10 เม.ย. 2021 เวลา 01:29 • หุ้น & เศรษฐกิจ
กบช.คืออะไร❓
ทำไมมนุษย์เงินเดือนควรรู้
1
กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ กองทุนเงินล้านสำหรับคนทำงานประจำ
1
หลักประกันแห่งอนาคตรองรับสังคมผู้สูงอายุ
..
หากคุณไม่ได้เป็นข้าราชการ แต่ทำงานบริษัทเอกชน
สมมติว่ามีทางเลือกให้คุณออมเงิน แล้วตอนเกษียณอายุ 60 ปี คุณมีเงินบำนาญเดือนละ 50% ของเงินเดือน ๆ สุดท้าย...
คุณจะเอาไหม❓
ถ้าตอนเกษียณคุณเงินเดือน 40,000 คุณก็ได้รับบำนาญเดือนละ 20,000 ทุก ๆ เดือนไปอีก 20 ปีแบบนี้ดีไหม ?
รู้สึกอุ่นใจมากขึ้นรึเปล่า ?
สิ่งที่ผมเขียนด้านบน ไม่ได้เอามาจากไหนครับแต่มันคือแนวคิดที่มาของการตั้งกองทุนใหม่ล่าสุดที่ภาครัฐกำลังจัดตั้งขึ้น โดยกองทุนนี้มีชื่อว่า...
กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ
หรือเรียกย่อ ๆ ว่ากองทุน กบช.
...
จากสถานการณ์โครงสร้างประชากรไทยที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คล้าย ๆ กับหลายประเทศอย่างญี่ปุ่น เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลีและเกาหลีใต้
แต่ความแตกต่างของประเทศเรากับประเทศอื่น ๆ ที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเช่นเดียวกัน ในแง่เศรษฐกิจก็คือเรื่อง"เงินออม"
ไทยเรามีอัตราการออมต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศเหล่านั้น
ดังนั้นปัญหาที่เรากำลังจะประสบในเวลาอันใกล้ก็คือปัญหาที่เรียกว่า"ทั้งแก่ ทั้งจน"
2
ปัญหาจนยามแก่ เพราะไม่มีเงินเก็บ จะสร้างภาระทางสังคมแก่ภาครัฐที่ต้องจัดสรรงบประมาณมารองรับสวัสดิการทางสังคมให้แก่ผู้สูงวัยจำนวนมาก
การที่เราต้องใช้เงินจำนวนนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ มันเป็นการลดทอนศักยภาพการพัฒนาด้านอื่น ๆ ลง เพราะงบประมาณเรามีจำกัด
จากปัญหานี้ ภาครัฐจึงจำเป็นต้องออกกฏหมายขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่เรียกว่า"การบังคับออม"หรือ"การออมภาคบังคับ"
...
สำหรับคนที่เป็นข้าราชการ ทุกคนต่างทราบกันดีว่าสวัสดิการเมื่อยามเกษียณก็คือ เงินบำเหน็จหรือบำนาญ
ส่วนคนทำงานบริษัท ห้างร้าน โรงงาน ลูกจ้างเอกชนหรือองค์กรของรัฐ ทางเลือกที่จะสร้างหลักประกันในยามเกษียณได้ก็คือการสมัครกองทุนที่ชื่อว่า"กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ"
1
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นั้นตั้งขึ้นมาก็เพื่อช่วยให้แรงงานในระบบมีโอกาสสร้างระบบบำเหน็จ บำนาญในอนาคตของตัวเอง ผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรูปแบบต่าง ๆ
...คำถามคือ...
ในเมื่อแรงงานเอกชน มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่แล้ว ทำไมต้องตั้งกองทุนใหม่ ที่ชื่อว่า กบช.ด้วยเล่า❓
..
1
สาเหตุที่ต้องตั้งกองทุน กบช.ขึ้นมาก็เพราะว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นกองทุนภาคสมัครใจ แต่กองทุน กบช. มันเป็นกองทุนภาคบังคับ...☝️
..
บังคับให้ออม ไงครับ
เกษียณไป จะได้ไม่จน
..
สาระสำคัญของกองทุน กบช. แบบย่อ ๆ ก็คือ
🐖หลังกฏหมายมีผลบังคับใช้ ในระยะเวลา 5 ปี ทุกบริษัทและองค์กรที่พนักงานไม่เป็นข้าราชการ ทุกคนต้องเข้าสู่กองทุน กบช. ทั้งหมด
🐖ผู้ที่สมัครกองทุน กบช. ต้องไม่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใด ๆ
🐖เงินสมทบจะหักจากเงินเดือนที่ ร้อยละ 3 - 10 ตามระยะเวลาการทำงานของแต่ละคน โดยมีเพดานเงินเดือนสูงสุดที่จะนำมาคำนวณอยู่ที่ 60,000 บาท
กรณีลูกจ้างที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท จะยังไม่ต้องส่งเงินสมทบ จะเรียกเก็บเฉพาะส่วนของนายจ้างเท่านั้น
🐖เงินสบทบจะเป็นของลูกจ้าง 1 ส่วนและเป็นของนายจ้างสมทบอีก 1 ส่วน
🐖ลูกจ้างจะได้รับเงินจากกองทุนเมื่อเกษียณอายุ 60 ปี โดยสามารถเลือกรับเป็นเงินบำเหน็จ(เงินก้อน)หรือรับเป็นบำนาญ(เงินจ่ายรายเดือน)เป็นเวลา 20 ปี
1
🐖หากลูกจ้างเกิดเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ต้องการเงินสะสมในกองทุนมาใช้ก่อน สามารถเบิกมาใช้ได้ตามยอดสะสมที่มี
🐖เงินกองทุนดังกล่าวจะบริหารงานโดยผู้บริหารกองทุนที่ถูกแต่งตั้งขึ้นตามกฏหมาย
จากการคำนวณคร่าว ๆ ที่ทางกระทรวงการคลังได้ให้ตัวเลขไว้ด้วยอัตราการออมที่สูงถึง 10% บวกกับเงินสมทบอีก 10% จากนายจ้าง เมื่อรวมระยะเวลาการออมจนกว่าจะเกษียณ จะทำให้ลูกจ้างมีเงินสะสมสูงถึงหลักล้านบาทในกรณีรับเป็นเงินบำเหน็จและมีอัตราบำนาญสูงกว่า 50%ของเงินเดือนขั้นสุดท้ายขึ้นไป
ซึ่งคาดว่าตัวเงินขนาดนี้ เพียงพอที่จะสร้างความมั่นคงในวัยเกษียณได้พอสมควรเลยทีเดียว
...
ทั้งหมดนี้เป็นหลักการคร่าว ๆ ที่ทางกระทรวงการคลังชี้แจงออกมา ตอนนี้กฏหมายยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกฤษฎีกา ก่อนที่จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการเร็ว ๆ นี้
...
การออมถือเป็นสิ่งสำคัญของการสร้างหลักประกันในยามชราของทุกคน
ไม่ว่าจะเป็นการออมด้วยตัวเองหรือการบังคับออม ผลสุดท้าย
คนที่ได้ประโยชน์คือตัวคุณเองและครอบครัวในอนาคต...
ออมไว้ ไม่เสียของ....เชื่อผมสิ😁✌️
..
ติดตามอ่านบทความได้ที่
โฆษณา