8 เม.ย. 2021 เวลา 13:03 • การศึกษา
ตื่นเช้ามา "อาบน้ำ" ตกเย็นมาก็ "อาบน้ำ"
อาบน้ำวันละ 1-2 ครั้ง แล้วแต่โอกาส😂
สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ สบู่(Soap) ใช้ชะล้างทำความสะอาดร่างกาย ใช้กันทุกวัน มีทั้งแบบก้อนและแบบเหลว มีกลิ่นให้เลือกมากมาย มีหลายแบบหลายยี่ห้อให้ลองใช้
แต่เคยสงสัยกันรึเปล่าว่า สบู่ ที่เราใช้มาจากไหน? ใครเป็นคนคิดค้น?
สบู่ CP Handmade
เดี๋ยวจะพาไปดูต้นกำเนิดของสบู่
แม่บ้านเก็บก้อนสีขาวๆตามลำธารมาถูผ้า ทำให้ผ้าสะอาดขึ้น นั่นคือ สบู่ นั่นเอง
ย้อนกลับไปเมื่อ 2,500 ปีที่แล้ว ชาวโรมันมักจะเผาสัตว์บนแท่นไม้บูชาเพื่อบูชาเทพเจ้า ชาวโรมันในพิธีได้สังเกตว่า เมื่อเผาสัตว์บนแท่นไม้บูชา จะมี
ไขมันไหลออกมา เมื่อฝนตกลงมาโดนใส่ไขมันนั้นจะจับตัวแข็งกลายเป็นก้อนไหลลงไปในลำธาร
แม่บ้านที่เอาผ้ามาซักที่ลำธารได้นำเอาก้อนไขมันนี้มาถูลงบนผ้า ปรากฏว่าผ้าสะอาดขึ้น
จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเอาไขมันแพะไปต้มกับขี้เถ้าจากการเผาไหม้ กลายเป็น"สบู่" ในยุคเริ่มแรก
ชาวสุเมเรียน
คนกลุ่มแรกที่ประดิษฐ์สบู่ขึ้นมาใช้ถูตัวกันเป็นเรื่องเป็นราวคือชาวสุเมรียน โดยการต้มน้ำในหม้อ
ให้เดือดแล้วเทขี้เถ้าและไขมันลงไป จากนั้น
ก็คนให้เข้ากันแล้วเติมเกลือ
ไขมันก็จะจับตัวกันเป็นก้อนแข็งลอยขึ้นมา
ก้อนไขมันนี้ก็คือสบู่นั่นเอง แต่สบู่แบบนี้มีข้อเสียคือจะนิ่มและเละแตกเป็นชิ้นๆ ได้ง่าย
ต่อมาเมื่อมีคนใช้สบู่กันเป็นวงกว้าง นักประดิษฐ์ก็หาหนทางทำให้สบู่ใช้ทนทานขึ้น โดยการนำไขที่ได้จากการต้มไปผสมกับสารละลายเกลือแล้วทิ้งไว้ระยะหนึ่ง ก็จะได้สบู่ที่แข็งกว่าเดิม เพราะมีเวลาให้ก้อนไขมันจับตัวกันได้นานขึ้น
1
นอกจาก้อนไขมันแล้ว ยังมีวัสดุธรรมชาติ
อย่างอื่นอีก ที่คนสมัยก่อนนิยมเอามาใช้เป็นสบู่ โดยเฉพาะพืช และมีเรื่องประหลาดว่า ที่เกาะ
ไซโมลัส ในทะเลอีเจียน(Aegean Sea) มีก้อนบางอย่างหน้าตาเหมือนสบู่เกิดขึ้นเองทั่วไปทั้งเกาะ
ซ้ำเมื่อเอามาถูตัวและซักผ้าก็สะอาดไม่แพ้กันด้วย โดยเฉพาะเวลาฝนตกหนักเจ้าก้อนนี้จะมีฟองออกมาจนทั้งเกาะปกคลุมไปด้วยฟองหนาหลายฟุตเลยทีเดียว
ทะเลอีเจียน
สบู่สมัยใหม่ที่เราเห็นว่าทั้งสวยทั้งหอม เริ่มมีขึ้นในปี ค.ศ. 1879 แต่เดิมฝรั่งไม่ค่อยชอบอาบน้ำและไม่สนใจเรื่องโรคผิวหนังเท่าไร จนกระทั่งวงการแพทย์มีข้อมูลว่าแบคทีเรียบนผิวหนังและเสื้อผ้าสามารถทำให้เป็นโรคร้ายแรงอื่นๆตามมาได้ ก็เลยเกิดความตื่นตัวในการใช้สบู่ถูตัวมากขึ้น
สบู่ก้อนที่มาปฏิวัติวงการเกิดมาจากความผิดพลาด
เมื่อคนงานคนหนึ่งในโรงงานสบู่ของ นายฮาร์เลย์ พร็อกเตอร์ ลืมปิดเครื่อง ปล่อยให้ส่วนผสมถูกตีอยู่ในเครื่องนานเกินไป
Harley Procter
แต่ส่วนผสมที่ได้กลับมีความพิเศษตรงที่เบากว่าเดิมและลอยน้ำได้ พร็อกเตอร์ เลยจับมือ กับนักเคมีชื่อ เจมส์ แกมเบล ร่วมกันผลิตสบู่แบบใหม่ที่มีฟองนุ่ม เบา และลอยน้ำได้ เรียกว่า “สบู่ไอวอรี่” ซึ่งขายดีเป็นเทน้ำเทท่า จากนั้นก็มีการคิดค้นใส่สี กลิ่น และ คุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ลงในสบู่ จนออกมาเป็นสบู่อย่างที่เราใช้กันทุกวันนี้
สบู่ไอวอรี่
ในทางเคมี
สบู่ คือ เกลือของกรดไขมันจากปฏิกิริยาทางเคมีที่เรียกว่า sponification
Sponification คือ ปฏิกิริยาทางเคมีของลิพิด
(lipid)(น้ำมันหรือไขมัน)กับด่าง(โซเดียมไฮดรอกไซด์) ผลลัพธ์ที่ได้จากปฏิกิริยานี้คือ เกลือของกรดไขมัน(เรียกกันว่า สบู่) และกลีเซอรีน
ปฏิกิริยาสปอนนิฟิเคชั่น(sponification)
ในสบู่ CP กลีเซอรีนจะยังอยู่ในเนื้อสบู่เต็มที่  แต่ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรมมันจะถูกสกัดออกไปเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ
คำว่า "สบู่" ในภาษาไทย เพี้ยนมาจากคำว่า "sabão" ในภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เชื่อว่าสบู่
เข้ามาในประเทศไทยในสมัยอยุธยา พร้อมกับชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขาย, รับราชการ และพำนักอยู่ในประเทศไทยในเวลานั้น
ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้นะครับ
ฝากติดตาม กดไลค์ กดแชร์ด้วยนะครับ
หากผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยด้วยนะครับ
ติชมกันได้นะครับ
ขอบคุณครับ^^
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก
โฆษณา