9 เม.ย. 2021 เวลา 07:37 • หนังสือ
📚 รีวิวหนังสือ 🪜 “What Got You Here Won’t Get You There” 📚 (Part I)
3
เขียนโดย Marshall Goldsmith w/ Mark Reiter
1
ทำไมคนเก่งหลาย ๆ คนถึงไม่สามารถประสบความสำเร็จได้มากกว่าเดิม ? ทำไมเค้าถึงไปต่อไม่ได้?
ในการทำงานในองค์กรนั้นมีคนมากมายครับที่ก้าวขึ้นมาประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งหรืออยู่ในระดับผู้นำระดับหนึ่งแล้วแต่ไม่สามารถไปต่อได้หรือติดกับกับดักอะไรซักอย่างที่ทำให้เค้าหยุดพัฒนาตนเอง...
หรือแม้กระทั่งในระดับทำงานทั่วไป บางคนทำงานเก่งมาก แต่ทำไมเค้าถึงไม่ได้รับการยอมรับจากทีม หรือเพื่อนร่วมงาน? 🤔
🎯 หนังสือเล่มนี้จะมาเล่าให้เราฟังครับว่าทำไมคนเก่งหลาย ๆ คนถึงไปต่อไม่ได้เพราะมีนิสัยหรือ mindset บางอย่างที่เจ้าตัวนั้นอาจจะไม่รู้ตัวเลย โดยเฉพาะกับคนที่เก่งและสามารถทำงานได้สำเร็จมาถึงจุด ๆ หนึ่งแล้วก็มักจะมีความมั่นใจในตัวเองและมีความเชื่อมั่นกับสิ่งที่เคยทำมาว่าดีแล้ว ถูกต้องแล้ว ถึงพาเค้ามาสู่จุดนี้ได้ จริงมั้ยครับ?
👉🏻 แต่ในการที่จะเติบโตต่อไปเป็นผู้นำทีม ผู้นำองค์กรหรือผู้บริหารระดับสูงก็ตาม ความ ”เก่งงาน” หรือความสามารถอย่างเดียวคงไม่พอ อย่างที่เราเคยได้ยินกันบ่อย ๆ ครับว่า “ต้องเก่งคน” ด้วย
แล้วผู้เขียนเป็นใครทำไมเราถึงต้องฟังเค้าหละครับ?
3
ตัวผู้เขียน Marshall Goldsmith นั้นได้รับการยกย่องเป็น “World’s #1 Executive Coach” โค้ชผู้เชี่ยวชาญด้านทักษะการเป็นผู้นำให้กับผู้บริหารระดับสูงมากมายในโลกแถมเคยติดอันดับ Top Ten Business Thinkers เป็นเวลาถึง 8 ปีด้วยกัน! 👍🏻
หนังสือเล่มนี้จะมาเล่านิสัยต่าง ๆ ที่เราควรปรับปรุง รวมทั้งทักษะอะไรที่จำเป็นในการที่จะทำให้เรา ”ไปต่อได้” ที่ผมมองว่ายิ่งเรารู้เร็วยิ่งได้เปรียบคนอื่นอย่างมากครับ
โดยในส่วนแรก ผมขอเล่าถึงพฤติกรรมแย่ ๆ 20 อย่างที่ควรหลีกเลี่ยงก่อนเลยครับ
……………..
“The Trouble of Success”
คนที่ทำอะไรสำเร็จมาได้ระดับหนึ่งนั้นแน่นอนว่าต้องเป็นคนที่เก่ง มีความสามารถในการทำงานหรือสิ่งที่ตัวเองทำอยู่และได้รับมอบหมาย นอกจากนี้เมื่อทำอะไรสำเร็จก็มักจะมีความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้นมา ซึ่งอันนี้แหละครับเป็นเหมือนดาบสองคม ที่มองในอีกมุมหนึ่งเป็นเสมือนกับดักที่ทำให้เค้ายึดติดและไม่สามารถไปต่อได้
เนื่องจากว่าในเมื่อเค้าทำแบบนี้มาตลอดแล้วก็สำเร็จได้ด้วยดี แล้วทำไมถึงต้องเปลี่ยนแปลงหละ?
ผู้เขียนนั้นบอกว่าคนที่สำเร็จมาแล้วนั้นมักประกอบไปด้วยความเชื่อดังต่อไปนี้
• I have succeeded
• I can succeed
• I will succeed
• And I choose to succeed
ซึ่งทั้งสี่ข้อนี้ทำให้ดูเหมือนว่าคนเหล่านี้ยิ่งงมงายอยู่กับการกระทำหรือรูปแบบการทำงานแบบเดิม ๆ โดยไม่ได้มองว่าเมื่อเค้าจะก้าวต่อไปในตำแหน่งที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ นั้นทักษะหรือความรู้ความสามารถที่เค้าใช้ทำให้มาถึงจุดนี้ได้นั้นมีความสำคัญน้อยลงไปเรื่อย ๆ เนื่องจากทุกคนที่ก้าวมาถึงจุดนี้ได้ย่อมมีความสามารถที่ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก
📍 ในทางตรงกันข้ามทักษะด้านคนหรือพฤติกรรมการทำงานนั้นกลับเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน
“the higher you go the more your problems are behavioral”
1
โดยจากประสบการณ์ทำงานกับผู้บริหารอย่างมากมายของผู้เขียนนั้นเค้าได้สรุปพฤติกรรมหรือนิสัยไม่ดีที่ทำให้เราไม่ได้ไปต่อ 20 ข้อดังต่อไปนี้ครับ
……………..
#1 Winning too much 🏆🏆🏆
1
ไม่น่าแปลกใจเลยใช่มั้ยครับที่คนที่ประสบความสำเร็จมาแล้วส่วนใหญ่จะ ”ชอบการแข่งขัน” แถมชอบการเอาชนะอีกด้วย!
แต่การที่ชอบเอาชนะมากเกินไปนั้นแทนที่จะเป็นผลดีกับตัวเราหรือส่วนรวมนั้นกลับส่งผลเสียได้เลยครับ ซึ่งผู้เขียนบอกว่าปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันดับหนึ่งของผู้บริหารที่เค้าเคยเจอเลย
ในหนังสือเค้ายกตัวอย่างเรื่องของการเลือกร้านอาหาร เช่น เราไปกับเพื่อนหรือครอบครัวแล้วเราแนะนำร้านอาหารร้านหนึ่ง คนอื่นแนะนำอีกร้านหนึ่ง ซึ่งโดยสรุปทุกคนเค้าเลือกอีกร้านที่เราไม่เห็นด้วยแล้วไปร้านนั้นกัน
เมื่อถึงร้านดันปรากฏว่าอาหารมาช้า อาหารก็ไม่ค่อยอร่อย แถมบริการก็ไม่ดีอีก ถามว่าคุณจะทำอย่างไร ระหว่าง
a) วิจารณ์ (ด่า) อย่างเต็มที่เลย แล้วก็บอกคนที่เลือกร้านนี้เลยว่า “เป็นไงหละ บอกแล้ว ถ้าเลือกตามเราคงไม่เป็นแบบนี้หรอก” หรือ
1
b) เงียบไปแล้วรับประทานอาหารแล้วก็พยายามมีความสุขกับมื้อนั้น
💡 ผู้เขียนซึ่งเป็นโค้ชของผู้บริหารมากมายนั้นบอกว่าผลจากการสอบถามลูกค้าของเค้าซึ่งเป็นผู้บริหารนั้น 75% นั้นเลือกข้อ a นะครับ (เชื่อมั้ยหละครับ)
ทั้ง ๆ ที่ถ้าเราใช้เหตุผลมาคิด cost benefit ดี ๆ เนี่ยจะเห็นว่าการกระทำในข้อ a นั้นแทบไม่เกิดประโยชน์กับใครเลย แถมทำให้ความสัมพันธ์กับคนที่คุณไปต่อว่าเค้าแย่ลงไปอีก
แต่เพราะคนกลุ่มที่เลือกข้อ a อยากที่จะเอาชนะไงครับ อยากชนะจนหน้ามืด ลืมคิดให้ดีว่ามันเกิดประโยชน์อะไรจากการพูดแบบนั้น
1
……………..
#2 Adding too much value 🗣
1
เคยเจอกันมั้ยครับกับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานที่ต้องขอพูดแสดงคามเห็นหรือขอมีคอมเม้นท์ตลอด แม้จะนิด ๆ หน่อย ๆ ก็ตามแม้ไม่ได้จะเพิ่ม value ให้กับงานซักเท่าไหร่...
ผู้เขียนบอกว่าการทำอย่างนี้อาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดีนะครับ เนื่องจากว่า การที่เราไปแสดงความเห็นอะไรที่ไม่จำเป็น ไม่ได้เพิ่ม value ให้กับงานเท่าไหร่อาจจะไม่คุ้มค่าเลย เช่น อาจจะช่วยเพิ่ม value ได้ 5 % แต่เทียบกับการที่เสีย commitment เสียกำลังใจลงไป 50% จากทีมงานที่เค้าอุตส่าห์ทำงานมาเสนอ มันจะคุ้มค่ามั้ยหละครับ?
📌 ตัวผู้เขียนก็เน้นย้ำนะครับว่าไม่ได้ห้ามไม่ให้เรามีคอมเม้นท์ใด ๆ เลย แต่ก่อนที่เราจะพูดอะไรออกไปให้มองทีมเป็นหลักก่อนว่าจะได้ประโยชน์จริง ๆ มากกว่าจะมองแค่ตัวเองที่ต้องการแต่จะเอาชนะคนอื่น บางทีการแค่ชื่นชมทีมงานว่า “ยอดเยี่ยม” อาจจะมีประโยชน์กว่าก็ได้ครับ
……………..
1
#3 Passing judgement 👨🏻‍⚖️
1
ข้อนี้คือ “การไปตัดสินผู้อื่น” โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณอยู่ในระดับหัวหน้าหรือผู้นำ เช่น เวลาเราถามความเห็นทีมในที่ประชุม พอเค้าแสดงความเห็นมา เราดันไปแสดงความเห็นทับความเห็นนั้นว่าดีหรือไม่ดีตัดสินเค้า
การทำแบบนี้มันทำให้เราดูไม่เป็นกลาง และจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากคนที่โดนตัดสินไปก่อนไปในทางที่ไม่ดีอีกเลยด้วย แค่พูดว่า “ขอบคุณ” ก็เพียงพอแล้วครับ
……………..
#4 Making destructive comments ☄️
1
คือการให้ความเห็นที่ไม่สร้างสรรค์เลย อันนี้จะแย่กว่าข้อ 2 ที่เป็นการเพิ่ม value มากเกินไปอีกนะครับ เพราะข้อนี้มันเป็นการทำร้ายคนอื่น ทำให้คนอื่นเสียความรู้สึกไปเลย
เค้าบอกให้เราจำไว้เลยครับว่า เมื่อไหร่ที่เราหลุดปากอะไรออกมาแล้ว มันแก้ไขไม่ได้แล้วครับ ถึงแม้ว่าเราจะมาพูดขอโทษทีหลัง แต่ความรู้สึกของคนที่ฟังนั้นได้เสียไปแล้ว ยากที่เค้าจะลืมคำพูดเหล่านั้น
👉🏻 ดังนั้นก่อนที่เราจะพูดหรือแสดงความเห็นอะไร ให้ถามตัวเองให้ดีครับว่า คำพูดนี้มันมีค่ามากพอ มีประโยชน์พอจริง ๆ ใช่มั้ย โดยผู้เขียนเค้าให้หลักการถามตัวเองก่อนจะแสดงความเห็นไว้ดังนี้ครับ
1. มันจะช่วยลูกค้าของเรามั้ย
2. ช่วยบริษัทของเราได้รึเปล่า
3. มันจะช่วยคนที่ฟังเราพูดได้มั้ย
4. แล้วมันจะช่วยคนที่เราพูดถึงอยู่ได้รึเปล่า
1
หากไม่ใช่เลย การไม่พูดออกมาก็จะดีกว่าครับ...
