19 เม.ย. 2021 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
ผู้บริโภคต้องรู้ก่อนซื้อ !!!
กฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภค สร้างขึ้นเพื่อมุ่งที่จะคุ้มครองประชาชนไม่ให้ได้รับความเดือดร้อน เสียหายจากการซื้อสินค้าและใช้สอยสินค้า รวมถึงการเข้ารับบริการด้วย
ในเบื้องต้นนั้นจะมีหลักใหญ่ใจความในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ดังนี้
- ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับข่าวสาร การพรรณนาศัพคุณ คุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการนั้น
- ผู้บริโภคมีอิสระในการเลือกสินค้าและบริการได้ด้วยตนเอง
- ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ
- ผู้บริโภคีสิทธิได้รับควาเป็นธรรมในการทำสัญญ
- ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
ข้อปฎิบัติของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ มีผลทำให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ดังนี้
1. ผู้บริโภคมีหน้าที่ใช้ความระมัดระวังตามสมควร ในการเลือกซื้อสินค้าหรือเลือกใช้บริการ โดยการให้ความสำคัญกับฉลากสินค้า เนื้อหาการโฆษณา เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจซื้อ
ฉลากสินค้าที่กฎหมายกำหนด ต้องระบุข้อความดังต่อไปนี้
- ชื่อประเภท หรือชนิดของสินค้า เพื่อให้เข้าใจว่าสินค้านั้นคืออะไร (กรณีเป็นสินค้านำเข้า ต้องระบุประเทศที่ผลิต)
- ชื่อเครื่องหมายการค้า
- สถานที่ตั้งของผู้ผลิต หรือผู้สั่ง หรือผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักร
- แสดงขนาด ปริมาณ หรือน้ำหนักของสินค้า
- แสดงวิธีใช้
- แสดงข้อเสนอแนะในการใช้ หรือข้อเตือน
- วันเดือนปี ที่ผลิต วันเดือนปี ที่หมดอายุ หรือวันเดือนปี ที่ควรใช้เพื่อให้เกิประโยชน์สูงสุด
- ราคาขาย หน่วยเป็นเงินบาทหรืออาจเป็นสกุลเงินอื่นก็ได้
2. ผู้บริโภคควรสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคุณภาพสินค้าจากผู้ขาย หรือผู้เคยบริโภคสินค้านั้น
3. ผู้บริโภคควรศึกษาเงื่อนไขหรือข้อจำกัดของสินค้า เช่น วันเดือนปี ที่ผลิตหรือวันหมดอายุ วิธีการใช้ การเก็บรักษา ข้อควรระวัง เป็นต้น
4. ผู้บริโภคสามารถร้องขอให้ตรวจสอบคุณภาพและปริมาณของสินค้า ว่าเป็นไปตามที่ระบุในฉลากหรือไม่
5. ผู้บริโภคไม่ควรหลงเชื่อคำโฆษณา แต่ควรศึกษาเงื่อนไขรายละเอียดอื่นๆเพิ่มเติม
- ข้อความโฆษณาที่ถือว่า ไม่เป็นธรรมแก่ผู้บริโภค เช่น โฆษณาที่เป็นเท็จ โฆษณาเกินความจริง รวมถึง ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของสินค้าหรือบริการ
6. ผู้บริโภคควรเก็บพยานหลักฐาน อาจจะเป็นสินค้าที่มีปริมาณหรือคุณภาพไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ที่ระบุไว้ในฉลาก สถานที่ซื้อสินค้า และอาจจะต้องเก็บเอกสารการโฆษณา หรือใบเสร็จการรับเงินเพื่อเป็นหลักฐานในการอ้างอิง
7. หากผู้บริโภคมีสัญญาผูกพันตามกฎหมาย จะต้องอ่านและตรวจสอบความหมายของข้อความทั้งหมดในสัญญาให้จัดเจน หรือข้อคำปรึกษาจากผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมายประกอบก่อนเซ็นต์สัญญา
ผู้บริโภคถูกเอาเปรียบสามารถ ยื่นร้องเรียนกับ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ส่วนในต่างจังหวัด สามารถยื่นร้องเรียนได้ที่ คณะกรรมการการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด
เอกสารที่ใช้ในการร้องเรียน
1. บัตรประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. ที่อยู่ที่สามารถติดต่อกับผู้ประกอบธูรกิจ
4. ใบจอง, สัญญาจอง, สัญญาจะซื้อจะขาย หรือโบรชัวร์แผ่นพับ
5. เอกสารการโฆษณาหรือภาพถ่าย
6. ใบเสร็จรับเงิน, เอกสารการจ่ายเงิน หรือใบเสร็จชำระค่างวด
7. เอกสาร ระหว่างผู้ร้องเรียนกับผู้ประกอบธุรกิจ
8. เอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาหนังสือรับรองทะเบียนนิติบุคคล เป็นต้น
กรณีที่ผู้บริโภคไม่สามารถร้องเรียนได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทนได้ โดยการทำหนังสือมอบอำนาจ
การขายสินค้ออนไลน์
คือ ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ผ่านทางระบบพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์หรือออนไลน์
เงื่อนไขในการประกอบธุรกิจออนไลน์
แสดงราคา หรือค่าบริการ บอกรายละเอียดสินค้า ประเภท ชนิด ลักษณะ น้ำหนัก
ต้องเขียนให้ชัดเจน ครบถ้วน เปิดเผย สามารถอ่านได้โดยง่าย
แสดงราคา หรือค่าบริการ ให้แสดงราคาต่อหน่วย เป็นตัวเลขภาษาใดก็ได้แต่ต้องมีตัวเลขอารบิคกำกับอยู่ด้วย
ข้อความหรือรายการที่แสดงควบคู่กับราคาจำหน่ายหรือบริการ ต้องเป็นภาษาไทย แต่จะมีภาษาอื่นด้วยก็ได้
กรณีที่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่น จะต้องแสดงให้ชัดเจน ครบถ้วนและเปิดเผย โดยแสดงควบคู่กับราคาสินค่าหรือค่าบริการ
การแสดงราคาจำหน่ายปลีกสินค้าหรือค่าบริการ ต้องตรงกับราคาที่จำหน่าย หรือค่าบริการที่เรียกเก็บจริงจากผู้ซื้อ
โฆษณา