12 เม.ย. 2021 เวลา 07:44 • ข่าว
จีนเตรียมสร้าง "อภิมหาเขื่อน" ในทิเบต
สื่อจีนระบุว่า ปักกิ่งได้วางแพลนสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ แม่น้ำยาร์ลุงซังโป ซึ่งอยู่ที่ในเขตปกครองตนเองทิเบต
เมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว มันจะกลายเป็นเขื่อนขนาด 60 กิกะวัตต์ ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้ามากกว่าเขื่อนซานเสียต้าป้า (ซึ่งเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดของจีน) ถึง 3 เท่า 😮😮
ซึ่งโปรเจ็คสร้างเขื่อนซานเสียต้าป้านั้น ได้บีบให้ประชาชน 1.4 ล้านคน ต้องอพยพออกจากพื้นที่ไป
เช่นเดียวกัน . . จะต้องมีการอพยพผู้คนประมาณ 14,000 ออกไปจากเมืองโม่โท เพื่อเปิดทางให้แก่โครงการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำนี้
🔥 สงครามแย่งน้ำ 🔥
นักวิเคราะห์ระบุว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีน 🇨🇳 ควบคุมแหล่งน้ำปะปาส่วนใหญ่ทั่วเอเชียใต้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขณะเดียวกัน “ข้อพิพาทเกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือน้ำปะปา” ก็ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของความขัดแย้ง เนื่องจากเขื่อนนี้ จะทำให้ปักกิ่งสามารถใช้ประโยชน์จากต้นน้ำอันมีทิเบตเป็นศูนย์กลางเหนือทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ 💪🏻
.
.
🇨🇳 VS 🇮🇳
‘เทมปา ซัมลา’ หัวหน้าแผนกสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาประจำสถาบันนโยบายทิเบต เล็งเห็นว่า โครงการสร้างเขื่อนยักษ์ที่ตั้งอยู่ห่างจากชายแดนอินเดียเพียง 30 กิโลเมตร อาจทำให้เปิดโอกาสให้พรรคคอมคอมมิวนิสต์จีน นำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
นับตั้งแต่ปักกิ่งบุกรุกและยึดทิเบตไปในปี 1950 ชาวทิเบตก็ไม่มีปากมีเสียงในการเรียกร้องทิศทางความเป็นไปของแผ่นดินที่ตนอาศัยอยู่อีกเลย
“เราไม่เคยมีเขื่อนมาก่อนที่จะถูกจีนยึดครอง ไม่ใช่เพราะเราไม่สามารถดึงประโยชน์จากมันมาใช้ได้ แต่เป็นเพราะเรามอบความเคารพอย่างสูงสุดให้กับธรรมชาติแห่งแม่น้ำทุกสาย”
“ชาวจีนจะทำทุกวิถีทางที่เป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของพวกเขา ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าหงุดหงิดใจอย่างยิ่ง เพราะชาวทิเบตไม่มีโอกาสได้แสดงความเห็นเลย”
เขาให้สัมภาษณ์กับสื่อ Al Jazeera 💬
.
.
💥 ไม่เป็นความคิดที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมเท่าไหร่นัก 💥
อินเดียรู้สึกเป็นกังวลกับโครงการสร้างเขื่อนของจีน และกล่าวว่ามันเป็น “ความคิดที่แย่”
เพราะแม้ปักกิ่งจะอ้างเหตุผลว่า โครงสร้างขนาดยักษ์นี้เป็นทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่มโหฬาร อาจจะไปขัดขวางการย้ายที่อยู่ของปลา รวมถึงการไหลของตะกอนที่ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ในกับดินที่ปลายน้ำในช่วงน้ำท่วมตามฤดูกาล
// เมื่อไร้ซึ่งตะกอน แม่น้ำจะดึงพื้นที่ตลิ่งลงไป ทำให้ดินสึกหรอลงเรื่อย ๆ
.
.
☄️ ชาวฮั่นเข้ามาแทนที่ ☄️
‘ไบรอัน ไอเลอร์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านแม่น้ำและเป็นผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำศูนย์วิจัยสติมสัน แสดงความเห็นว่า
“เรามีมรดกทางวัฒนธรรมของทิเบตที่อุดมสมบูรณ์ในพื้นที่เหล่านั้น และการสร้างเขื่อนจะทำให้ระบบนิเวศถูกทำลายลงไป”
1
“ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่จำนวนมาก จะถูกบีบบังคับให้ต้องออกจากบ้านที่อยู่กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ”
“โครงการนี้ยังจะส่งเสริมให้มีการอพยพคนงานชาวฮั่นเข้ามา และมันจะค่อย ๆ กลายเป็นการตั้งถิ่นฐานถาวรของคนเหล่านั้นในที่สุด”
อ้างอิง :
โฆษณา