……………..
#5 Starting with “no”, "but” or “however" 👎
ข้อนี้ผมว่าหลายคนเป็นบ่อยแบบแทบไม่รู้ตัวเลยนะครับ หลายคนติดพูดคำว่า “แต่” มันอารมณ์คล้ายกับข้อที่ขอให้ได้แสดงความเห็นนะครับ คือเค้าบอกว่าไม่ว่าเราจะพูดด้วยน้ำเสียงที่ไพเราะอ่อนหวานขนาดไหน แต่ถ้ามีคำว่า “แต่” มันเป็นการแสดงออกเลยครับว่าคุณ “ไม่เห็นด้วย” และพยายามบอกว่าเค้าคนนั้น “ผิด” 🙅‍♂️
……………..
#6 Telling the world how smart you are 🤷🏻‍♂️
2
ไม่มีใครชอบคนโอ้อวดหรอก ถูกมั้ยครับ?
การเป็นคนฉลาดนั้นดีครับใคร ๆ ก็ชอบทั้งนั้นแต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราอยาก “โชว์ออฟ” อยากโชว์คนอื่นให้เห็นว่าเราเก่ง อยากเอาชนะใจคนอื่น มันจะกลายเป็นหมดกันเลยครับ
……………..
#7 Speaking when angry 😡
1
แน่นอนครับว่าทุกคนรู้ดีครับว่าเวลาเราโกรธเรามักจะขาดสติ ควบคุมตัวเองไม่ได้ พูดอะไรไปก็มักจะเสียใจทีหลังอยู่ร่ำไป
แต่สิ่งที่แย่ไปกว่านั้นคือ เมื่อคุณทำบ่อย ๆ มันจะทำให้คนอื่นรอบตัวคุณจดจำภาพนั้นว่า คุณเป็นพวกคนขี้เหวี่ยง ขี้โมโห แล้วภาพพวกนี้ลบออกไปจากตัวคุณยากมากครับ
💡 ผู้เขียนได้เล่าเรื่องเปรียบเทียบ ไว้ว่า เวลาเราโกรธแล้วพูดอะไรไป มันเหมือนคนที่กำลังพายเรืออยู่ พอเจอเรือมาขวางทางก็ตะโกนใส่เรือที่ว่างป่าว ไม่มีคนพายนั่นแหละครับ
……………..
#8 Negativity or let me explain why that won’t work ⛔️
1
การเป็นคน “คิดลบ” หรือ “negative” ไม่พูดอะไรในเชิงบวก ไม่มีคำชม ไม่มีคำแนะนำที่ดี พฤติกรรมอันนี้นั้นเค้าบอกว่ามันแย่ที่สุด เพราะไม่ได้เพิ่ม value ไม่พอ แถมยังแสดงออกทางลบแบบไม่เม้มอีกต่างหาก ซึ่งแย่กว่าคนที่ใช้คำว่า “แต่” เพราะอันนั้นเค้ายังมีการซ่อนความรู้สึกไม่เห็นด้วยเอาไว้บ้าง
……………..
#9 Withholding information ❌
1
การไม่ให้ข้อมูล หรือ การ “กั๊ก” ข้อมูลเอาไว้นั่นเอง ซึ่งข้อนี้มีความเสียหายมากๆเพราะมันเป็นการทำลาย “value” ไปเลยตรงกันข้ามกับข้อ 2 ที่เป็นการแสดงความเห็นมากเกินไป
ซึ่งเค้าบอกว่าส่วนใหญ่คนจะอ้างว่าไม่ได้ตั้งใจ ยุ่ง จึงไม่ได้บอก ลืมบอก เช่น การนัดประชุมงานที่เกี่ยวข้องกับเราแต่ไม่ได้เชิญเรา หรือ ในกรณีที่เราต้องมอบหมายงานให้ใคร แต่เราไม่ได้บอกข้อมูลที่เค้าควรจะรู้ในการทำงานนั้น ๆ
ลองคิดดูนะครับว่า สมมติมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเราและเราต้องรู้ แต่เราดันเป็นคนสุดท้ายที่รู้ เราจะรู้สึกยังไงครับ 🥲
……………..
#10 Failing to give proper recognition 👏🏻
1
เวลาที่มีคนอื่นทำงานหรือทำอะไรให้เรา แล้วเราลืมหรือไม่ได้แสดงการขอบคุณหรือการชมเชยนั้น มันจะทำให้เค้ารู้สึกว่าถูกลืม หรือไม่มีความสำคัญ และทำให้เสียกำลังใจได้ อีกทั้งต่อไปเค้าอาจจะไม่พยายามทำอะไรให้เราขนาดนี้อีกแล้วก็ได้นะครับ
การที่เราชมเชยหรือขอบคุณคนอื่นนี่ดูเหมือนไม่ได้ยากอะไรนะครับ แต่เอาเข้าจริงมันเป็นสิ่งที่เราต้องฝึกทำให้เป็นนิสัยครับ
💡 ผู้เขียนได้ลองแนะนำวิธีการฝึกโดยลองให้เราเขียนรายชื่อคนสำคัญ ๆ รอบ ๆ ตัวเรา ออกมาครับ ไม่ว่าจะเป็นสามี ภรรยา แฟน ลูก หรือลูกน้องที่ทำงาน แล้วให้เราลองนั่งนึกดูครับว่าในอาทิตย์ที่ผ่านคนเหล่านี้ได้ทำอะไรดี ๆ ให้เราบ้าง แล้วเราได้แสดงความ ”ขอบคุณ” เค้าแล้วหรือยัง ถ้ายังให้เรารีบทำเลยเดี๋ยวนั้นครับ ไม่ว่าจะเป็นการโทรบอก ส่งข้อความหรืออีเมล์ไปหาครับ
……………..
#11 Claiming credit that we don’t deserve
❌ ข้อนี้เป็นพฤติกรรมที่เรียกว่าร้ายแรงมาก ๆ ครับ นอกจากจะไม่ได้ชื่นชมคนอื่นที่ทำดีแล้ว อันนี้ถึงกับเอามาเป็นความดีความชอบตัวเอง คงเคยได้ยินสุภาษิตไทยกันบ่อย ๆ ใช่มั้ยครับ ที่ว่า “เอาดีเข้าตัว เอาชั่วให้คนอื่น” 😔
วิธีการทบทวนตัวเองและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมนี้คือ เราต้องกลับมานั่งดูครับว่า สิ่งที่เราหรือทีมทำสำเร็จนั้น มีใครบ้างที่ช่วยทำให้มันสำเร็จ และสมควรได้รับเครดิต
……………..
#12 Making excuses
1
คือการเป็นคนมีข้ออ้างตลอดเวลา โทษโน่นโทษนี่ไปเรื่อย เช่น มาสายก็โทษรถติดไว้ก่อนเลย (แต่ไม่โทษตัวเองที่ตื่นสายหรือออกจากบ้านสาย) ซึ่งมันไม่ได้ช่วยอะไรขึ้นมาเพราะสุดท้ายคนที่คุณนัดไว้ก็ต้องคอยคุณอยู่ดี
เค้าบอกว่าหากเราเลิกหาข้ออ้างโทษโน่นโทษนี่ เราน่าจะทำอะไรได้ดีขึ้นเกือบทุกอย่างเลยครับ
📍 “If we can stop excusing ourselves, we can get better at almost anything we choose” 📍
1
……………..
#13 Cling to the past 👴🏻
คือการเป็นคนที่ยึดติดกับอดีตแล้วเอามาเปรียบเทียบกับเรื่องในปัจจุบัน เช่น บอกว่าที่เรามีนิสัยแบบนี้เพราะพ่อแม่เลี้ยงดูเรามาแบบนั้นแบบนี้ หรือเราเคยได้คนที่พูดบ่อย ๆ มั้ยครับว่า “เมื่อตอนผมอายุเท่าคุณ...ผมอย่างโน่น ผมอย่างนี้...”
