10 เม.ย. 2021 เวลา 01:29 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ฟองสบู่ตลาดหุ้นโลกใกล้แตกหรือยัง?
1
ณ ตอนที่ผมเขียนบทความนี้อยู่ ดัชนี Dow Jones ปิดทำการอยู่ที่ระดับ 33,800.06 จุด S&P 500 ปิดที่ระดับ 4,128.80 จุด อยู่ในจุดที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่จัดตั้งดัชนีขึ้นมา
การทะยานตัวขึ้นมาของดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯในรอบนี้ ต่างจากการบูมของตลาดหุ้นในช่วงปีที่แล้วที่ตอนนั้นพระเอกของรอบคือ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งได้แรงซื้อในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 กำลังระบาด และทำให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ Internet Platform กันมากขึ้น
ทำให้ NASDAQ บวกขึ้นมาแล้วมากกว่า 100% นับตั้งแต่ดัชนีเจอจุดต่ำสุดเมื่อปลายเดือนมี.ค. ปีที่แล้ว
2
ขณะที่ดัชนี S&P 500 ถ้าจะนับจากช่วงเดียวกัน กลับบวกขึ้นมาได้เพียง 82% โดยหลักๆ เกินกว่า 12% เป็นการบวกนับตั้งแต่ต้นปี 2021 ขณะที่ฝั่ง NASDAQ นั้น นับตั้งแต่ต้นปีนี้ บวกได้ 8% (Underperform นิดๆ)
ปัจจัยที่ทำให้หุ้นกลุ่มเทค (มองผ่านดัชนี NASDAQ) ในปีนี้ดูจะแพ้ S&P 500 อยู่หน่อยๆก็เพราะ เจ้าตัวที่เรียกว่า “Bond Yield”
นับตั้งแต่คุณลุงโจ ไบเดน เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิปดีสหรัฐฯ ก็เล่นใหญ่มาตลอด ตามนโยบาย American Rescue Plan ไม่ว่าจะเป็นมาตรการเยียวยาจากวิกฤต COVID-19 วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ผ่านเป็นกม.ไปแล้ว)
2
รวมไปถึงแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Plan) ซึ่งลุงโจเพิ่มแย้มๆบอกเราเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยขนาดวงเงินมากกว่า 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (น่าจะเป็นร่างกม.เสร็จภายในเดือนเม.ย.นี้)
1
ยังไม่นับรวมกับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะยาว 10 ปี ตามที่เคยได้หาเสียงไว้เมื่อปีที่แล้วด้วยขนาดวงเงิน 11 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ !!
1
เนื่องจาก Private Sector ยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มประสิทธิภาพนัก ประกอบกับอัตราการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับที่สูง รัฐบาลสหรัฐฯจึงต้องหยิบแผนกระตุ้นเบอร์ใหญ่ขนาดนี้มาแทน
และเพราะมันต้องการวงเงินการลงทุนจำนวนมหาศาล สิ่งที่ตลาดกังวลตามมาก็คือ “อัตราเงินเฟ้อ” ซึ่งเมื่อตลาดเชื่อว่าเงินเฟ้อจะมา มันเลยไปกระทบชิ่งทำให้นักลงทุนมีการเทขายพันธบัตรสหรัฐฯอายุยาวๆ ส่งผลให้ Bond Yield หรือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง
1
โดย Bond Yield 10Y ขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ 1.75% ก่อนย่อลงมาตรงนี้ที่ 1.66% แต่ก็ยังถือว่าสูงกว่าวันเลือกตั้งสหรัฐฯปีที่แล้วที่อยู่แค่ 0.76% ค่อนข้างมากทีเดียว
1
ตัว Bond Yield นี้เอง ซึ่งถือเป็น Risk Free Rate ในการคำนวนหา Valuation ของราคาหุ้นในตลาด เมื่อมันปรับตัวขึ้น Cost of Capital ที่สูงขึ้น มันเลยทำให้หุ้นเทคฯ รวมถึงหุ้นสไตล์ Growth Play มีมูลค่าทางปัจจัยพื้นฐานสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งๆที่จริงๆ มันก็ขึ้นมาแพงอยู่ก่อนแล้ว
แรงขายหุ้นกลุ่ม Growth Play ซึ่งกระจุกอยู่ในหุ้นเทคโนโลยีเป็นส่วนใหญ่ จึงเกิดขึ้นนับตั้งแต่กลางเดือนก.พ.ที่ผ่านมา
1
แล้วตลาดหุ้นโลกจะเป็นอย่างไรต่อหลังจากนี้?
1
มีตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่น่าสนใจ ในการตรวจสอบตลาดหุ้นว่าแพงไปหรือยัง ฟองสบู่กำลังจะแตกหรือเปล่า? นั่นก็คือ Buffett Indicator
ซึ่งวิธีคำนวนของดัชนีตัวนี้ ก็ไม่ได้ยากอะไร วิธีก็คือ นำเอามูลค่าตลาด (market capitalization) มาหารกับ GDP ของสหรัฐฯ หรือ เรียกง่ายๆก็คือ Market-cap-to-GDP ratio
ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปก่อนเกิดวิกฤตดอทคอมปี 2000 ดัชนี Buffett Indicator ขึ้นไปถึง 71% แล้วก็ตามมาด้วยฟองสบู่ดอทคอมแตกไม่นานหลังจากนั้น
1
มาวันนี้ Buffett Indicator เทรดอยู่ที่ 88% สูงกว่าช่วงวิกฤตดอทคอมไปเรียบร้อย ดังนั้น มันก็น่ากังวลอยู่พอสมควรนะว่า นับจากนี้ไป ตลาดหุ้นมันยังเหลือ Upside ให้ไปได้อีกไกลแค่ไหน?
6
ไม่ใช่แค่สัญญาณจาก Buffett Indicator เท่านั้นที่เตือนเราตอนนี้
สิ้นเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา ปู่เรย์ ดาลิโอ ผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ชื่อ Bridgewater Associates ให้สัมภาษณ์กับทาง Yahoo Finance ว่า ตอนนี้ตลาดหุ้นกำลังก่อฟองสบู่มาได้ "ครึ่งทาง" ภาพคล้ายๆกับภาพการปรับฐานวิกฤต Dotcom และ Great Depression
4
โดยให้ความเห็นว่า หุ้นที่มีผลตอบแทนสูงๆหลายๆตัวได้รับประโยชน์จากการซื้อขายเก็งกำไร สภาพคล่องที่ล้นระบบอยู่ตอนนี้และเริ่มมีการไหลของเม็ดเงิยลงทุนย้ายไปยังหุ้นที่ไม่ได้รับประโยชน์ดังกล่าว แต่ราคาก็ปรับตัวขึ้นมารวดเร็วไม่แพ้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
3
ซึ่งปู่เรย์ ก็ได้เตือนว่า สภาวะตลาดในอดีตที่เริ่มเห็นการเทรดหรือการลงทุนใดๆที่ไม่ให้น้ำหนักกับปัจจัยด้านราคาความถูกแพง เมื่อนั้นเอง มันกำลังเป็นสัญญาณของฟองสบู่ว่าใกล้จะแตกแล้วหรือเปล่า
3
ด้านคุณไมเคิล เบอร์รี นักลงทุนชาวอเมริกันผู้สร้างชื่อเสียงจากการทำกำไรมหาศาลจากการคาดการณ์วิกฤตซัลไพรม์ปี 2008 ได้ถูกต้องจนมีการเอาไปสร้างเป็นภาพยนต์เรื่อง Big Short ก็ได้ออกมาเตือนผ่าน Twitter Account ของตัวเองมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงเมื่อเดือนก.พ. ที่ผ่านมาว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯกำลังอยู่ในจุดที่เป็นอันตรายที่จะเกิดการปรับฐานรุนแรง รวมถึงตลาดฝั่ง Cryptocurrency ด้วย ก่อนที่จะลบข้อความของตัวเองทั้งหมดทิ้งในเวลาต่อมา
3
ล่าสุด เมื่อวันที่ 6 เม.ย. มีคนไปลอง search Twitter Account ของไมเคิลดู พบว่า ถูกลบเป็นทีเรียบร้อยแล้ว
เราก็ต้องมาดูกันต่อว่า ที่แกทำนายไว้ จะแม่นยำเหมือนกับตอนวิกฤตซับไพรม์ปี 2008 หรือเปล่า
1
Bear Camp ไม่ได้มีแค่นี้ ฝั่งที่เป็นนักวิเคราะห์อยู่กับสภาบันการเงิน ก็มีเช่นเดียวกัน
1
Chief U.S. equity strategist จากซิตี้กรุ๊ป ได้ออก Research Paper มาเมื่อวันพุธว่า ตลาดหุ้นตอนนี้ไม่มีความน่าสนใจในการลงทุนเลย มันชวนให้นึกถึงภาพตลาดก่อนฟองสบู่แตกในปี 2000 ยังไงก็ไม่รู้
1
โดยมีการเปิดเผยตัวเลขดัชนี Panic/Euphoria sentiment indicator และอัตราส่วน S&P 500 market cap to sales ratio พบว่า อยู่ในระดับจุดที่สูงกว่าวิกฤตเดิมๆไปไกลมากแล้ว รวมถึงแสดงความกังวลว่า นักลงทุนในตลาด ณ ตอนนี้ ให้น้ำหนักน้อยกว่าความเป็นจริงกับโอกาสที่ ปธน.โจ ไบเดน จะเก็บภาษีเพิ่มขึ้นแน่ๆ ซึ่งนโยบายนี้จะส่งผลกระทบต่อกำไรของบริษัทจดทะเบียนอย่างมกา และทำให้ตลาดมีโอกาสปรับฐานได้รุนแรง
2
อ่านมาจนถึงตอนนี้ เราก็อาจจะเริ่มกลัวขึ้นมาแล้วว่า เฮ้ย! หรือว่า ฟองสบู่กำลังจะแตกจริงๆ?
1
งั้นมาอ่านมุมมองของฝั่ง Bull Camp กันบ้างนะครับ
1
คนแรกคือคุณจิมมี่ ไดมอน CEO ของ JPMorgan เพิ่งเขียนจดหมายให้นักลงทุนและถูกเปิดเผยเมื่อคืนวันพุธที่ผ่านมา โดยเขาเชื่อว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯยังมีโอกาสเติบโตไปได้ถึงปี 2023
3
เหตุผลที่ CEO แห่ง JPMorgan ให้ไว้ ก็คือ ขนาดของการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มหาศาล และการแจกเงินเข้ากระเป๋าประชาชนโดยตรง ทำให้ประชาชนที่เคยมีหนี้ในระดับสูงสามารถลดภาระหนี้ลงแตะสัดส่วนที่ต่ำสุดในรอบ 40 ปี ทำให้มีอุปสงส์ต่อการบริโภคตามมาแน่นอนหากกระบวนการฉีดวัคซีนเสร็จสิ้น
3
ขณะที่ โครงการ QE ก็ทำให้มีเงินฝากในระบบธนาคารมากกว่า $3 Billion ซึ่งทำให้ธนาคารสามารถปล่อยกู้และเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่อง ตราบใดที่เฟดยังใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายแบบนี้ไปเรื่อยๆ
2
ฝั่ง Double “J” คือ คุณเจอโรม พาวเวล และ คุณเจเนต เยลเลน ให้ความเห็นต่อ House Financial Services Committee เมื่อปลายเดือนมี.ค. ให้ความเห็นตรงกันว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ณ ระดับปัจจุบัน มูลค่าอาจจะดูแพงในบางกลุ่มหรือหุ้นบางตัวจริง แต่ก็เป็นหน้าที่ของผู้กำหนดนโยบายที่จะเข้าไปดูแลเสถียรภาพของตลาดในระยะยาว ซี่งในตอนนี้ถือว่า ยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง
2
ส่วนประธานเฟด คุณเจอโรม พาวเวล กล่าวว่า เฟดยังไม่ได้เริ่มหารือว่าจะเริ่มลดการซื้อสินทรัพย์รายเดือนที่ใช้เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจเมื่อไหร่ และจากรายงานการประชุมเฟดที่เพิ่งเปิดเผยออกมา คณะกรรมการส่วนใหญ่ก็เชื่อว่า กว่าที่เฟดจะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยได้ก็คือ ปี 2023 เลย
4
อีกคนที่มองมุมบวกต่อตลาดหุ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็คือ ศาสตราจารย์เจอเรอมี ซีกาล จากมหาวิทยาลัย Wharton มองว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะวิ่งต่ออย่างน้อยๆก็จนถึงสิ้นปี 2021 นี้
โดยศาสตราจารย์ให้ความเห็นว่า ตลาดหุ้นมี Upside จากจุดนี้อีก 30%-40% ก่อนจะมีการปรับฐานซัก 20% เกิดขึ้น และการปรับฐาน ถ้าจะเกิดขึ้น ก็น่าจะเกิดขึ้นเพราะเฟดถอนคันเร่ง จะลอการทำ QE หรือ เมื่อมีสัญญาณว่าจะต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสู้กับสัญญาณเงินเฟ้อหากเกิดขึ้นหลังจากนี้ โดยแกคาดการณ์ว่า เงินเฟ้ออาจพุ่งแรงกว่าที่เฟดคาดการณ์ไว้ได้อยู่ที่ระดับ 4%-5% ทีเดียว
2
ในส่วนของข้อมูลทางด้านตัวเลขสถิติที่น่าสนใจ ก็มีอีกตัวที่อยากให้ดู ก็คือ Shiller PE Ratio คำนวนโดยการเอาราคาตลาด หรือ Price หารด้วยกำไรต่อหุ้น หรือ EPS แต่ไม่ใช่แค่ปีเดียว มองเฉลี่ยย้อนหลังไปถึง 10 ปี
สาเหตุที่ Shiller PE Ratio ต้องหารด้วยกำไรย้อนหลัง 10 ปี เพราะระยะเวลา 10 ปีมันน่าจะครอบคลุม 1 รอบ Business Cycle แล้ว กำไรน่าจะนิ่งพอ
จะพบว่า ตอนนี้ Shiller PE Ratio อยู่ที่ 37.09x ถามว่าสูงไหม ก็สูงกว่าวิกฤตรอบอื่นๆ แต่หากเทียบกับตอนวิกฤตซับไพรม์ปี 2008 ซึ่งพุ่งขึ้นไปเกือยแตะระดับ 45x แล้วก็ยังนับว่าห่างอยู่
แต่เห็นค่านี้แล้ว นักลงทุนอาจจะยิ่งไม่ Comfort เพราะมันดูเหมือนแพงมากนะเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นรอบอื่นๆที่ไม่ใช่ช่วง Dotcom
งั้นมาดูความเห็นคนดังในโลกการลงทุนอีกหนึ่งคนกันครับ
เมื่อคืนวันอังคารที่ผ่านมา คุณอีลอน มัสก์ CEO ของ Tesla ได้ทวีตถามความเห็นคุณแคที วู้ด CEO ของ ARK Invest ว่า "What do you think of the unusually high ratio of S&P market cap to GDP?" แปลไทยก็คือ คุณคิดว่ายังไงที่ Buffett Indicator มันสูงอยู่อย่างที่เราเห็นในตอนนี้?
1
มาดามแคที ตอบไว้น่าสนใจมากครับว่า GDP นั้นไม่ได้สะท้อนถึงการเติบโตของเศรษฐกิจได้ดีในปัจจุบัน เพราะมันไม่ได้คำนึงถึงผลผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอยู่ตอนนี้และในอนาคต ซึ่งกำลังผลักดันระดับราคาสินค้าในภาพรวมลดลง และทำให้ความต้องการเชื้อเพลิงตามไปด้วย
3
และมาดามยังตอบต่ออีกว่า "ในตอนเกิดวิกฤต Dotcom นั้น นักลงทุนไล่ตามความฝันก่อนที่เทคโนโลยีจะพร้อม และมันล่มสลายไปก็เพราะต้นทุนที่สูงเกินไปในขณะนั้น" โดยมาดามกล่าวเสริมอีกว่า "หลังจากเริ่มต้นใหม่ได้ 20-30 ปีความฝันก็กลายเป็นความจริง ณ วันนี้”
1
น่าสนใจครับว่า เราควรใช้ Framework ในการลงทุนแบบเดิมที่มันเคยเวิร์คในอดีต หรือ จริงๆแล้ว สถานการณ์โควิด-19 มันเร่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไปแล้วจริงๆ
4
ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง ขนาดแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือเป็น การเกิดขึ้นมาของเทคโนโลยีที่หลากหลายและรวดเร็ว การท้าทายอำนาจเก่าของสหรัฐฯจาก Cryptocurrency อย่าง Bitcoin ที่หวังจะเป็นตัวเลือกสำหรับคนที่ไม่อยากถือดอลล่าร์ หรือ จากเบอร์สองของโลกอย่างจีนที่กำลังจะก้าวมามี GDP ใหญ่ที่สุดในโลกภายในไม่เกิน 10 ปี หลังจากนี้
2
ยังไม่รวมถึง โลกกำลังเข้าสู่ยุค Aging Society ซึ่งผู้สูงอายุมีแนวโน้มจะใช้จ่ายชะลอลงหลังจากที่ตัวเองไม่มีรายได้เหมือนเดิม
ส่วนความเห็นส่วนตัวของผม คือ Go with The Flow ไปครับ พร้อมจัด Asset Allocation กระจายความเสี่ยงให้ดี ไม่มีใครรู้อนาคตอย่างแน่นอน เราต้องพร้อมทุกสถานการณ์
6
Mr.Messenger รายงาน
โฆษณา