18 เม.ย. 2021 เวลา 04:25 • หุ้น & เศรษฐกิจ
นักเก็งกำไร speculator (1)
ผู้จัดการธนาคารในยุค 1950 จะเป็นผู้ที่ดูน่าเคารพในชุมชน ด้วยความเป็นคนสุขุมรอบคอบ ดูเป็นคนเข้านอนแต่หัวค่ำ และไม่ดื่มหนัก คุณอาจจะมองว่าน่าเบื่อ ทว่าตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมาธนาคารประเภทใหม่ก็ปรากฏ พวกเขาขี้อวดโอ่ และหยิ่งยโส นายธนาคารเหล่านี้ชอบเดิมพันเสี่ยงสูงเพราะต้องการรวยเร็วเพื่อถลุงเงินกับรถซิ่งและแชมเปญแพงหูฉี่ พวกเขาหาเงินจากสิ่งที่เรียกว่า “การเก็งกำไร” (speculation)
ปกติแล้วผู้คนจะซื้อสิ่งของเพราะต้องการใช้ของนั้น เช่น ใช้ข้าวสาลีทำขนมปัง ซื้อน้ำมันเติมรถยนต์ แต่เมื่อเป็นการเก็งกำไร พวกเขาจะซื้อของแม้ไม่ได้สนใจจะใช้ของนั้นเลย พวกเขาอาจจะซื้อข้าวสาลีมากมายมาตุนไว้เพียงคิดว่าราคาจะสูงขึ้น เนื่องจากการพยากรณ์แจ้งว่าจะเกิดภัยแล้งในพื้นที่เพราะปลูก หากว่าเดาถูกก็จะทำกำไรได้จากการขายข้าวสาลี
การเก็งกำไรมีมานานแล้ว ทว่านับตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมาการเก็งกำไรก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ธนาคารทั้งหลายตั้งทีม ที่แต่ละคนซื้อขายอะไรก็ได้ที่ทำกำไรได้ นักเก็งกำไรบางคนตั้งบริษัทของตัวเองที่เรียกกันว่า “เฮดจ์ฟันด์”(Hedge Fund) ซึ่งดำเนินกิจการที่เก็งกำไรเพียงอย่างเดียว หนึ่งในบริษัทเหล่านี้คือควอนตัมฟันด์ ก่อตั้งโดยนายธนาคารเชื้อสายฮังการีผู้ชื่นชอบปรัชญานาม จอร์จ โซรอส(George Soros) เขากลายเป็นนักการเงินที่โด่งดังที่สุดในศตวรรษที่ 20
นักเก็งกำไรอย่างSorosมีวิธีหาเงินอย่างหนึ่งคือ การซื้อขาเงินตรา อันได้แก่ ดอลลาร์ ยูโร เยน และอื่นๆ ในปัจจุบันตลาดเงินตราเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ราคาของเงินตราชนิดใดชนิดหนึ่ง เรียกว่า “อัตราแลกเปลี่ยน” ตัวอย่างเช่น 1 เปโซเม็กซิกันมีค่าเท่าไหร่เมื่อคิดเป็นค่าเงินดอลลาร์หรือยูโร เจ้าของร้านค้าชาวเม็กซิกันต้องนำเงินไปซื้อเงินดอลลาร์เพื่อซื้อกางเกงยีนจากอเมริกา
 
หากกางเกงยีนส์มีต้นทุน 10 ดอลลาร์ และเงิน 1 เปโซ มีค่า 10 เซนต์ เจ้าของร้านต้องแบกต้นทุนค่ากางเกงยีนต์เป็นเงิน 100 เปโซ หากเงินเปโซ มีค่าแค่ 5 เซนต์ ต้นทุนกางเกงยีนจะเท่ากับ 200 เปโซ ราคาเงินตราทั้งหลายก็ขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานเช่นเดียวกับสิ่งที่ทุกคนซื้อขายกัน หากคนในเม็กซิโกหันมานิยมกางเกงยีนต์สัญชาติอเมริกันเป็นพิเศษ ชาวเม็กซิกันจะต้องการเงินดอลลาร์มากขึ้นเพื่อใช้ซื้อกางเกงดังกล่าว ทำให้ราคาของเงินดอลลาร์สูงขึ้น เมื่ออุปสงค์และอุปทานของเงินตราขึ้นๆลงๆ อัตราแลกเปลี่ยนก็จะขึ้นลงเช่นกัน
หากมูลค่าของเงินเปโซในรูปเงินดอลลาร์เหวี่ยงไปมามากเกิน ร้านค้าก็อยากจะรู้ว่าควรตกลงซื้อกางเกงยีนอเมริกันตลอด 6 เดือนข้างหน้าที่ราคาเท่าไหร่ เนื่องจากราคาในรูปเงินดอลลาร์ที่จ่ายไหวในปัจจุบันอาจกลายเป็นราคาที่แพงเกินไปได้ในอีก 6 เดือน หากเงินเปโซอ่อนค่าลงบางประเทศจะใช้ระบบแบบนี้ โดยปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนปรับตัวขึ้นลงได้ เรียกว่า “อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว”
ส่วนประเทศอื่นพยายามห้ามไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหว โดย “ปักหมุด”อัตราแลกเปลี่ยนของตัวเองไว้ พูดอีกอย่างคือรัฐบาลกำหนดมูลค่าเงินตราตัวเองให้คงที่เมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญอย่างดอลลาร์ ด้วยหวังว่าการทำเช่นนี้จะช่วยสร้างความแน่นอนให้ผู้บริโภคและนักธุรกิจ เพราะพวกเขารู้ได้ว่าจะได้เงินจากการส่งออกสินค้าไปต่างแดนเท่าไหร่ และสินค้าต่างชาติจะมีต้นทุนเท่าไหร่
การปักหมุดค่าเงินสร้างโอกาสให้นักเก็งกำไรหาเงินได้จากการ “โจมตีหมุดที่ปักไว้” ในทศวรรษที่ 1970 นักเศรษฐศาสตร์อเมริกันนาม พอล ครุกแมน (paul Krugman 1953) คิดทฤษฏีเรื่องนี้ขึ้นมาก่อนจะเข้าว่าการโจมตีตัวหมุดหมายถึงอะไร
เราต้องเข้าใจก่อนว่ารัฐกำหนดค่าเงินให้คงที่ได้อย่างไร?
รัฐบาลจะซื้อขายเงินตราของตัวเองเพื่อรักษามูลค่าไว้ หากรัฐบาลต้องการกำหนดราคาน้ำมันเพื่อให้คงที่ที่ 15 เปโซต่อลิตร พวกเขาก็จะทำอย่างเดียวกัน ถ้าที่ราคา 15 เปโซอุปทานน้ำมันมากกว่าอุปสงค์ รัฐต้องจ่ายเงินซื้อน้ำมันเพื่อไม่ให้ราคาลดลง แต่ถ้าอุปสงค์มากกว่าอุปทาน รัฐต้องนำน้ำมันออกมาจำหน่ายเพิ่ม ไม่เช่นนนั้นราคาจะเพิ่มขึ้น รัฐบาลต้องมีน้ำมันสำรองตุนไว้จึงจะดำเนินการเช่นนี้ได้
ในทำนองเดียวกัน สมมติว่าในเดือนพฤษภาคม รัฐบาลเม็กซิโก กำหนดราคาเงินเปโซอิงกับเงินดอลลาร์ หากอุปสงค์เงินเปโซมนเดือนมิถุนายนสูงกว่าปกติ รัฐบาลก็สามารถพิมพ์เงินเปโซเพิ่มเพื่อไม่ให้เงินเปโซสูงกว่าราคาที่กำหนด แต่ถ้าคนซื้อดอลลาร์กันมากในเดือนกรกฏาคม ทำให้คนขายเงินเปโซมากกว่าปกติ ก็เสี่ยงว่าราคาเงินเปโซจะลดลง รัฐบาลจึงต้องนำเงินดอลลาร์ที่ตุนไว้มาซื้อเงินเปโซ เพื่อไม่ให้ราคาเงินเปโซต่ำลง นักเศรษฐศาสตร์เรียกเงินก้อนที่ตุนไว้นี้ว่า “เงินสำรองระหว่างประเทศ”(Foreign currency reserve) ของประเทศ โดยเงินสำรองนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการควบคุมระดับอัตราแลกเปลี่ยน
