17 เม.ย. 2021 เวลา 00:08 • ไลฟ์สไตล์
จงตัดสินใจให้ไวขึ้น
บ่อยครั้งที่เรื่องเล็กๆมีส่วนแบ่งในพลังความคิดของเราเกินไป
เช่น การเลือกเสื้อผ้าว่าจะใส่ตัวไหนดี เราคิดวกไปวนมาอยู่หลายนาที
หรือแม้กระทั่งคิดไปว่า เย็นนี้จะทานอะไรดี
เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องเล็กน้อยที่ในสถานการณ์ปกติแล้ว
ไม่จำเป็นต้องคิดเพื่อตัดสินใจโดยใช้ระยะเวลานาน
เพราะอาจเป็นปัจจัยในการทำให้เสียโอกาสในด้านอื่น-
มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์ม Facebook
ผู้ใส่เสื้อยืดสีเทาแบบเดิมๆ ก็กล่าวไว้ว่า
ทำไมจะต้องเสียเวลาหน้ากระจกไปกับการตัดสินใจว่า
"วันนี้จะแต่งตัวอย่างไร" หรือแม้กระทั่งจะทานอะไรเป็นอาหารเช้า
ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้เสียเวลาและพลังงานไปกับเรื่องเล็กน้อยพวกนี้
หากกำลังประสบปัญหาด้านการตัดสินใจแล้ว
ลองนำ 6 วิธี นี้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับตัวเอง
1.จำกัดตัวเลือก
กลับมาที่เรื่องการเลือกทานอาหาร เมื่อมีร้านตัวเลือกจำนวนมาก
ก็มักจะคิดแล้วคิดอีก คิดวนไปมา และจบลงที่ไม่ได้ข้อสรุป
และบ่อยครั้งที่เรื่องนี้แย่งพื้นที่ในสมองของเรา
แทนที่จะได้ใช้คิดอย่างเต็มประสิทธิภาพ
กลับต้องใช้ไปกับเรื่องเล็กน้อยอยู่บ่อยๆ
ดังนั้นหากอยากเป็นคนที่ตัดสินใจเร็วขึ้น
ลองจำกัดตัวเลือกลง
2."เขียน" แจงแจกข้อดีข้อเสียอย่างชัดเจน
หลายครั้งที่เรามักจะตัดสินใจโดยใช้ปัจจัยที่มี ด้วยการคิด
ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิดหากสามารถเก็บความคิดนั้นไว้ได้นาน
แต่จะดีกว่าไหมที่จะเขียนปัจจัยทั้งด้านดี และไม่ดี
ลงในกระดาษหรือที่ไหนก็ได้ที่สามารถเห็นได้ชัดเจน
แล้วใช้สมองในการวิเคราะห์เพียงอย่างเดียว
ถือเป็นการลดขั้นตอนการจำปัจจัยเหล่านั้น
เพื่อจะได้ใช้พลังงานความคิดไปกับการวิเคราะห์ได้อย่างเต็มที่
3. ลองเชื่อมั่นในลางสังหรณ์ของตัวเอง
ลางสังหรณ์มักเกิดขึ้นจากสิ่งที่เคยเห็น ความคิดที่เคยคิด
มันมักมาจากสิ่งที่เราได้เคยสัมผัสมาในอดีต แต่อาจจะละเลยไม่ได้สนใจ
แต่เราก็เคยรับข้อมูลเหล่านั้นเข้ามาแล้ว
หากมีเวลาจำกัดในการตัดสินใจแล้ว การเชื่อในลางสังหรณ์
ก็ดูเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันสมองจากความเครียดเนื่องจากการคิดวกวน
4. สร้างกรอบเวลาอย่างจำกัด
หากนึกย้อนไปสมัยเรียน ทำให้นึกถึงเหตุการณ์ที่ว่า
ไม่ว่าคุณครูจะสั่งการบ้านล่วงหน้านานขนาดไหน
เราก็มักที่จะทำเสร็จตรงเวลากำหนดพอดี
หรือแม้กระทั่งการอ่านหนังสือสอบ 1 คืนสุดท้ายก่อนสอบจริง
น่าแปลกใจที่เราสามารถทำงานที่สั่งล่วงหน้ากว่า 1 อาทิตย์ให้เสร็จ
ภายใน 1 วันได้ เนื่องจากเรามีกรอบเวลาที่ชัดเจน
ลองปรับเปลี่ยนวิธีการสร้างกรอบเวลาไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด
ให้แคบลงโดยใช้ปัจจัยเท่าที่มี และหาปัจจัยที่ขาด
จงสร้าง Deadline ให้งาน ก่อนที่งานจะสร้าง Deadline ให้เรา
5.สร้างทัศนคติที่ดีต่อความล้มเหลว
การกลัวการตัดสินใจพลาด มักมีสาเหตุหลักคือ กลัวการล้มเหลว
หากมีทัศนคติที่ว่า ล้มเหลวคือการได้รู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้
เราจะเปิดใจและมีมุมมองที่ดีต่อความล้มเหลวมากขึ้น
การล้มเหลวในชีวิตบ่อยครั้งไม่ถึงขั้นชีวิต
ไม่ว่าจะล้มเหลวกี่ครั้งก็ยังมีโอกาสมาทำใหม่ได้เสมอ
มีแต่ความล้มเหลวที่จะบอกเราว่าเรายังไม่รู้อะไร
6.การหลีกเลี่ยงที่จะตัดสินใจมักส่งผลเสีย
เมื่อมีโอกาสให้เข้ามาตัดสินใจแล้ว หากเพิกเฉยที่จะเป็นคนตัดสินใจ
บ่อยครั้งที่มันแปลว่าเรายอมรับผลที่จะเกิดขึ้น
ทั้งที่จริงแล้วเราอาจไม่รู้เลยว่า ผลกระทบของการไม่ตัดสินใจนั้นใหญ่เกินกว่าที่เราคิด ที่สำคัญความเชื่อมั่นในตัวเอง (Self-Esteem)
ของเราจะลดน้อยลงทำให้เป็นคนที่อะไรยังไงก็ได้
จนในที่สุดหากเราหลีกเลี่ยงบ่อยๆ มักมีโอกาสที่ตัวเลือกในชีวิตน้อยลง
ส่งผลให้ไม่ได้ใช้ชีวิตในทางที่อยากใช้ และนึกเสียดายทีหลัง
เรื่องการตัดสินใจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญเรื่องหนึ่งในชีวิต
ฝึกตัดสินใจจากเรื่องเล็กน้อยให้ดี แล้วจะมีปัจจัยและความมั่นใจ
ในการตัดสินใจเรื่องใหญ่ได้ดีขึ้น
ตระหนักไว้เสมอว่าจงรู้ว่าเรื่องไหนควรใช้เวลาตัดสินใจเท่าไหร่
ใช้เวลากับเรื่องเหล่านั้นให้เหมาะสม
แล้วจะตัดสินใจได้เร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น
Ref คำพูดมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก https://careers.workopolis.com/advice/the-reason-mark-zuckerberg-wears-the-same-shirt-every-day/
โฆษณา