12 เม.ย. 2021 เวลา 05:28 • สุขภาพ
เลิกอ้วน หยุดโรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่
📍ถาม ป้าพาคะ น้ำหนักหนูเพิ่มขึ้นจาก 65 เป็น 85 กิโลกรัม และมีขนเยอะ สิวเยอะ ประจำเดือนก็ไม่ค่อยมา หนูควรทำยังไงดีคะ
🌱ม่ะ ป้าพาค้นและถามป้าหมอเพื่อนมาแล้ว..
โรคอ้วนและโรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่ ไม่รู้ว่าไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน อ้วนแล้วเป็นโรคนี้ หรือเป็นโรคนี้แล้วยิ่งอ้วน(ภาพของ Erin Hulick, Reference1-Thank you for the picture-The SUN A NEWS UK Company)
เคสตัวอย่าง
📍หนูเอริน(ชื่อจริงของคนในภาพ(1) แต่ประวัติสมมุติขึ้นมาค่ะ) มีน้ำหนักพุ่งขึ้นมาฮวบฮาบ จาก 65กก. เมื่อ 2 ปีที่แล้วเป็น 85 กก.ในปีนี้ ลดยังไงก็ไม่ลง แถมมีขนคือหนวดและขนหน้าแข้งเยอะมาก สิวก็เยอะ ประจำเดือนหายไปไม่ค่อยมา
👉เมื่อตรวจร่างกายหนูเค้า รูปร่างตั้งแต่ใต้สะดือลงไปจะใหญ่มากแบบอ้วนลงพุง ก้นกับต้นขาใหญ่เป็นพิเศษ ที่ขาหน้าแข้ง แขน ใต้วงแขนมีขนขึ้นเยอะ มีสิวที่หน้าเยอะ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ 3-4 เดือนมาที และไม่ค่อยมีอารมณ์ทางเพศ
☘️น้ำหนักตัวที่ขึ้นของหนูเอรินนี้เพิ่มขึ้นมากผิดปกติ ร่วมกับการตรวจร่างกายและประวัติประจำเดือน หนูเอรินน่าจะเป็นโรคที่เรียกว่า โรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่(Polycystic ovarian syndrome, PCOS)
👉โรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่นี้ เป็นความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อที่พบบ่อยที่สุดในทางนรีเวช พบได้ในสตรีวัยเจริญพันธุ์(อายุ 18-45 ปี)ได้ถึงร้อยละ 5-10(2)
เป็นกลุ่มอาการที่ประกอบด้วยการมีฮอร์โมนแอนโดรเจน(ฮอร์โมนเพศชาย)สูงร่วมกับภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง
📌ฮอร์โมนเพศชายที่สูงนี้ทำให้เกิดขนดก ขนขึ้นตามหน้าและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมากขึ้น ผิวหน้ามัน มีสิวมากผิดปกติ เสียงอาจเปลี่ยนได้ บางรายอาจพบมีภาวะผมบางจากแอนโดรเจนด้วย และมีบุตรยากจากการที่ไข่ไม่ตกเรื้อรัง ระยะระหว่างรอบระดูห่างมากขึ้น จนบางรายเกิดภาวะขาดระดู
1
📌เมื่อตรวจรังไข่ด้วยคลื่นเสียง(ultrasound) จะพบมีถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนมากที่รังไข่
1
📍ทำไมจึงอ้วน
คนไข้ที่เป็นโรคนี้จะมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จึงทำให้หิวบ่อยและกินจุ จนมีน้ำหนักเพิ่มและเป็นโรคอ้วนไปด้วย ที่เรียกว่า Metabolic syndrome หรือ Central obesity
👉ป้าหมอเพื่อนบอกว่า โรคอ้วนและโรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่ ไม่รู้ว่าไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน อ้วนแล้วเป็นโรคนี้ หรือเป็นโรคนี้แล้วยิ่งอ้วน ไม่นานมานี้พบว่าเกี่ยวข้องกับระดับของวิตามินดี ในร่างกายด้วย(3, 4) ซึ่งเรื่องของวิตามินดี เป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจจะได้นำมาคุยกันอีก
1
📌อย่างไรก็ตามพบว่า ถ้าผู้หญิงเราระมัดระวังไม่ให้ตัวเองอ้วน จะลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ และเมื่อคนไข้ที่เป็นโรคนี้จับมาฝึกเรื่องการลดความอ้วน พบว่าเพิ่มอัตราหายจากโรคนี้อย่างมีนัยสำคัญ(3)
❤️สำหรับเคสของเอริน(1)(ภาพปก) เธอลดน้ำหนักจาก 159 กก. เหลือ 72 กก. เธอเป็นคนไข้โรคนี้ด้วย และจากการลดน้ำหนักของเธอโดยการลดอาหารภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ทำให้สามารถพิชิตโรคนี้ได้(อ่านในอ้างอิงที่ 2: The Sun หรือจะอ่านฉบับแปลไทยแล้วใน MTHAI(5)ก็ได้ค่ะ
☘️ฝากไว้ให้คิด
- คนไข้โรคนี้ต้องพบและปรึกษาแพทย์เฉพาะทางนะลูก เพราะมักมีภาวะผิดปกติของฮอร์โมนอื่น ๆ ร่วมด้วยหลายอย่าง เช่นไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ เกิดอาการแบบนี้อ้วน และมีอารมณ์เฉื่อยชา ในขณะเดียวกันก็อาจมีฮอร์โมนบางตัวสูงผิดปกติเช่นมีฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) มากผิดปกติ ที่ก่อให้เกิดกลุ่มอาการคุชชิง (Cushing Syndrome) จึงต้องตรวจกันโดยละเอียดเพื่อแยกโรค หรือดูว่าพบมีภาวะผิดปกติของฮอร์โมนหลาย ๆ ตัวร่วมกันหรือไม่
- อาการกินจุจนอ้วน อาจเกิดจากโรคเครียด หรือโรคซึมเศร้าได้อีกด้วยค่ะ อันนี้ต้องปรึกษาจิตแพทย์นะคะลูก
- สำหรับคนเริ่มอ้วนควรไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อตรวจหาสาเหตุของการมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมาก และจะได้ประเมินถึงโรคที่มักพบเกิดตามมา เช่น ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูงด้วยค่ะ ซึ่งจะได้รักษาไปทีเดียว
📌ไม่แนะนำให้หาวิธีลดน้ำหนักเอง เพราะหากเป็นโรคบางอย่างดังที่กล่าวไว้ การควบคุมอาการและการออกกำลังกายอย่างเดียวอาจไม่ได้ผล และที่สำคัญไม่ควรซื้อยาลดน้ำหนักมาทานเองโดยเด็ดขาด อาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ กรุณาบอกต่อ ๆ กันด้วยค่ะลูก ๆ
References
1. TRIPLE THREAT Size 34 woman who ate THREE dinners a night dropped over half her body weight and now her closest friends don’t recognise her
2. Polycystic ovary syndrome
3. Obesity and Polycystic Ovary Syndrome
4.The relationship between Polycystic ovary syndrome and vitamin D levels
5. อ้วนได้ก็ผอมได้!! สาวงดกินมื้อเย็นวันละ 3 รอบ เน้นกินคลีน ลดน้ำหนักจาก 159 กก. เหลือ 72 กก.
🥰ป้าพาขอขอบคุณทุกท่านที่ตามอ่าน แชร์ และกดไลค์นะคะ
❤️ได้รับกำลังใจอย่างนี้ ป้าจะพยายามค้นอ่านและเขียน โดยพยายามทำให้อ่านเข้าใจง่ายและถูกต้องด้วยค่ะ
ขอบคุณค่ะ
โฆษณา