17 เม.ย. 2021 เวลา 01:19 • ความคิดเห็น
รายได้ต่ำ รสนิยมสูง
ต้นตอปัญหาหนี้ครัวเรือน
สูงทะลุปรอทแตก....🌡️
จากตัวเลขล่าสุดปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยเราอยู่ที่ 90 กว่าเปอร์เซ็นต่อจีดีพีเข้าไปแล้ว
หลายคนอาจจะบอกว่า ตัวเลขนี้เกิดจากปัญหาการระบาดของโควิดที่ทำเศรษฐกิจพังพินาศมาต่อเนื่องเกือบสองปี
หลายคนตกงาน
หลายคนรายได้ลด
ขณะที่ค่าใช้จ่ายยังคงเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น
ผมไม่ปฏิเสธความจริงในข้อนี้
ที่ว่าโควิดทำเศรษฐกิจเจ๊ง เลยพาลทำให้รายได้ของคนส่วนใหญ่
ไล่ตามไม่ทันรายจ่าย
หลายคนจำเป็นต้องก่อหนี้เพิ่ม
..
ก่อนจะไปต่อเรามาทำความเข้าใจคำว่าหนี้ครัวเรือนกันก่อน
..
หนี้ครัวเรือนคืออะไร❓
1
ความหมายของหนี้ครัวเรือนตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนิยามไว้หมายถึง...
1
"เงินที่สถาบันการเงินต่างๆ ให้คนทั่วไปอย่างเรา ๆ กู้ยืมมา แต่ต้องเป็นคนที่อยู่ในประเทศเท่านั้น"
1
หากตีความตามนี้ หนี้ครัวเรือนก็คือหนี้ในระบบที่บุคคลทั่วไปกู้ยืมมาใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายเพื่อการทำธุรกิจส่วนตัวหรือใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค บริโภค ถือเป็นหนี้ครัวเรือนทั้งหมด
2
ซึ่งด้วยลักษณะนิยามนี้ หนี้ครัวเรือนจึงเป็นหนี้ขนาดเล็ก แต่มีจำนวนคนที่เป็นหนี้จำนวนมาก
6
เมื่อจำแนกหนี้ครัวเรือนออกเป็นย่อย ๆ หนี้ครัวเรือนหลัก ๆ เลยคือหนี้เงินกู้ซื้อบ้าน รองลงมาก็เงินกู้ซื้อรถ ตามมาด้วยเงินกู้ใช้จ่ายส่วนบุคคล
หนี้ทั้งสามตัวนี้ของคนไทย เชื่อหรือไม่ว่า มีหลายคนที่กู้หนี้โดยไม่จำเป็นหรือไม่ก็กู้มาเกินความจำเป็น
ทำไมถึงบอกเช่นนั้น?
พฤติกรรมการใช้จ่ายเกินตัวของคนไทย ไม่เป็นแต่เฉพาะการกิน การอยู่ ยังรวมไปถึงการซื้อของชิ้นใหญ่ อย่างบ้านและรถด้วย
1
ค่านิยมการที่ต้องมีบ้านใหญ่ขึ้น
ค่านิยมการที่ต้องมีรถรุ่นใหม่ขึ้น
เป็นหนึ่งในค่านิยมที่ทำให้คนไทยก่อหนี้เกินตัวกันเยอะมาก
8
ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการกินอยู่เกินฐานะ อันนี้ต้องบอกว่าเป็นกันมานานแล้ว
1
หลายคน เมื่อเริ่มทำงานใหม่ ๆ เงินเดือนหมื่นกว่าบาท ก็รู้สึกว่าใช้จ่าย ไม่ค่อยพอ ก็หันมาบอกกับตัวเองว่า เดี๋ยวถ้าฉันเงินเดือนสูงขึ้น ปัญหานี้คงหมดไป
1
ทำงานไปสักพัก เงินเดือนขึ้นมาเรื่อย ๆ เอ๊ะ ทำไมยังรู้สึกว่ารายได้ไม่พอกับรายจ่ายอยู่เหมือนเดิม
ยิ่งเงินเดือนสูงขึ้นเท่าไหร่
ยิ่งรู้สึกว่ารายจ่ายมันเยอะขึ้นตามไปทุกที
สุดท้าย กว่าจะรู้ตัวอีกที
มีหนี้เต็มหน้าตักไปหมดแล้ว
1
สาเหตุที่หลายคนเป็นเช่นนี้ ก็ด้วยเหตุผลเดียวเลยครับ
เหตุผลที่เกิดจากพฤติกรรม
"รายได้ต่ำ รสนิยมสูง"
1
บางคนอาจจะแย้งว่า ฉันก็ไม่ใช่คนที่มีรายได้ต่ำนะ เดือนหนึ่งก็รับอยู่หลายหมื่นไปจนถึงแสนก็มี แต่ก็ยังไม่ค่อยพอใช้
ต่ำครับ ...
ที่เรียกว่ารายได้ต่ำ คือมันต่ำกว่ารสนิยมการใช้จ่ายของคุณไงครับ
4
เมื่อรายได้มันต่ำกว่าค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการตอบสนองรสนิยมฟุ้งเฟ้อ สิ่งที่ตามมาก็คือ"การก่อหนี้"
1
หนี้เหล่านี้เป็นหนี้ที่เกิดจากการเยียวยาจิตใจ ให้ไหลไปตามกระแสสังคม
มันจึงถือเป็นหนี้ที่มีราคาแพงมาก
มือถือรุ่นใหม่ที่ทัดเทียมเพื่อนร่วมงาน
รถรุ่นใหม่ที่ต้องมีให้ทัดเทียมญาติ พี่น้อง
บ้านหลังใหญ่ที่ซื้อเอาไว้เพื่อเก็บของเก่า
7
เสื้อผ้า ไอเท็ม สินค้าแบรนด์เนมที่ต้องมีเพื่อเอาไว้อัปไอจี อวดเพื่อนฝูง
1
รสนิยมเหล่านี้ ล้วนก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงจนพุ่งแซงรายได้ อย่างเกินที่จะประมาณการได้
..
ผมยังเชื่อว่า กฏของความร่ำรวย ไม่ใช่การรวยด้วยการเก็งกำไร เพราะมันเป็นสิ่งที่ทำได้เฉพาะกับบางคน เท่านั้น
1
การออมด้วยการใช้จ่ายให้ต่ำกว่าฐานะ เป็นกฏของความร่ำรวยที่เสมอภาค เพราะเป็นสิ่งทุกคนทำได้
12
..
1
ทั้งหมดเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว ขอบคุณล่วงหน้า สำหรับการแสดงความคิดเห็นอย่างสุภาพ🙏
2
..
ติดตามอ่านบทความได้ที่
โฆษณา