Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คนสร้างตัว
•
ติดตาม
10 เม.ย. 2021 เวลา 07:00 • ความคิดเห็น
วันที่ 1 เมษายน พิเศษตรงไหน
อ้างอิงภาพ http://www.quoteszoomin.com/2018/03/april-fools-day-pictures-funny.html
วันที่ 1 เมษายน หรือที่เรียกกันว่า "วันเมษาหน้าโง่"(April fool's day) เป็นที่รู้กันว่าเป็นวันที่ผู้คนต่างยอมรับการโกหกซึ่งกันและกัน โดยมีเงื่อนไขอย่างน้อยข้อหนึ่งคือ ต้องเป็นการโกหกที่ผู้ถูกหลอกนั้นรู้สึกสนุกไปด้วย แต่ถึงกระนั้น แม้ผู้ถูกโกหกจะไม่รู้สึกสนุกร่วมไปด้วยก็ตาม สิ่งที่จะได้รับก็มีเพียง การโดนหัวเราะเยาะในฐานะคนโง่ที่ดันไปเชื่อจริงจังจนเกินเหตุ
การโกหกนั้นหลายคนอาจมองว่าเป็นการกระทำที่ไม่สมควร นั่นเพราะมันอาจนำมาซึ่งผลร้าย ตั้งแต่การเข้าใจผิดเล็กน้อย หรืออาจถึงขั้นที่ก่อความเสียหายรุนแรงได้
อ้างอิงภาพ https://www.theartofdoingstuff.com/11-easy-april-fools-day-pranks/
แต่กระนั้นยังมีสิ่งที่เรียกกันว่า"white lies"ซึ่งใช้เรียกการโกหกเพื่อให้สิ่งต่างๆดีขึ้น หรืออย่างน้อยก็ไม่แย่ลง อย่างเช่น การโกหกผู้ป่วยว่าเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงมากนัก ทั้งที่โรคที่เป็นอยู่นั้นยังไม่สามารถรักษาให้หายได้
การโกหกเช่นนี้มักถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ทำเพื่อผู้อื่นและสามารถยอมรับได้ แต่ทว่า หากเราโกหกแล้วเราก็ย่อมต้องโกหกอยู่ร่ำไป เพียงเพื่อไม่ให้ภาพลวงตาที่เราสร้างขึ้นต้องพังทลายลง
แต่ถึงกระนั้น เรานั้นไม่สามารถปกปิดได้ตลอดไป ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยอื่นๆหรือด้วยพลวัตภายใน"คำโกหก"เองก็ตาม สุดท้ายแล้วความจริงนั้นยอมต้องมาถึงในสักวันหนึ่ง แม้บางกรณีความจริงนั้นอาจมาถึงในวันที่สายไป แต่หากต้องรับรู้ในวันใดวันหนึ่งแล้ว การบอกความจริงตั้งแต่แรกเลยจะส่งผลดีกว่าหรือไม่ เพราะอย่างน้อยที่สุดก็จะไม่กระทบต่อความน่าเชื่อถือที่ตนได้รับ
อย่างไรก็ตาม เราอาจแย้งได้ว่าการโกหกเช่นนั้นเป็นไปเพื่อให้สามารถทำใจยอมรับได้เสียก่อน ดูอย่างหลายๆกรณีที่เมื่อรับรู้แต่ต้นแล้วยอมรับความจริงไม่ได้ เทียบกับหลายกรณีที่เมื่อบอกความจริงภายหลังแล้วสามารถยอมรับได้อย่าง"ค่อนข้างสงบ"
แต่ทว่า การเปรียบเทียบนี้ไม่อาจนับว่าสมบูรณ์นัก นั่นเพราะการโกหกแบบ"white lies"จากผู้อื่นนั้น มักกระทำโดยการ"คาดคะเน"ถึงสภาพจิตใจของผู้ถูกหลอก ว่าจะสามารถยอมรับได้หรือไม่ โดยใช้ฐานข้อมูลจากประสบการณ์ ถึงกระนั้นการคาดเดาก็ยังเป็นการคาดเดา
กรณีที่รับรู้ความจริงในภายหลังนั้น หากบุคคลเหล่านั้นสามารถยอมรับความจริงได้ มีความเป็นไปได้สูงที่จะสามารถยอมรับมันได้ตั้งแต่ต้น หรือมิฉะนั้นอาจยอมรับได้จากปัจจัยอื่น
ในขณะที่ผู้ที่ไม่สามารถยอมรับได้ แม้จะมาบอกในภายหลังหรือสามารถรับรู้จากปัจจัยอื่นได้ก็ตาม บุคคลเหล่านั้นยังมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถยอมรับได้และหลอกตัวเองอยู่ร่ำไป
อย่างไรก็ตาม การโกหกแบบ"white lies"นั้นไม่อาจเรียกได้อย่างเต็มปากว่าเป็นการ"ทำเพื่อผู้อื่น" อันที่จริงเราโกหกเช่นนั้นเพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้น หรือในอีกมุมคือ เราไม่ต้องการประสบสถานการณ์ที่ย่ำแย่จึงได้โกหกไป เพื่อให้ตนหลุดพ้นจากการพบเจอประสบการณ์ที่ไม่ต้องการ กล่าวได้ว่าเป็นการโกหกเพื่อตนเองไม่ต่างจากการหลอกลวงโดยทั่วไป
แต่กระนั้นการโกหกกลับได้รับการยอมรับในวันที่ 1 เมษายน และผู้ถูกโกหกถูกมองว่าเป็นคนโง่ ทั้งที่การโกหกนั้นไม่ได้รับการยอมรับในวันเวลาอื่นๆ เป็นสิ่งที่น่าคิดและชวนให้ทึ่งว่า วันดังกล่าวสามารถเปลี่ยนมุมมองทางศีลธรรมต่อ"การโกหก"ได้อย่างไร เป็นไปได้ว่าแนวคิดเรื่อง"ศีลธรรม"ในใจมนุษย์นั้นมีความสำคัญน้อยกว่าวันหนึ่งวันในช่วง 365 วัน
หรือบางทีมุมมองที่มีต่อการโกหกนั้นอาจไม่มีอยู่จริงก็ได้ วันดังกล่าวเพียงเปิดโอกาสให้ทำได้ดั่งใจปรารถนา(ในการโกหก) โดยไม่ต้องกังวลหรือคำนึงใดๆต่อผลกระทบทางจิตใจที่มีต่อผู้อื่น (เพราะเราสามารถตราหน้าคนที่ไม่สนุกด้วยว่า"คนโง่"ได้) เหมือนดั่งการเปิดโอกาสให้ฆ่าได้อย่างถูกกฎหมายใน"The Purge"
บทความนี้เขียนขึ้นเนื่องในการหวนคิดถึงวัน April fool's day ที่ผ่านมา
หากมีข้อเสนอติชม ทางผู้เขียนยินดีนำไปปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้บทความถัดไปดียิ่งขึ้น
ขอบคุณที่อ่านครับ
#คนสร้างตัว#April fool's day
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย