11 เม.ย. 2021 เวลา 06:47 • การตลาด
ไม่มีอันตรายไหนจะมากไปกว่า “ความไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้ และดันคิดว่าตัวเองรู้” —
ทั้งนักปราชญ์ ศาสดา ในอดีต จนถึงนักจิตวิทยา อย่าง Dunning และ Kruger บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า คนเรามีศักยภาพในการรับรู้ (cognition) อย่างจำกัดมาก โดยเฉพาะเรื่องของตัวเอง จากการทดลอง เรามักจะตกหลุมรักความคิดของเราเองทำให้ประเมิณความยากง่ายของงานผิด (Planning Fallacy) เข้าใจว่าสิ่งที่เราคิดอยู่มีความสำคัญ (Focus Illusion) และเห็นตัวเองเหมือนว่ามีแสงไฟส่องลงมาตลอดเวลา (Spotlight Effect) และอีกมากมาย ดังนั้นเราต้องเตือนตัวเองตลอดเวลา ว่า “ยังมีเรื่องมากมายที่เรายังไม่รู้” (ซึ่งไม่ใช่ความผิดของเรามี่ต้องอายครับ สมองของมนุษย์เราเมื่อ 75,000 ปีที่แล้วก็มีศักยภาพประมาณนี้ อีก 75,000 ต่อไปก็จะเปลี่ยนแปลงได้ไม่มาก การรู้ว่าเราไม่รู้ทุกอย่าง จึงเป็นความเข้าใจกฏของธรรมชาติครับ)
ต้นกำเนิดของงานวิจัยที่พิสูจน์ประเด็นสำคัญนี้คงไม่พ้น กรณีโจรป้นธนาคาร ท่านนึง ช่วงทศวรรษที่ 90 ที่แทนที่จะใส่หน้ากากปิดหน้าตัวเอง กลับเอาน้ำมะนาวทาทั่วหน้า ด้วย “ความมั่นใจ” ที่คุณโจรมีจากการที่รู้มาว่า “การเขียนหนังสือด้วยน้ำหมึกมะนาว (น้ำมะนาว) แล้วทิ้งไว้จนแห้ง ตัวหนังสือหรือสิ่งที่เขียนจะหายไป” ดังนั้นถ้าเอามาประยุกต์ใช้กับหน้าของเขา จะ “สามารถทำให้หน้าของเขาล่องหนได้ชั่วขณะ”
ฟังเผินๆอาจจะคิดว่าคุณโจรท่านนี้มีความผิดปรกติทางจิตใช่ไหมครับ? ซึ่งผิดถนัด เขามีความปรกติทางจิต ลักษณะทางสมอง เหมือนคนทั่วไป ระดับ IQ ยังสูงกว่าระดับปรกติเสียอีก (เขายังคิดใช้สารละลายอื่นได้ เช่น น้ำส้ม น้ำนม น้ำส้มสายชู ในการสร้างลักษณะการล่องหนของหน้านี้) ปัญหาหลักที่เกิดขึ้น คือ “ความมั่นใจเกินไป” ทำให้ข้ามขั้นการทดสอบ (การทำแบบแรก หรือที่เราเรียกกอนว่า Prototype) และนำไปใช้จริงเลย (ถ้าลองก่อนที่บ้านก็จะทราบว่าน้ำมะนาวทำให้หน้าล่องหนไม่ได้) ซึ่งถ้าเรามองรอบๆตัวเรา เราจะเห็นคนเหล่านี้เต็มไปหมด คือ ไม่รู้แต่คิดว่ารู้ และใช้ความมั่นใจในการสร้างพื้นที่ให้กับตัวเอง (อย่างน่าละอาย ในบางครั้ง)
1
ผลจากงานวิจัยนี้ มีส่วนสำคัญมากในการปรับแนวความคิดของฝ่ายจัดการกำลังคนขององค์กร อย่างเช่น HR ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจ้างคน (ทำอย่างไรจะรู้ว่าคนที่กำลังจะจ้างนั่นมีความสามารถจริงๆ หรือแค่คิดและมั่นใจว่าตัวเองเก่ง เพราะ Dunning-Kruger Effect?)
ยิ่งตอนนี้มีงานวิจัยมากมายที่สนับสนุนสมมติฐานที่ว่า เพราะ ”ความมั่นใจว่าตัวเองเก่ง” ที่เป็นมาตรฐานที่ฉาบฉวยของหลายๆองค์กรนี่เอง ที่ทำให้คนที่ไม่เก่ง (แต่ดันมั่นใจ) ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ในขณะที่คนที่มีความสามารถจริงๆ ที่มักจะไม่กล้าที่จะแสดงออกเพราะสงสัยว่าตัวเอง “รู้พอหรือยัง” ไม่ได้แสดงความมั่นในเท่าไหร่ ซึ่งก็เลยไม่ได้รับการเลื่อนขั้น ซึ่งส่งผลเสียไม่เฉพาะแค่คนเก่งคนนั้นเอง — แต่ทั้งองค์กรเลย
นอกจากนั้น HR ยังต้องเข้าใจการใช้จิตวิทยาทำให้คนในองค์กรมีทัศนคติในการพัฒนา(Growth Mindset) ซึ่งจะทำไม่ได้เลยถ้าคนเหล่านั้นยังทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้วด้วยความไม่รู้อันเป็นเหตุมาจากความสามารถในการรับรู้ที่จำกัด — แค่คิดก็เหนื่อยแทน HR แล้วครับ แต่ก็เป็นความท้าทายน่าสนุกไม่น้อยทีเดียว
โฆษณา