก
1. Broad Composite Commodities index ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ตามดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ร่วม (Broad commodities index) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่ต่ำกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 8 ) ตัวอย่างกองทุน เช่น PRINCIPAL GCF
2. Commodities Energy ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ด้านพลังงาน เช่น น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ และถ่านหิน เป็นต้น โดยไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยทางตรง หรือ โดยทางอ้อมผ่านการลงทุนในตราสารหรือสัญญาที่ให้ผลตอบแทนโดยอ้างอิงกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 8 ) ตัวอย่างกองทุน เช่น K-OIL
3. Commodities Precious Metals ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ด้านโลหะมีค่า เช่น ทองคำ เงิน และแพลตินัม เป็นต้น โดยไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อมผ่านการลงทุนในตราสารหรือสัญญาที่ให้ผลตอบแทนโดยอ้างอิงกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 8 ) ตัวอย่างกองทุน เช่น ASP-GOLD
4. Commodities Agriculture ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ด้านเกษตรกรรม โดยไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อมผ่านการลงทุนในตราสารหรือสัญญาที่ให้ผลตอบแทนโดยอ้างอิงกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี >= 80% ของมูลค่าทรั พย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 8 ) ตัวอย่างกองทุน เช่น K-AGRI
8️⃣ กองทุนรวมที่ไม่สามารถจัดกลุ่มได้
1. Miscellaneous กองทุนรวมที่ไม่สามารถจัดกลุ่มได้ เช่น ASIA-E เป็นต้น (ซึ่งมีความยืดหยุ่นมาก อยู่ได้หลายประเภท)
🎯หวังว่าทุกคนจะได้เห็นภาพกว้างๆว่ากองทุนมีกี่ประเภทและความเสี่ยงเป็นเท่าไหร่บ้าง อันนี้คือพื้นฐานหลักของการจัดพอร์ท ซึ่งเราจะเอาวิชาของผู้แนะนำการลงทุน หรือผู้จัดการกองทุน มาบอกเรื่อยๆนะ มือเก่าหรือมือใหม่ เราโตไปด้วยกัน 🙂
อย่าลืมเลือก “Favorite” ที่ Page Notification จะได้ไม่พลาดการอัพเดทก่อนใคร
โฆษณา