10 เม.ย. 2021 เวลา 07:30 • ประวัติศาสตร์
"อังรีดูนังต์​ ที่มาชื่อถนนแปลกๆแถวจุฬา
จากนักธุรกิจ​ สู่นักมนุษยธรรมผู้ยิ่งใหญ่"
มีใครเคยผ่านถนนอังรีดูนังต์ไหมคะ​
ถนนที่มีชื่อแปลกๆ​ ไม่แน่ใจว่าเป็นภาษาอะไร
เวลาผ่านถนนเส้นนี้เพื่อจะไปสยาม​ทีไร
ก็มักจะตั้งคำถามทุกที​
ด้วยความอยากรู้เลยไปหาข้อมูลมา
เผื่อมาเขียนให้ทุกคนอ่านกันด้วยค่ะ 😁
ภาพจากเว็บ wikipedia อ็องรี ดูน็องต์
Henry​ Dunant คือชื่อในภาษาฝรั่งเศส
ที่มักอ่านออกเสียงว่า​ อ็องรีดูน็องต์
ดูน็องต์​ เป็นนักธุรกิจชาวสวิส
ที่เกิดมาในครอบครัวฐานะดี​ ในเมืองเจนีวา
อยู่มาวันหนึ่ง​ ดูน็ิองต์​
ตั้งใจจะสร้างโรงสีข้าวสาลีในแอลจีเรีย​
ซึ่งในตอนนั้นเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
แต่ติดที่ดูน็องต์ไม่มีสัมปทาน​
จึงต้องดั้นด้นไปหา​ จักรพรรดินโปเลียนที่ 3​
กษัตริย์ในขณะนั้น​ของฝรั่งเศส​ เพื่อขอสัมปทาน
แต่นโปเลียน​เป็นกษัตริย์ที่ค่อนข้างจะคลั่งรบ
เลยไม่ค่อยจะอยู่วัง​เท่าไรนัก
นโปเลียนกำลังติดพันการรบ​กับกองทัพออสเตรีย
ในเมือง​ ซอลเฟริโน อิตาลี​ อยู่
ถ้า​ ดูน็องต์​ จะรอก็คงจะไม่ได้สร้างโรงสีแน่ๆ
เพราะออกรบทีก็กินเวลานาน​
เลยเลือกที่จะไปหา​ นโปเลียนที่สนามรบแทน
ธุรกิจคิดได้ต้องทำเลยอ่ะเนอะ​ 😁
แต่นั่นคือจุดเปลี่ยนของ ดูน็องต์​ ตลอดกาล
เมื่อดูน็องต์ไปถึงสนามรบ​
ก็เป็นช่วงท้ายๆของสงครามแล้ว
ภาพที่เค้าเห็นคือคนนับหมื่นที่ถ้าไม่เจ็บหนัก
ก็กลายเป็นศพไปแล้ว...
ดูน็องต์​ รับไม่ได้​ที่ไม่มีใคร​หรือหน่วยงานใด
รับผิดชอบ​ และช่วยเหลือคนพวกนี้เลย
จากการเดินทางเพื่อธุรกิจ​
กลายเป็นการมาเพื่อช่วยเหลือคนซะอย่างนั้น
เขาได้เปลี่ยนโบสถ์แถวนั้น​
ให้เป็นโรงพยาบาลชั่วคราว​
รวบรวมชาวบ้านแถวนั้นมาช่วยกัน
ปฐมพยาบาลคนเจ็บโดยไม่เลือกฝ่าย
เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เขาสะเทือนใจมาก
จนต้องนำไปเขียนหนังสือ โดยออกเงินค่่าตีพิมพ์้เอง
"ความทรงจำแห่งซอลเฟริโน่"
ภาพจากเว็บ khunmaebook.com หนังสืิอฉบับแปลไทย
คือหนังสือที่ดูน็องต์เขียน
ประเด็นหลักคือเขาเรียกร้อง
ให้มีองค์กรอะไรสักอย่าง​ ทำหน้าที่บรรเทาทุกข์
ทหาร​ หรือ​ พลเรือน​ที่บาดเจ็บในสงคราม
โดยไม่เลือกฝั่ง
เวลาต่อมา​ ดูน็องต์​ ร่วมมือกับเพื่อน​ 4คน
จัดตั้ง​คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศขึ้น
ในปี​ 1863
แต่ก็ยังมีปัญหาเกิดขึ้นเพราะแต่ละประเทศ
ไม่เห็นตรงกัน​ว่าหน่วยงานนี้
เป็นหน่วยงานที่เป็นกลาง​ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
ก็ส่งคนเข้าไปช่วยไม่ได้อยู่ดี
จนต่อมาต้องมีกฎหมาย​ระหว่างประเทศ
ว่าด้วยเรื่อง​ การปฏิบัติต่อทหารที่บาดเจ็บ
ซึ่งก็นำ​มาสู่การเกิด อนุสัญญาเจนีวาฉบับแรก
ในปี​ 1864
แค่​ 1ปีถัดมา​เท่านั้นเอง.. ถือว่าทำงานได้รวดเร็วมาก
มาถึงตรงนี้​ คุณคงคิดว่า​ ดูน็องต์​ ต้องมีชีวิตที่ดี
ผู้คนสรรเสริญ​ แซ่ซ้อง​ และร่ำรวยแน่ๆ
แต่กลับเป็นตรงกันข้ามเลย...
ธุรกิจของ​ ดูน็องต์​ เจ๊ง​ (ก็น่าจะอย่างนั้นเพราะแกดูเหมือนจะเลิกคิดถึงธุรกิจไปเลย)​ หนี้ท่วมหัว
และยังถูกศาลตัดสินเป็นบุคคลล้มละลายในปี​ 1867
หลังจากนั้น​ เขาลาออกจากคณะกรรมการกาชาด
และกลายเป็นคนไร้บ้าน​
ถึงชีวิตจะตกอับขนาดไหน​
แต่เขาก็ยังไม่หยุดช่วยเหลือคนอื่นอยู่เสมอ
ในปี 1870 สงครามระหว่าง ปรัสเซีย กับ ฝรั่งเศส
ดูน็องต์ก็เข้าไปช่วยคนบาดเจ็บอีกครั้ง
และเขายังเป็นผู้เริ่มใช้สายรัดแขน
เพื่อระบุตัวผู้ตายด้วย
หลักจากนั้น​ ดูน็องต์​ ก็เร่ร่อนไปเรื่อยๆ​
ตามประเทศต่างๆ​ จนคนเริ่มลืมแกไปแล้ว
จนปี​ 1895 มีนักข่าวไปเจอแกที่​ เมืองไฮเดน
สวิสเซอร์แลนด์​ เลยเขียนบทความเกี่ยวกับแกขึ้นมา
บทความนี้ทำให้คนรู้ว่า​ อ้าว!! แกยังไม่ตายนี่นา
และทำให้​ ดูน็องต์​ กลับมาได้รับการยกย่องอีกครั้ง
ดูน็องต์​ ได้รับรางวัล​โนเบล​ สาขาสันติภาพ​ในปี​1901
เล่ามาถึงตรงนี้..
ทุกคนคงคิดว่าเขาน่าจะมีชีวิตดีขึ้นแล้วใช่ป่าว?
แต่ป่าวนะ​ ดูน็ิองต์​ ไม่ได้ร่ำรวยขึ้นมา
เพราะแกไม่แตะเงินรางวัลเลย..
เขาใช้ชีวิตบั้นปลายในบ้านพักคนชรา
จนเสียชีวิตในปี​ 1910
เงินที่เขามีก็ถูกบริจาคให้กับองค์กรการกุศล
และบ้านพักคนชราที่เขาอยู่ในบั้นปลายชีวิต
ภาพจากเว็บ wikipedia อ็องรีดูน็องต์ในวัยชรา
ด้วยความประสงค์ของดูน็องต์​ เขาไม่ให้จัดงานพิธี
หรือไว้อาลัยใดๆ​ ให้ศพถูกนำไปฝังเหมือนกับหมา
ใช่!! เขาบอกอย่างนั้นจริงๆ
และถนนอังรีดูนังต์​ แถวๆจุฬา
ก็มาจากชื่อ​ของเขาเนี่ยแหละ
ในการครบรอบ100ปี​
ของการก่อตั้งสภากาชาดระหว่างประเทศ
ทางองค์กรเสนอให้ประเทศสมาชิก
ทำอนุสรณ์อะไรขึ้นมาสักอย่าง
และนี่แหละที่มา!!
ที่ไทยเปลี่ยนชื่อถนนสนามม้า​ เป็น​ อังรีดูนังต์​ ในปี1965
เพราะถนนเส้นนี้มีสภากาชาดไทยตั้งอยู่
ถนนอังรีดูนังต์เป็นถนน ระหว่างสนามม้า และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดูน็องต์​ ถึง​​​​จะมีชีวิตที่น่าสงสาร​ และคนไม่ค่อยคุ้นหู
แต่เขาเป็นนักมนุษยธรรมที่น่ายกย่องที่สุด
ครั้งหน้าถ้าผ่านถนนอังรีดูนังต์​
อย่าลืมคิดถึงสิ่งที่​ ดูน็องต์​ ทำไว้
เพื่อเพื่อนมนุษย์ทุกคนด้วยนะคะ❤️
ขอบคุณข้อมูลจาก
โฆษณา