นักเก็งกำไรโจมตีตัวหมุดเมื่อรัฐบาลใช้เงินมือเติบ ช่วงทศวรรษ 1970 เม็กซิโกปักหมุดค่าเงินตัวเองไว้กับดอลลาร์ นอกจากนี้รัฐบาลยังใช้จ่ายมหาศาลไปกับประกันสังคม โครงการที่อยู่อาศัย และการคมนาคม แต่ไม่อยากเก็บเงินภาษีมากมายจากประชาชนมาเป็นทุนใช้จ่าย จึงเลือกพิมพ์เงินเพิ่มแทนเนื่องจากเงินเปโซหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้นเมื่อเทียบกับเงินแต่ละดอลลาร์ มูลค่าของเงินเปโซเมื่อเทียบกับดอลลาร์จึงทำท่าจะลดลง แต่หากมูลค่าลดลง หมุดที่ปักไว้ก็จะหัก รัฐบาลต้องหยุดยั้งด้วยการนำเงินดอลลาร์ในทุนสำรองออกมาซื้อเงินเปโซ เพื่อให้เงินเปโซหมุนเวียนในระบบมีปริมาณคงที่ การทำเช่นนี้ได้ผลอยู่ช่วงหนึ่ง จนกระทั่งรัฐบาลไม่เหลือเงินดอลลาร์แล้ว แต่กลับยังพิมพ์เงินเพิ่มเพื่อมาใช้จ่ายในโครงการรัฐอยู่ และเนื่องจากรัฐบาลไม่อาจซื้อเงินเปโซได้อีกแล้ว อุปทานเงินเปโซจึงสูงขึ้น ค่าเงินเปโซเทียบกับดอลลาร์จึงลดลง
ที่จริงทฤษฎีของครุกแมน ค่าเงินลดลงก่อนที่เงินดอลลาร์จะหมดคลังเสียอีก ทั้งนี้เป็นเพราะฝีมือนักเก็งกำไร ซึ่งรู้ว่ารัฐบาลกำลังพิมพ์เงินเพิ่มและนำเงินดอลลาร์ที่ตุนออกมาใช้พวกเขารู้ว่ารัฐบาลจะไม่มรีเงินดอลลาร์เหลือในอีก 60 วัน ในวันที่ 60 ที่เงินเปโซเริ่มต่ำค่าลง นักเก็งกำไรต้องขายเงินเปโซทั้งหมดที่มีเพื่อไม่ให้ตัวเองขาดทุน นี่คือการโจมตี อันที่จริงเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นก่อนหน้านั้นเสียอีก นั่นคือในวันที่ 59 นักเก็งกำไรรู้ดีว่าจะเกิดอะไรขึ้นในวันที่ 60 จึงขายเงินเปโซในวันนั้นเลย เหตุผลเดียวกันนี้ใช้ได้ในวันที่ 58 ด้วย ดังนั้น ก่อนที่รัฐจะใช้เงินดอลลาร์สำรองจนหมด นักเก็งกำไรก็เริ่มขายเงินเปโซ และซื้อเงินดอลลาร์สำรองส่วนที่เหลือกันแล้ว จากนั้นหมุดที่ปักค่าเงินเปโซไว้ก็หัก นักเศรษฐศาสตร์เรียกปรากฏการนี้ว่า “วิกฤตค่าเงิน” (currency crisis) นักเก็งกำไรได้ผลประโยชน์เพราะพวกเขาแปลงความมั่งคั่งของตัวเองให้เป็นสกุลเงินที่มีค่ามากกว่าอย่างดอลลาร์
เม็กซิโกถึงจุดวิกฤตในปี 1976 ที่ค่าเงินเปโซดิ่งเหว เมื่อเงินเปโซมีค่าน้อยนิด สินค้านำเข้าจึงราคาแพงมากสำหรับประชาชน นี่ทำให้มูลค่าที่แท้จริงของรายได้ลดลง ประชาชนจึงหยุดใช้จ่าย แล้วเศรษฐกิจก็เข้าสู่ภาวะถดถอย
ตอนหน้า...โจมตีหมุดอังกฤษ
บางส่วนจาก A Little History of Economics
โฆษณา