ซึ่งผู้เขียนบอกว่าเค้าได้เรียนรู้เรื่องนี้จากลูกสาว 👧 ของเค้าเองครับ ซึ่งมีครั้งหนึ่งเค้ากลับบ้านมาก็บ่นลูกสาว ว่าสมัยเค้าเด็ก ๆ เท่าเธอนั้น เค้าลำบาก ทำงานหนักมาก ไม่มีเงิน อย่างนั้นอย่างนี้ ผิดกับลูกสาวเค้าที่สบายมีทุกอย่างพร้อม ทันใดนั้นลูกสาวเค้าสวนกลับมาว่า “มันเป็นความผิดของหนูเหรอที่พ่อหาเงินได้เยอะ ทำให้เป็นแบบนี้”
1
ประโยคที่ลูกสาวเค้าตอบทำให้เค้าอึ้งในทันทีพร้อมทั้งคิดได้ว่า เออ ก็จริง ลูกสาวเค้าไม่ได้เลือกที่จะเป็นแบบนี้หนิ เป็นเค้าเองที่เลือกทำงานหาเงินอย่างหนักเพื่อให้ลูกสาวอยู่อย่างสบาย ฉะนั้นจงอย่าโทษคนอื่นกับสิ่งที่ตัวเองเลือกเอง 💡
……………..
#14 Playing favorites
1
คนเป็นผู้นำยิ่งต้องระวังเป็นอย่างยิ่งนะครับในเรื่องของการมีความ “ลำเอียง” หรือ “เลือกที่รักมักที่ชัง” ที่ทำให้ตัวคุณดูไม่ดีและไม่ได้รับการยอมรับหรือนับถือจากคนอื่น ๆ
💡 ผู้เขียนแนะนำว่าให้ลองสำรวจตัวเองว่าคณเป็นคนแบบนี้รึเปล่าโดยให้ลองถามตัวเอง 3 คำถามต่อไปนี้
1. คนนั้นเค้าชอบเรารึเปล่า
2. คน ๆ นั้นเค้าได้ทำประโยชน์อะไรให้กับบริษัทบ้าง
3. ตัวเราได้ให้คำชื่นชมหรือรางวัลกับคน ๆ นั้นขนาดไหน
หากลองมานั่งคิดแล้วพบว่าข้อ 1 กับข้อ 3 มาด้วยกันคือเรามักจะชื่นชมคนที่เค้าชอบเรา ดีกับเรา มากกว่ามองที่ประโยชน์ที่เค้าทำให้กับบริษัท อันนั้นแหละครับแสดงว่าคุณกำลังมีความลำเอียงอยู่ ให้ระวังครับ 🤨
……………..
#15 Refusing to express regrets 😢
1
การละเลยการ ”แสดงความเสียใจ” หรือ “ขอโทษ”
หลายคนที่เก่งและมีความมั่นใจในตัวเองสูงมักจะคิดว่าการขอโทษคือการยอมแพ้ เพราะคนกลุ่มนี้ชอบเอาชนะมาก ๆ ยังไงหละครับ
👉🏻 เค้าแนะนำว่าให้เรามองย้อนกลับมานึกถึงใจเขาใจเราครับ ว่าสมมุติเป็นเราแล้ว คนที่เรารักทำให้เราเสียใจแต่ไม่ขอโทษเราเลย เราจะรู้สึกแย่ขนาดไหนครับ เพราะ การไม่ขอโทษแสดงให้เห็นว่าคุณไม่แคร์ ไม่สนใจความรู้สึกของอีกฝ่ายเลย
นอกจากนี้การขอโทษจริง ๆ เป็นการบอกว่าเรานั้นเสียใจในสิ่งที่เราทำไปแล้ว และมันก็แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว แต่เราก็พร้อมและยินดีที่จะรับฟังข้อแนะนำเพื่อนำไปแก้ไขตัวเองต่อไปในอนาคตด้วยครับ 👏🏻👏🏻👏🏻
……………..
#16 Not listening
1
ข้อนี้เป็นหลักการคลาสสิคที่หนังสือเกี่ยวกับเรื่องความเป็นผู้นำทั้งหลายพูดถึงเลยครับ คือ เรื่องของการฟังคนอื่น 👂🏻
การไม่ฟังนี่เป็นการส่งสัญญาณแย่ ๆ ไปหาอีกคนหนึ่งเลยครับว่า “ฉันไม่สนใจคุณ” “ฉันไม่เข้าใจ” “คุณพูดผิดแล้ว” หรือ “เสียเวลา” 😕
ซึ่งแล้วอย่างนี้ใครจะอยากคุยกับคุณหละครับ?
หลาย ๆ คนอาจจะเคยเจอหัวหน้าที่เก่งมากแต่เค้าไม่รับฟังความเห็นเรา ซึ่งอาจเป็นเพราะ เค้าคิดว่าเค้ารู้แล้วเรื่องนั้นหนะ หรือบางทีเค้าคิดไปไกลถึงตอนจบแล้วหละ
เคยเจอมั้ยครับเวลาเราพรีเซ็นต์อยู่ มีคนฟังบอกให้เราข้าม ๆ ไปหน้าสุดท้ายเพื่อดูสรุปเลย เรารู้สึกยังไงครับเจอคนแบบนี้ 😢
……………..
#17 Failing to express gratitude
1
คำพูดสำคัญอีกคำหนึ่งที่เราต้องไม่ลืมเลย ก็คือ คำว่า “ขอบคุณ” ซึ่งไม่มีต้นทุนอะไรเลยในการพูด
7
ให้เราฝึกให้เป็นนิสัย ซึ่งเป็นคำที่เราใช้ได้บ่อยตราบที่เราต้องการเลยครับ ไม่ว่าเราอยู่ในสถานการณ์ไหน หากเราไม่มีความคิดเห็นใด ๆ หรือไม่แน่ใจว่าควรแสดงความเห็นนั้น ๆ ออกไปมั้ยก็ให้เราพูด “ขอบคุณ” ไว้ก่อนจะดีกว่าครับ 💡
……………..
#18 Punishing the messenger 🥊
1
บางครั้งมีคนมาแจ้งข่าวหรือเรื่องราวที่ไม่ดีกับเรา เราดันไปตำหนิหรือต่อว่าคนที่มาแจ้งเราซะงั้น ทั้ง ๆ ที่บางทีเค้าไม่ได้ทำอะไรผิด เค้ามีหน้าที่แค่นำเรื่องเหล่านั้นมาแจ้งให้เรารับทราบเท่านั้นเอง เหตุการณ์ที่ไม่ดีมันไม่ดีที่ตัวมันอยู่แล้วไม่ได้เป็นที่คนส่งสารเลย
ซึ่งอันนี้เป็นนิสัยที่ไม่ดีเอาเลยครับ เหมือนกับเวลาเราขับรถอยู่แล้วคนนั่งข้าง ๆ เราเตือนเราว่าให้ระวังไฟแดงข้างหน้า แล้วเราไปหงุดหงิดใส่คนที่บอกเรา ทั้ง ๆ ที่ไฟมันก็จะแดงของมันอยู่แล้วไงครับ 🚦
หากเราอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ให้เราฝึกพูดคำว่า “ขอบคุณ” แทนดีกว่าครับ
……………..
#19 Passing the buck 🐐
1
ข้อนี้พูดให้เข้าใจง่ายคือ “การหาแพะ” นั่นเองครับ ซึ่งมันเป็นนิสัยที่ต่อเนื่องมากจากการอยากเอาชนะ การหาข้อแก้ตัว ยิ่งถ้าไปรวมกับการที่ไม่ขอบคุณหรือขอโทษคนอื่นอีกนี่ เราจะแย่ครบสูตรเลยครับ ☹️
……………..
#20 An excessive need to be “me”
1
ข้อสุดท้ายคือ “การที่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล” 🪐ครับ เช่น คนอื่นโทรหา แต่ไม่เคยโทรกลับ แต่เวลาต้องการโทรหาใคร คนนั้นต้องรับสาย ถ้าไม่รับสายหรือโทรกลับจะเกิดอาการหงุดหงิดมาก ๆ 🙄
คือคนแบบนี้จะคิดถึงแต่ตัวเองเป็นหลัก ซึ่งมันจะง่ายต่อการโยงไปหาพฤติกรรมไม่ดีอันอื่นอีกมากมายที่กล่าวมาเลยครับ เช่น การไม่ยอมขอโทษคนอื่น เพราะรู้สึกเสียศักดิ์ศรี เสียความเป็นตัวเองไป ทั้งที่หากถามว่าการขอโทษคนอื่นนี่มันดีมั้ย เจ้าตัวก็รู้ดีว่าเป็นสิ่งที่ดี ช่วยให้คนอื่นรู้สึกดี ช่วยตัวเราเองในเรื่องหน้าที่การงานอีกต่างหาก
……………
📍 นอกจาก 20 ข้อนิสัยยอดแย่ที่กล่าวมาแล้ว ผู้เขียนยังได้เพิ่ม “ข้อที่ 21” ที่เค้าบอกว่า ข้อนี้มีความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะมันไม่ใช่ข้อเสียหรือนิสัยเสีย ซึ่งก็คือ “Goal obsession” หรือการหมกมุ่นกับเป้าหมายมากเกินไป ในเมื่อมันไม่ใช่ข้อเสียแล้วเพราะอะไรผู้เขียนถึงบอกว่าข้อนี้สำคัญครับ?
1
ผู้เขียนบอกว่าเพราะข้อนี้แหละครับที่มันจะเป็นต้นเหตุของ 20 ข้อที่กล่าวมา 💥
เพราะเมื่อคนเรามีความทะเยอะทะยาน มุทะลุในเป้าหมายมาก ๆ นั้น มันมีแนวโน้มที่จะทำให้เราทำได้ทุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ๆ ครับ ซึ่งรวมไปถึงการไม่สนใจคนอื่น การทำพฤติกรรมแย่ ๆ โดยมองแต่ตนเองเป็นหลัก
3
เค้าบอกว่า วิธีแก้นิสัยข้อนี้พูดง่ายแต่ทำยาก คือให้เราถอยออกมาหน่อยนึง แล้วมองดูรอบข้างบ้างว่าที่เราทำอยู่นี่มันถูกต้องรึเปล่า มันทำให้เราไปสู่เป้าหมายที่ถูกต้องจริง ๆ รึเปล่า หรือเราหลงลืมอะไรไปรึเปล่า?
……………
📌 สรุปโดยส่วนตัว ผมมองว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่มีความคล้ายกับ “how to win friends and influence people” ที่ผมเคยรีวิวไปแล้วนะครับ จะสังเกตได้ว่ามีนิสัยหลายอย่างเลยที่สอดคล้องกันในการจะทำให้คนอื่นชอบเรารวมถึงการเติบโตในหน้าที่การงานหรือแม้กระทั่งใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
ในตอนหน้าผมจะมาเล่าต่อถึงก้าวถัดไปว่าเมื่อเรารู้แล้วมีนิสัยอะไรที่เราควรหลีกเลี่ยงบ้าง คราวนี้หละเราจะทำยังไงต่อเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเราเองเป็นคนที่ดีขึ้น เพื่อต่อยอดให้เราก้าวข้ามบันไดที่จะนำเราไปสู่การประสบความสำเร็จได้ครับ
To be Continued…
#BookReview #รีวิวหนังสือ #สิงห์นักอ่าน
ป.ล. ถ้าไม่อยากพลาดการติดตามการรีวิวหนังสือดี ๆ แบบละเอียดยิบ ฝากกด Like กดติดตามเพจ รวมถึงยังติดตามได้อีกหนึ่งช่องทางใน facebook - facebook.com/TheCrazyBookReader
โฆษณา