19 เม.ย. 2021 เวลา 23:00 • ธุรกิจ
กรมสรรพากร ... ตีความใหม่ (ย้อนหลังปี 2558 ปัจจุบันยังไม่เปลี่ยนแนวการตีความ) ... ขนส่งพร้อม "ตู้แช่แข็ง" ควบคุมอุณหภูมิ ... จาก "ขนส่ง" กลายเป็น "จ้างทำของ" (บริการ)
From Land Transport to be deemed 'Service' (Hire of Work)
เมื่อ "ผลทางกฎหมาย" Legal Implication ถูก "ตีความเปลี่ยนไป" Tax Consequences "ผลทางภาษี" ย่อมเปลี่ยนตามไปด้วย
1. VAT (Value Added Tax) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการขนส่งพร้อมตู้เย็น Freezer Truck เดิมเคย "ยกเว้น" VAT ... ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ...
ภาษีซื้อ Input VAT ไม่เคยใช้ "เครดิตภาษี" ได้ ...​แต่เป็น "รายจ่าย"​ ในการคำนวณ "ภาษีเงินได้นิติบุคคล" Corporate Income Tax
ภาษีขาย Output VAT เรียกเก็บจากลูกค้าไม่ได้ ...​ แม้ "ค่าบริการ" ราคาถูกลง 7% (ไม่มี VAT) แต่ "ผู้ประกอบการ"​ ขนส่งทางบกในประเทศ ... ถูกกันออกนอก "ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม" ด้วยเหตุยกเว้น VAT แบบเด็ดขาด (เลือกเข้าระบบ VAT ไม่ได้)
ต่างจาก "ขนส่งทางอากาศในประเทศ" และ "ขนส่งทางน้ำ" ... แม้ยกเว้น VAT แต่ "เลือก" เข้าระบบ VAT ได้
หากเลือกได้ ... คุณจะ "เข้า" หรือ "ไม่เข้า" ระบบ VAT ?
ซื้ออะไหล่ / ซื้อชิ้นส่วน / ซ่อมแซม / ทาสี / น้ำมันรถบรรทุกที่ใช้ในการ "ขนส่งทางบก" ... ภาษีซื้อ ... กลายเป็น "รายจ่ายของกิจการ" ...​ คุณจะบริหาร Cash Flow อย่างไร ?
หากเป็น "ขนส่งทางอากาศ" และ "ขนส่งทางน้ำ" ในประเทศ ... เลือกเข้าระบบ VAT เพื่อใช้ Input VAT ได้ ... ไม่กลายเป็น "ต้นทุนของกิจการ" ...​ บริหาร Cash Flow ได้ดีกว่าอยู่นอกระบบ VAT
Tax Neutrality ความเป็นกลางทางภาษี ... ระหว่าง "ขนส่งทางบก" / "ขนส่งทางอากาศ" / "ขนส่งทางน้ำ" ในประเทศ ... อยู่ตรงไหน ?
ผู้ประกอบการขนส่งทางบก ... เดิมยกเว้น VAT ควร "ปรับตัว" อย่างไร ? เมื่อผลการ "ตีความ" ถูก "จับแปลงร่าง" จาก "นอกระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม" กลายเป็น "จ้างทำของ" หรือ "บริการ" ตามความหมายของ VAT ต้องมาอยู่ใน VAT System
1.1 จดทะเบียน VAT / เตรียมพร้อม "ใบกำกับภาษี"
1.2 เรียกเก็บ "ภาษีขาย" จากค่าบริการขนส่งพร้อมตู้เย็น
1.3 ยื่นแบบ ภพ. 30 ใช้ "ภาษีซื้อ" ได้ / จัดเก็บ "ใบกำกับภาษีซื้อ" ให้ถูกต้อง
1.4 เฉลี่ยภาษีซื้อ Input VAT Allocation ให้ถูกต้องระหว่างกิจการ VAT & NON-VAT
1.5 ระวัง Reconcile แล้วพลาดระหว่าง VAT vs Corporate Tax
1.6 จัดเตรียม Input VAT Report & Output VAT Report & Stock Report
1.7 อย่าลืม "พันยอด" ภาษีซื้อ หรือ ขอคืนเป็นเงินสด Cash Refund
1.8 เตรียมพร้อมถูกตรวจสอบภาษี Tax Audit เพราะ VAT เป็น "ภาษีรายเดือน"
1.9 เตรียมพร้อม VAT Accounting / VAT Paper
1.10 เตรียม "คน" ให้เข้าใจ VAT ทั้งระบบภาษี
1.11 เตรียม "ระบบ" งานเอกสารให้พร้อมถูกตรวจสอบภาษี
1.12 จัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับ VAT นาน 5 ปี และ 10 ปีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
1.13 หากมี "สาขา" อย่าลืม "ออกใบกำกับภาษี" แยกตามรายสถานประกอบการ
1.14 VAT หลายสาขา "เลือก" ยื่นรวมกันที่ "สำนักงานใหญ่" ได้
​VAT Compliance ขนาดนี้ ... คุณเปลี่ยนใจ ... เข้าระบบ VAT หรือไม่ ?
2. WHT (Withholding Tax) ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
จาก "ขนส่งในประเทศ" ภาษีหัก ณ ท่ีจ่าย 1% กลายเป็น Service ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3%
ผู้ประกอบการขนส่ง ... "ถูกหักภาษี" มากขึ้น ... ตามมาด้วย "ขอคืนภาษี" มากขึ้น ... คุณ "กล้า" ขอคืนภาษี ... หรือไม่ ? ในเมื่อ "ภาษีขอคืน" Tax Refundable เป็นทรัพย์สินของกิจการ
คุณจะ "กลัวอะไร" ? กับการตรวจสอบภาษี ... หากผิด (ไม่ถูกต้อง) ... แก้ไขให้ถูกต้อง และ อย่าให้ผิดอีก ... หากถูกต้องแล้ว ...จงทำดีต่อไป (แม้ไม่ถูกใจกรมสรรพากร)
ลูกค้า (ผู้ว่าจ้าง) ... รู้ตัวหรือไม่ ? หักภาษี "ผิดอัตรา" ... หน้าที่ / ความรับผิด Tax Liability ... อยู่ที่ใคร ? หักภาษีผิด / นำส่งภาษีขาดไป ... Surcharge 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็นเดือน) ... คำนวณไปเรื่อย ๆ จนถึง 100% (หนึ่งเท่าตัว) ของ "ยอดเงินภาษี" ที่ขาดไป
3. SD (Stamp Duty) อากรแสตมป์
จ้างทำของ (ตามกฎหมาย) กลายเป็น "บริการ" ... ตามความหมายของ VAT ... ต้องไม่ลืม "สัญญาจ้างทำของ" อยู่ใน "ตราสารสัญญา" 1 ใน 28 ประเภท ... ต้องเสีย Stamp Duty 0.1% (ไม่มีเพดาน)
หาก "สัญญาจ้างทำของ" Contract Value มูลค่าเกิน 1 ล้านบาท ... ต้อง "เสียอากรเป็นเงินสด" ที่กรมสรรพากรเท่านั้น ...​
ผู้ประกอบการขนส่งในประเทศ ... ทราบหรือไม่ ? กฎหมายแก้ไขมาตั้งแต่ 5 เมษายน 2558 ... หากติด "ดวงตราอากรแสตมป์" (ไม่ได้เสียอากรเป็นเงินสด) ถือว่า "ไม่ได้เสียอากร"​ (ปรับสูงสุด 6 เท่า)
กฎหมายภาษี ... กำหนดให้ "ผู้รับจ้าง" (คู่สัญญาฝ่ายรับเงินค่าตอบแทน) มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ ... ภาษีเป็น "ต้นทุนของกิจการ" จริงจริง ...
ผู้ประกอบการขนส่งในประเทศ ... กลายเป็น "ผู้รับจ้างทำของ" ... บริหาร "ต้นทุนบริการ" อย่างไร ? Cost of Service สูงขึ้น ... ขึ้นค่าบริการได้หรือไม่ ?
4. วัตถุประสงค์บริษัท ... จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ DBD
เมื่อกรมสรรพากร "ตีความกฎหมาย" และ "ตีความภาษี" เปลี่ยนไป ... กิจการต้อง "จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์" ใน "หนังสือรับรองบริษัท" และ "หนังสือบริคณฑ์สนธิ" หรือไม่ ?
5. งบการเงิน Audited Financial Statements
ผู้สอบบัญชี ... ต้อง "เปลี่ยน" การให้ความเห็นในงบการเงิน ... จาก "ขนส่ง" เป็น "บริการ" หรือไม่ ?
ผลกระทบการ "ตีความภาษี" นี้ ... เปลี่ยนแปลง "การบันทึกบัญชี" และ "มาตรฐานบัญชี" ของ "ผู้ประกอบการขนส่งทางบกในประเทศ" หรือไม่ ?
หาก "ผู้ประกอบการขนส่งทางบก" อยู่ใน "ตลาดหลักทรัพย์" SET ... ต้อง "ย้ายกลุ่มธุรกิจ" ... หรือไม่ ?
6. Insurance ประกันภัย
ความคุ้มครองตาม "กรมธรรม์ประกันภัย" ต้องเปลี่ยนแปลง "การคุ้มครอง" จาก "ขนส่ง" เป็น "บริการ" ตามผลการตีความของกรมสรรพากร ... หรือไม่ ?
ค่าเบี้ยประกัน ... เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง ?
Segmentation & Risk ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Service หรือ Transport ตามเดิม ...ยังคงต้องค้นหา "ทางออก" By Practice ต่อไป
7. Bank Credit Facility
ธนาคารปล่อยสินเชื่อให้ "ผู้ประกอบการขนส่ง" ... จะกลายเป็น "ผู้ให้บริการ" แบบ Logistics Service หรือไม่ ?
หรือ ปล่อยให้เป็นเรื่องของ "กรมสรรพากร" ?
8. ข้อพิพาท Court Case ... ระหว่าง "ผู้ประกอบการขนส่ง" และ "ลูกค้า"
หากมี Dispute & Litigation Case การฟ้องร้องคดี "มูลคดี" เป็นเรื่อง "ขนส่ง" หรือ "จ้างทำของ"
กรมสรรพากรตีความ "เรื่องหนึ่ง" ... ศาลตีความ "เรื่องเดียวกัน" ... ไม่จำเป็นต้อง "คิดเหมือนกัน"
ตัวอย่าง "คดีภาษี" จำนวนมาก Case Study สอนเราว่า ...​ ศาลภาษี / ศาลฎีกา (Neutral Agency) คิดต่างจาก Tax Collector (กรมสรรพากร) ...
เสียดายว่า "ศาลภาษี" อยู่ใน "ระบบศาลยุติธรรม" ... หากย้าย "ศาลภาษี" ไป "ศาลปกครอง" ตาม "ระบบศาลคู่" ... ความยุติธรรมทางภาษี Tax Justice จะพัฒนามากขึ้นกว่านี้ ... หรือไม่ ?
///////////////////
ติดตาม Legal & Tax Update ประจำได้ที่ LINE Official Account: @chinapatonelaw
ชินภัทร วิสุทธิแพทย์
ONE Law Office
ONE Law Academy
Local Transport vs Service (Hire of Work) ทำไม ? ไม่ใช่ "ขนส่ง" กลายเป็น "บริการ"
โฆษณา