19 เม.ย. 2021 เวลา 10:00 • สุขภาพ
⁉️COVID-19 ทำให้ “จู๋ไม่แข็ง” จริงหรือมั่ว⁉️
ถ้าโควิดจะทำให้ “จู๋ไม่แข็ง” เพิ่มขึ้น 3 เท่า!!
..ขอยอมปอดบวมยังดีกว่า😫😭😷
🍌จู๋ไม่แข็ง จากการติดเชื้อโควิด จริงหรือไม่??
คนติดเชื้อก็คงกังวล เลยไม่มีอารมณ์ทางเพศรึป่าว🤔
หรือว่าหลังหายแล้ว ก็จะแข็งยากกว่าเดิม🤔
จะไม่แข็งไปตลอดหรือจะไม่แข็งชั่วคราว🤔
🌟 พ.แพร์ จะมาแชร์เรื่อง น้องชายไม่แข็งจากการติดโควิด
เห็นหัวข้อเรื่องนี้ในวรสารทางการแพทย์มาหลายวันแล้วค่ะ
แต่พึ่งมีโอกาสได้มาอ่านเรื่องนี้อย่างละเอียด
ถึงไม่ใช่เรื่องหญิง แต่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงแน่นอนเน้อะ😅
ขอบคุณภาพจาก www.huffpost.com
🌟 เริ่มจาก intro เรื่อง “น้องชายไม่แข็ง” กันเล็กน้อย
⁉️อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
Erectile dysfunction (ED) คืออะไร
🍌ภาวะที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งได้พอที่จะสอดใส่หรือมีเซ็กส์ได้
= แข็งยาก คงความแข็งไม่ได้นาน +/- อารมณ์ทางเพศลดลง
🍌เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุดของปัญหาเรื่องเพศของผู้ชาย
และเป็นปัญหาน่าหนักใจของทั้งคนเป็นและคู่นอน
⁉️การแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย เกิดจากปัจจัยอะไร?
🍌ฮอร์โมนเพศชาย
🍌การไหลเวียนของเลือด
🍌nitric oxide ที่เป็นสารสื่อประสาทบริเวณอวัยวะเพศ
นอกจากนี้ อายุที่มากขึ้น โรคประจำตัวบางอย่าง การใช้ยาหรือสารเสพติด ความเครียดและคุณภาพชีวิตก็ส่งผลด้วยเช่นกัน
1
⁉️COVID-19 ติดต่อผ่านทางน้ำเชื้อหรือน้ำอสุจิหรือไม่?
🍌ปัจจุบันยังไม่มีรายงานที่ชัดเจนเรื่องเชื้อ SARS‐CoV‐2 หรือเชื้อโควิด ในน้ำอสุจิผู้ชาย แต่อย่างไรก็ตาม การป้องกันการติดต่อ ยังแนะนำงดเพศสัมพันธ์ช่วงที่ติดเชื้อ
1
++ ติดตามฟังเรื่อง sex ในช่วงโควิด ที่ พาเสียว EP.3
1
🌟 อวัยวะเพศไม่แข็งตัว กับ การติดเชื้อโควิด19🌟
(Erectile dysfunction and COVID‐19)
..ลงตีพิมพ์ในวารสาร Andrology วันที่ 20-03-21..
📌 ศึกษาในช่วงที่โควิดระบาดใหม่ๆช่วง April-May 2020
ในชายอิตาลี 100 คน แบ่งเป็นคนที่ติดเชื้อCOVID-19 จำนวน 25 คน และชายที่ไม่ติดเชื้อ 75 คน (เทียบแบบ3:1)
1
📌 เกิดภาวะอวัยวะเพศไม่แข็งตัว (ED)
พบในชายที่ติดเชื้อโควิดได้สูงกว่าชายปกติ ถึง 3 เท่า ❗️
🍌พบภาวะ ED 28% (7/25) ในคนที่ติดเชื้อโควิด
🍌พบภาวะ ED 9.33% (7/75) ในคนที่ไม่ติดเชื้อโควิด
1
ทั้งนี้ หลังจากตัดปัจจัยอื่นๆที่อาจส่งเสริมให้เกิดภาวะนี้ออกไปแล้ว (ได้แก่ อายุ น้ำหนักตัว) ก็ยังพบว่าการติดเชื้อโควิดส่งผลต่อการเกิดEDหรือจู๋ไม่แข็งได้เพิ่มขึ้นจริง😨😰😥
ในทางกลับกัน พบว่าในคนที่เดิมมีภาวะนี้อยู่แล้ว อาจมีโอกาสติดเชื้อโควิดได้มากกว่าด้วย😱
..⁉️ แล้วสาเหตุคืออะไร?
หลายคนอาจสงสัยว่าการติดเชื้ออาจทำให้เกิดความกังวล และคุณภาพชีวิตเลยเปลี่ยนไป ทำให้ไม่มีอารมณ์ จู๋เลยไม่แข็งได้หรือไม่?
1
📌 การอธิบายกลไกหรือสาเหตุนั้น ยังไม่ชัดเจน
แต่จากการศึกษานี้ ได้วัดระดับคุณภาพชีวิตหรือความเครียดของคนไข้ด้วย และตัดปัจจัยดังกล่าวออกไป รวมถึงตัดปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย ได้แก่ อายุ และน้ำหนักตัว
🍌จากการศึกษานี้อธิบายว่าสาเหตุที่หลอดเลือดบริเวณนั้นถูกรบกวนและส่งผลต่อการแข็งตัวได้
🍌อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งก็คือการติดเชื้ออาจไปรบกวนการหลั่งฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) ซึ่งมีผลต่อการแข็งตัวได้ด้วยเช่นกัน
1
📌 อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ ยังบอกไม่ได้ชัดเจนว่าผลจะเป็นเพียงระยะสั้น หรือจะส่งผลระยะยาวต่อไป
🍌อีกทั้ง ยังศึกษาในคนกลุ่มน้อย และเป็นชายอิตาลีเท่านั้น
🍌ยังไงเราคงปักใจเชื้อเรื่องนี้ไม่ได้ซะทีเดียว แต่ก็คิดว่าการศึกษานี้ก็คงเป็นจุดเริ่มต้นของความรู้ใหม่ๆที่จะตามมาค่า
🗒 Note: ข้อเพิ่มเติมในการศึกษา
- แบบทดสอบที่ใช้วัดเรื่องความกังวลคือ GAD-7 (Generalized Anxiety Disorder Scale) และ PHQ‐9 (Patient Health Questionnaire)
- แบทดสอบที่ใช้วัดความแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย คือ IIEF‐5 และ/หรือ Sexual Health Inventory for Men (SHIM)
🌟 พ.แพร์ สรุปให้
📌 มีการศึกษาพบว่า COVID-19 ทำให้ “จู๋ไม่แข็ง” จริง
🍌 คาดว่าสาเหตุจากการที่หลอดเลือดถูกรบกวน เลือดไปเลี้ยงได้ไม่ดีจึงแข็งตัวยากขึ้น
🍌แต่ศึกษาในคนกลุ่มน้อยเพียง100คน และเป็นชายอิตาลีเท่านั้น
และการที่อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัวอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย
📌 ส่วนตัวคิดว่าการศึกษานี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นความรู้ใหม่ๆ
จะเชื่อถือได้หรือไม่นั้น คงต้องรอการศึกษาที่ใหญ่กว่านี้ หลายๆการศึกษา
สำหรับคนไทย การศึกษาในกลุ่มคนเอเชียน่าจะผลใกล้เคียงกันมากกว่า
📌 อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อโควิด ยังไงก็ไม่ส่งผลดีอยู่แล้ว
ฉะนั้น การป้องกัน และหลีกเลี่ยงการติดเชื้อนั้นดีที่สุด
🌟 ล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัย และหลีกเลี่ยงที่ชุมชน นะคะ
2
.
.
.
ฝากติดตามฟัง “Porpear” ได้ที่
#porpear #porpearpodcast #porpearchannel
#porpearพแพร์แคร์เรื่องหญิง #พแพร์แชร์ให้รู้
#เรื่องเพศกับพแพร์ #จู๋ไม่แข็ง #โควิดกับจู๋ไม่แข็ง
Ref.
- Andrea Sansone, et al. “Mask up to keep it up”: Preliminary evidence of the association between erectile dysfunction and COVID‐19. Andrology. 20 March 2021
- ขอบคุณภาพจาก www.huffpost.com

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา