17 เม.ย. 2021 เวลา 14:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
What Is Cryptocurrency สกุลเงินดิจิทัล คืออะไร
จากBlockที่แล้ว ผมได้นะนำ 5 เหรียญCryptocurrency ที่น่าสนใจไม่แพ้ตัวของ bitcoin ซึ้งวันนี้ผมาจะมาอธิบายตัวของ Cryptocurrency ที่มีหลายๆคนสงสัย ว่ามันคืออะไร มันทำงานยังไง เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจก่อนการลงทุน เพราะทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ
Cryptocurrency คืออะไร?
Cryptocurrency (สกุลเงินดิจิทัล) คือ สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่งที่มีการเข้ารหัส มีราคากลางในการซื้อขายแปรผันตามกลไกตลาด จึงสามารถทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมูลค่าผ่านอินเทอร์เน็ตได้ แต่เพราะไม่ได้มีลักษณะทางกายภาพเหมือนเช่นสกุลเงินทั่วไป (Fiat Currency) ของแต่ละประเทศที่มีการตีพิมพ์ธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์ออกมา ทำให้บางครั้ง เราก็เรียก สกุลเงินดิจิทัล ว่า "สกุลเงินเสมือน" หรือ Virtual currency
วิธีการทำงานของ Cryptocurrency
Cryptocurrency จะไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมหรือจัดการโดยหน่วยงานทางการเงินสากลใด ๆ และไม่มีรัฐบาลใดเป็นเจ้าภาพในการผลิตจำนวนเหรียญของสกุลเงินดิจิทัล โดยสกุลเงินเสมือนดังกล่าวนี้ จะทำงานอยู่บนระบบที่สามารถควบคุมตัวมันเองได้ เรียกว่า "บล็อกเชน" (Blockchain) ซึ่งทำให้การมีอยู่ของเหรียญ Cryptocurrency แต่ละเหรียญนั้น จะถูกบันทึกข้อมูลไว้เป็นหลักฐานว่า “ใครเป็นเจ้าของ” เหรียญนั้น ๆ โดยจะเป็นการบันทึกร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องในเครือข่ายดังกล่าว (Peer)
หลักการพื้นฐาน คือ เมื่อมีการบันทึกข้อมูลในแต่ละชุด หรือ "ในแต่ละบล็อก" ตัวระบบ Blockchain จะมีการ "ส่งสัญญาณ" หากันในเครือข่าย เพื่อให้ทุกคนในเครือข่ายรับรู้และรับรองความต้องถูกต้องของธุรกรรมหรือข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ ข้อมูลแต่ละชุดนั้น จะมีการเข้ารหัสหรือที่เรียกว่า "Cryptography" ไว้ การที่ทุกคนสามารถเข้าถึง มีส่วนในการรับรู้ บันทึก และรับรองความถูกต้องของธุรกรรมทั้งหมดในเครือข่ายได้นั้น เราเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า "การบันทึกธุรกรรมแบบกระจายศูนย์" ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Distributed Ledger Technology (DLT) หรือ เราอาจเรียกมันว่า การบันทึกข้อมูลแบบ "หลาย ๆ เครื่อง" ในเวลาเดียวกัน
สรุปคุณลักษณะของคริปโทเคอร์เรนซี่
1. ปัจจุบัน ได้รับการยอมรับว่าเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่ง
2. ทำงานบนระบบ Blockchain ซึ่งเป็นเทคโนโลยีกระจายศูนย์ หรือ Distributed Ledger Technology ทำให้ทุกคนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรับรองความถูกต้องของข้อมูล
โฆษณา