14 เม.ย. 2021 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เชื่อว่าคนที่ลงทุนด้วยตัวเองในตลาดอเมริกาคงจะเข้าใจและรู้เกี่ยวกับ SPAC กันอยู่แล้ว โดยเฉพาะกระแสการทำ IPO ด้วยวิธีนี้ที่บูมขึ้นมาตั้งแต่ปีที่แล้วและยังคงต่อเนื่องมาในปีนี้
ถ้าลองเปรียบเทียบ timeline ระหว่างบริษัทที่ทำ SPAC กับ IPO โดยวิธีการปกติ จะพบว่าหลังจากครบกำหนดโดยปกติก็ 2 ปี maximum ของ premerger phase (คิดง่ายๆ เหมือนช่วงทดลองงาน ว่าบริษัทนั้นจะรอดหรือจะร่วง) นับจากวันที่เริ่ม SPAC IPO จนถึงวันที่ประกาศ merger บริษัทที่ใช้วิธี SPAC จะใช้เวลาประมาณ 4 เดือนเพื่อลอกคราบเป็นบริษัทใหม่ ชื่อใหม่ ซึ่งสั้นกว่า traditional IPO ประมาณ 2 เดือน
ปีที่แล้ว มีบริษัทใหม่ที่ทำ IPO เข้าตลาดอเมริกาทั้งสิ้น 494 บริษัท ซึ่งระดมทุนไปได้ $174 billions ในนี้ มีถึง 248 บริษัทหรือราวครึ่งนึงที่ทำ IPO ผ่านทาง SPAC และปีนี้เพียงแค่ไม่กี่เดือน ก็ทำยอดทะลุของปีที่แล้วทั้งปีไปแล้ว
จะว่าดูมีความเสี่ยงก็ใช่ เพราะว่า ใครๆก็อยากตีเชคเปล่าเข้ามาหาเงินทุนในตลาด สังเกตได้ว่า พวกนี้ล้วนแล้วแต่เป็นบริษัท new tech ที่ยังไม่มีกำไรทั้งสิ้น แต่ต้องการระดมเงินทุนจากคนในตลาดนี่แหละ เพื่อสร้าง growth ให้กับตัวเอง (กึ่งๆขายฝัน แต่จะกลายเป็นฝันที่เป็นจริงมั้ยต้องดูหลังจาก 2 ปี ว่าจะ merge หรือไม่) ซึ่งมันก็ดูบ่งบอกถึงสัญญาณความเป็นฟองสบู่ของตลาดอยู่ไม่น้อย ถ้าไม่ได้คิดว่านี่คือ trend ใหม่ของการเอาบริษัทเข้าตลาดจากนี้ไป
1
ตัวอย่างดีลใหญ่ๆหลายดีลที่ใช้วิธีการนี้ในการเข้าตลาด ไม่ว่าจะเป็น
Luminar Technologies (LAZR) บริษัทผลิตระบบ LiDAR ที่ทำ SPAC ผ่านทาง Gores Metropoulos Inc ปีที่แล้ว
Lucid Motor (CCIV) บริษัทรถ EV สัญชาติอเมริกันที่ทำ public investment funding กับซาอุดิอาระเบียผ่านทางChurchill Capital Corp IV ต้นปีนี้
Nikola (NKLA) บริษัทรถ EV semi-truck ที่สุดท้ายโป๊ะแตกว่าขายแต่ story แต่ไม่ได้ขายของจริง
1
Virgin Galactic (SPCE) บริษัทนำเที่ยวอวกาศ ที่ทำ SPAC ผ่านทาง Social Capital Hedosophia เมื่อปี 2017
Switchback Energy (SBE) บริษัทผลิต EV charging system ที่เป็นต้นน้ำให้กับหลายๆเจ้า ที่ acquire ChargePoint
และล่าสุด Grab เองก็เตรียมตัวที่จะเข้าตลาด NASDAQ ผ่านทางกระบวนการ SPAC นี้เช่นกันในปีนี้
แล้วในแง่ performance ของ SPAC ล่ะ เป็นยังไง?
จากกลุ่มตัวอย่าง 72 บริษัท SPAC ในช่วงปี 2012 – 2017 ที่ merge สำเร็จครบกระบวนการ จนลอกคราบกลายเป็นบริษัทใหม่ชื่อใหม่เรียบร้อย พบว่า 70% ของทั้งหมดมีมูลค่าสูงขึ้นกว่าวันแรกที่เริ่ม SPAC IPO และมีกว่าครึ่งนึงที่สามารถทำ performance ได้ดีกว่า S&P500 ในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่รอด หรือเรียกว่าทำเอานักลงทุนเจ๊งไปก็มากเช่นกัน
คำถามต่อมาคือ นี่มันคือการเก็งกำไรบนฟองสบู่ของตลาดรึเปล่า จากจำนวนบริษัทใหม่ที่ทำ SPAC มากมายใน 2 ปีนี้?
จากผลสำรวจของผู้อ่าน Investopedia ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา SPAC ถูกมองว่าเป็น bubble asset ลำดับสองรองจาก bitcoin นะครับ มากกว่าราคาอสังหาริมทรัพย์และกัญชาซะอีก
 
บทสรุปก็คือ การลงทุนในบริษัทที่ทำ SPAC IPO ในช่วง early stage 2 ปีก่อนจะถึงกำหนด merger ก็มีความเสี่ยงสูงไม่น้อย เพราะบริษัทเหล่านี้ยังไม่ได้มีผลดำเนินงานพิสูจน์ออกมาเลยว่าจะรุ่งหรือจะร่วง ต้องอาศัยความเข้าใจและรู้ลึกในธุรกิจของเค้าจริงๆ โดยสามารถที่จะมองอนาคตได้ขาดว่านี่แหละ ลูกยักษ์ที่กำลังจะโต ไม่งั้นก็อาจจะเสียหายหนักได้
มองในมุมกลับกัน ข้อดีของ SPAC ก็มี ตรงที่นักลงทุนอย่างเราๆสามารถที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกิจการได้ตั้งแต่เริ่มฟักตัวอ่อนและโตไปด้วยกันตั้งแต่วันแรกๆ ไม่เหมือนการเข้าไปซื้อ IPO ของบริษัทปกติที่โตมาระดับนึงแล้ว มีการันตีผลประกอบการ แต่จะโตต่อเนื่องไปได้มากแค่ไหนจากนั้นก็ว่ากันอีกที
ตรงนี้ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่เรารับได้และข้อมูลของบริษัทนั้นๆที่เรามีในมือรวมถึงความเชื่อมั่นในตัวบริษัทนั้นเองด้วยเช่นกัน
High risk high return, but also high loss ครับ
โฆษณา