14 เม.ย. 2021 เวลา 10:13 • ท่องเที่ยว
สนามบินใหญ่ที่สุดของโลก อยู่ที่ “ปักกิ่ง”
#WorldNow
ปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีน มีประชากรในเมืองราว 21.5 ล้านคน มีความหนาแน่นเป็นอันดับที่ 2 รองจากเซี่ยงไฮ้
ก่อนหน้านี้ สนามบินแรกเริ่มในปักกิ่ง คาดการณ์ความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวจะถึงเต็มพิกัดเที่ยวในอีกไม่นาน
แนวคิดที่สร้างสนามบินแห่งใหม่จึงเกิดขึ้น
และปัจจุบันมีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย
ขอต้อนรับผู้อ่านทุกท่านสู่สนามบิน Daxing International Airport...
Beijing Capital International Airport หรือ BCIA สนามบินเดิม ห่างจากใจกลางเมืองปักกิ่งไปทางตะวันออกเฉียงเหนือราว 46 กม.
และเปิดให้บริการครั้งแรกในเมื่อ 1 มีนาคม 1958
ที่ผ่านมา สนามบินเริ่มมีการขยายตั้งแต่ปี 1978 เช่น มีการเปิดอาคารผู้โดยสาร Terminal 2 ในปี 1999 เพื่อฉลองครบรอบ 50 ปีสาธารณะรัฐประชาชนจีน
หรือการขยายรันเวย์ ในปี 2007 รองรับโอลิมปิกที่ปักกิ่ง
จำนวนผู้ใช้บริการจึงเยอะขึ้นเรื่อยๆ
เดิมทีกรุงปักกิ่งมีแผนเสนอสนามบินแห่งที่สอง เมื่อปี 2008
แต่แล้ว เมื่อปี 2012 สนามบินแห่งแรก
ก็รับนักท่องเที่ยวเต็มพิกัดเรียบร้อย
จึงก่อกำเนิดอีกหนึ่งสนามบินขึ้นมา “Daxing International Airport” หรือ PKX
ได้รับการอนุมัติแผนเมื่อเดือนมกราคม 2013
การจะมีแค่ 4 รันเวย์ เพื่อรองรับคนจำนวน 72 ล้านคน ดูเหมือนจะไม่เพียงพอสำหรับสนามบินเดิมของปักกิ่ง
ปี 2012 สนามบิน BCIA ต้องรองรับจำนวนผู้โดยสารมากถึง 81.9 ล้านคน นับว่าเป็นตัวเลขที่สุดตั้งแต่ช่วงปี 2004 - 2012
ด้วยสนามบินแห่งใหม่ จะมีถึง 7 รันเวย์ และรองรับคนทุกปีได้มากถึง 100 ล้านคน ภายในปี 2025 ตั้งห่างจาก BCIA 67 กิโลเมตร
ข้อมูลและภาพจาก CGTN
ตั้งอยู่ที่เขตต้าซิง (大兴区) ทางตอนใต้ของกรุงปักกิ่ง ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดความแออัดที่สนามบินปักกิ่งเดิม คาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการ 197,000 คนต่อวัน
สุดท้าย PKX ได้เริ่มก่อสร้างในเดือน ธันวาคม 2014 โดยในเฟสแรกใช้เวลาการก่อสร้างไม่ถึง 5 ปี เท่านั้น และได้เปิดครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2019 สร้างเสร็จก่อนการฉลองครบรอบ 70 ปี การก่อตั้งสาธารณะรัฐประชาชน 6 วัน
แน่นอนเราต้องพูดถึง "ความยิ่งใหญ่" ของสนามบินแห่งนี้
นอกจาก PKX ตั้งบนพื้นที่ 700,000 ตารางเมตร
เท่าขนาดสนามฟุตบอลมาตรฐานโอลิมปิก เกือบ 100 สนาม
อาคารผู้โดยสารก่อสร้างจากคอนกรีตกว่า 1.6 ล้านลูกบาศก์เมตร
และเหล็กประมาณ 52,000 ตัน พร้อมติดตั้งจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์
และระบบรองรับน้ำฝนบนหลังคาขนาดใหญ่
และยังได้ชื่อเล่นว่า “ปลาดาว” มีส่วนที่ยึดขยายออกไปเป็น 5 แฉก ซึ่งเป็นเกตขึ้นเครื่องทั้งหมด 82 ประตู
ด้วยหลังคาเป็นรูปดาว ออกแบบให้น๊อตเชื่อมกับหลายส่วนของหลังคา เพื่อเป็นกระจายแรงและต้านต่อลมแรงได้
แต่เนื่องด้วยบริเวณชั้นใต้ดินจะมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมกับระหว่างปักกิ่ง กับเมือง “สงอัน” วิ่งตรงเข้าสนามบิน
ตัวอาคารจึงถูกออกแบบให้สามารถรองรับ แรงสั่นสะเทือนของรถไฟความเร็ว 250 กม./ชั่วโมง รวมถึงป้องกันแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ตามมาตราริกเตอร์
PKX ยังขึ้นชื่อในเรื่อง "สนามบินอัจฉริยะของจีน"
ไม่ว่าจะเป็น
การนำเทคโนโลยีจดจำใบหน้า คู่กับระบบ Big Data เพื่อตรวจสอบหลักฐาน หรือ เข้าถึงข้อมูลต่างๆ เช่น เวลาขึ้นเครื่องบิน หมายเลขเที่ยวบิน หรือเส้นทางที่ดีที่สุดเพื่อเดินทางขึ้นเครื่อง
มีการติดตามกระเป๋าสัมภาระของเราผ่านแอพในมือถือ แบบเรียลไทม์
รวมถึงการเช็กอินเป็นอัตโนมัติ ระบบ self-service
เทคโนโลยีอันล้ำสมัยด้วยระบบ “ไร้กระดาษ” หรือ paperless system
จะช่วยให้ประหยัดเวลาได้มากขึ้น
มากไปกว่านั้น ยังประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ AI จากประเทศอิราเอล เพื่อค่อยป้องกันนก รบกวนในรันเวย์ระหว่างการ take-off และ landing
เราได้พูดถึงความยิ่งใหญ่ และความทันสมัยไปแล้ว
คาดการณ์ว่างบประมาณก่อสร้างจะสูงถึง 17.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเกือบ 5.5 แสนล้านบาท
เราลองมาส่องสนามบินสุวรรณภูมิกันไปดีกว่าเป็นการปิดท้าย
แนวคิดของสนามบินแห่งที่ 2 ถัดจากท่าอากาศยานดอนเมือง ริ่เริ่มในปี 2503 ในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ใช้งบประมาณก่อสร้างราว 150,000 ล้านบาท...
เปิดใช้งานครั้งแรกอย่างเป็นทางการเมื่อ 28 กันยายน 2549 หรือกินเวลาก่อสร้างนานถึง 45 ปี!
ผู้เขียน: รัตนราช ลิ่มเศรษฐกานต์
อ้างอิง: B1M, CNN, Daxing PKX Airport. Thai Biz China
โฆษณา