18 เม.ย. 2021 เวลา 09:10 • การศึกษา
การลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้าและส่งออก
 
เมื่อมีการซื้อขายระหว่างประเทศ แน่นอนว่าจะต้องมีการนำของเข้าหรือส่งของออก ซึ่งวิธีในการนำเข้าและส่งออกก็จะแตกต่างกันออกไป แต่สรุปรูปแบบการขนส่งหลักๆ ได้ดังนี้
1. การขนส่งทางเรือ
2. การขนส่งทางอากาศ
3. การขนส่งทางรถยนต์
4. การขนส่งทางรถไฟ
ซึ่งนอกจากรูปแบบทางด้านบนแล้วก็ยังมีในรูปแบบ ของที่ถูกนำพามากับผู้โดยสารโดยเครื่องบิน การขนส่งทางท่อ ทางสายไฟ และอื่นๆ ซึ่งในส่วนนี้ ภานิ จะไม่พูดถึงนร้า และเราต้องมีการลงทะเบียนป็นผู้นำเข้าและส่งออกกับกรมศุลกากรก่อน จึงจะสามารถดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ (Paperless) ได้
 
การลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากร
ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะปฏิบัติพิธีการศุลกากรหรือดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมาลงทะเบียนเป็นผู้ปฏิบัติพิธีการศุลกากร เพื่อนำข้อมูลเข้าเก็บในระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร โดยสามารถยื่นแบบคำขอลงทะเบียนและ/หรือแบบแนบได้ ดังนี้
1) ยื่นแบบคำขอลงทะเบียนในระบบลงทะเบียนผู้มาติดต่อออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ
2) ยื่นแบบคำขอลงทะเบียนโดยกระดาษ ณ ฝ่ายทะเบียนผู้นำเข้าและส่งออก ส่วนทะเบียนและสิทธิพิเศษ กองมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร หรือฝ่ายบริหารงานทั่วไป หรือหน่วยงานที่ได้รับอนุมัติให้รับลงทะเบียนของสำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากร
เว้นแต่ กรณีส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สถานทูต องค์การสาธารณกุศล หรือองค์การอื่น ๆ ที่ไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ให้ยื่นแบบคำขอด้วยตนเอง ณ ฝ่ายทะเบียนผู้นำเข้าและส่งออก ส่วนทะเบียนและสิทธิพิเศษ กองมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร กรมศุลกากรเท่านั้น ทั้งนี้ ในการจัดเตรียมเอกสารประกอบการลงทะเบียนและวิธีการลงทะเบียนฯ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศกรมศุลกากรที่ 64/2561 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ที่มา : https://www.customs.go.th/
 
เอกสารที่ใช้สำหรับการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากร
นิติบุคคล
1. หลักฐานของผู้มีอานาจลงนามทุกคน
1.1 กรณีคนไทย
- บัตรประจาตัวประชาชน
1.2 กรณีบุคคลต่างประเทศ
- สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือ
- ใบสำคัญประจาตัวคนต่างด้าวพร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีคนต่างด้าวที่ขออนุญาตเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ต้องแสดงใบสำคัญ
ถิ่นที่อยู่ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทย)
2. หนังสือรับรองนิติบุคคล (อายุไม่เกิน 3 เดือน)
3. ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.๒๐)
4. บอจ.3 (แบบแสดงรายการจัดตั้งบริษัท)
5. บลจ.5 (สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น)
6. แบบคำขอการลงทะเบียนกรมศุลกากร
7. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีบุคคลที่มีอำนาจไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเองได้)
8. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทน) ปิดอากรแสตมป์
 
บุคคลธรรมดา
1. หลักฐานของผู้มีอานาจลงนามทุกคน
1.1 กรณีคนไทย
- บัตรประจาตัวประชาชน
1.2 กรณีบุคคลต่างประเทศ
- สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือ
- ใบสำคัญประจาตัวคนต่างด้าวพร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีคนต่างด้าวที่ขออนุญาตเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ต้องแสดงใบสำคัญ
ถิ่นที่อยู่ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทย)
3. แบบคำขอการลงทะเบียนกรมศุลกากร
4. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีบุคคลที่มีอำนาจไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเองได้) ปิดอากรแสตมป์
5. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทน)
 
ขั้นตอนการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากร
1. จัดเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน
- กรณีนิติบุคคล ผู้มีอำนาจลงนามตามหนังสือรับรองนิติบุคคล ต้องเซ็นต์ชื่อ และประทับตราบริษัทในเอกสารทุกฉบับ
- กรณีบุคคลธรรมดา ต้องเซ็นต์ชื่อในเอกสารทุกฉบับ
2. นำแบบคำขอ และเอกสารประกอบยื่นลงทะเบียนที่กรมศุลกากร
3. เจ้าหน้าที่ศุลกากรรับลงทะเบียน ตรวจสอบความถูกต้อง
4. เจ้าหน้าที่ศุลกากรออกใบตอบรับการลงทะเบียน
5. เจ้าหน้าที่ศุลกากรอนุมัติการลงทะเบียน
- กรณีไม่ถูกต้อง ให้นำเอกส่งกลับไปแก้ไขแล้วนำมายื่นพิจารณาใหม่
- กรณีถูกต้องเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลลงในระบบ
 
เป็นยังไงกันบ้างค้า สำหรับการลงเบียนเป็นผู้นำเข้า – ส่งออก ไม่อยากเลยใช่ไหม เพียงเอกสารครบถ้วนถูกต้อง เจ้าหน้าที่อนุมัติ ก็เป็นผู้นำเข้า - ส่งออก ได้แล้วนะ
โฆษณา