17 เม.ย. 2021 เวลา 05:15 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Ep.19 “เรื่องราวเกี่ยวกับ Reactor ตอนทำแลป vs ความเป็นจริง”
Reactor ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมเพราะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยาเคมีเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ตามที่ต้องการ พอแอดมินมานึกย้อนไปตอนที่ทำแลปตอนเรียน ป.โท มันก็มีความคล้ายๆกันอยู่เหมือนกัน ดีตรงที่ตอนเรียนเป็นรีแอคเตอร์เป็นลักษณะแก้วใสๆ ทำให้เห็นลักษณะภายในที่เกิดขึ้นเห็นเลยพอทำปฏิกิริยาไปนานๆ ก็มี coke เกิดบน catalyst เพราะสีเปลี่ยนไป แต่ของจริงแน่นอนว่าอุปกรณ์ข้างในนั้นอีกเพียบเลย ทั้ง distributor, collector ,support grid, inert ball ซึ่ง reactor จะวางแนวตั้ง แนวนอนก็ขึ้นอยู่กับว่าใช้กับปฏิกิริยาอะไร อีกทั้งยากที่จะเห็นได้ว่าเกิดอะไรขึ้นในนั้น ต้องคอยดู temp กับ pressure เอาบางครั้งก็มีการเก็บสารไปตรวจเพื่อดูว่า conversion เป็นยังไง
อย่างอุปกรณ์ตอนที่ใช้ทำแลปจะมีsupport grid อยู่ข้างในเวลาจะทำแลปต้องใส่ quart wool รองไม่ให้ catalyst ลงไปข้างล่าง ใส่ catalyst ลงไปซึ่ง catalyst ก็ต้อง sieve ให้ได้ size ตามที่ต้องการเพื่อไม่ให้ pressure drop สูง สุดท้าย ใส่ quart wool ทับลงไปอีกชั้น ไม่ให้ catalyst ปลิวออก ของจริงจะมายัดๆลงแบบที่เรียนไม่ได้นะเพราะมันลองไม่ได้ ต้องมี catalyst loading diagram เพื่อดูว่าแต่ละ bed จะใส่อะไร size เท่าไหร่ ปริมาณเท่าไหร่ สูงขนาดไหน เพื่อให้เป็นไป space velocity ที่เหมาะสมในการเกิดปฏิกิริยา ซีเรียสมากๆเลยทีเดียวหาก load ไม่ดี เอียง หรือ load เสร็จใช้ไปสักพัก pressure drop สูงต้อง shutdown ลงมาเปลี่ยน catalyst กันใหม่เสียทั้งเงิน เวลาเยอะเลยทีเดียว หรือบางครั้งเราก็ reuse การใช้ catalyst เหมือนกันเพราะ catalyst แพงมาก ซึ่งก็ต้อง sieve ไม่ต่างกับตอนทำแลปแต่ตอนทำแลปอุปกรณ์ sieve อันเล็กๆเท่าฝ่ามือเหมือนร่อนแป้ง แต่ของจริงเนื่องจากปริมาณ catalyst มันเยอะเครื่องมันก็ใหญ่มาก นั่งเฝ้าคนงาน sieve catalyst หมดไปละ 2 วัน
หากชอบคอนเทนต์ฝากติดตามกดไลค์ กดแชร์ เพจวิศวเกิร์ลกันเป็นกำลังใจให้แอดมินหน่อยนะคะ หรือมีใครอยากรู้อะไรก็comment ถามกันมาได้หรือแลกเปลี่ยนความรู้กันได้เลย
ติดตามวิศวเกิร์ลได้ทางช่องทางตามนี้ค่า:
โฆษณา