Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
3chaiSociety
•
ติดตาม
21 เม.ย. 2021 เวลา 01:29 • การเกษตร
คู่มือเกษตรกรไทย:ปลูกพืชอย่างไร
ให้ประสบความสำเร็จ
ขออภัยถ้าเรื่องนี้พาดพิงถึงถั่วงอก
จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด19
ที่ไม่ค่อยจะสู้ดีในปัจจุบัน
ทำให้
ผู้ที่มีงานประจำทำอยู่แล้วอยากหาอาชีพเสริมหรือเบื่องานประจำ อยากผันตัวเองมาลองทำอาชีพเกษตรให้ประสบความสำเร็จ
เปิดดูคลิปเกษตรในยูทูปบางทียิ่งดูยิ่งงง
จะทำอย่างไร?
วันนี้ผมมีแนวทางสำหรับผู้ที่มีความสนใจ
ในการทำเกษตรสายเขียว(ปลูกพืช)มาฝากครับ
เครดิตภาพ:freepik
จากประสบการณ์กว่า 15 ปีที่ผมคลุกคลีตีโมงอยู่กับพี่น้องเกษตรกรทั้งที่ประสบความสำเร็จและกำลังจะประสบความสำเร็จ
ที่ล้มหายตายไปไม่นับ😊
ก่อนหน้านั้น 5 ปีทำงานเป็นพนักงานขายพืชผัก
ผลไม้ในห้างใหญ่แถวอ่อนนุช
ได้รับประสบการณ์มากมายเลยอยากจะนำมาเขียนไว้เตือนความจำตนเองก่อนที่ความทรงจำ
อาจเลอะเทอะ
ขออภัยพูดผิดๆ
ก่อนที่ความทรงจำอาจเลอะเลือน
ผมจึงได้ลองรวบรวมปัจจัยสำคัญพอสังเขปที่คิดว่าจะทำให้พี่น้องเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชให้ประสบความสำเร็จมี 6 ข้อ ดังนี้ ครับ
1) ศึกษาหาความรู้พืชที่เราสนใจก่อนจะลงมือปลูก
อย่างละเอียด
เริ่มจากสำรวจตัวเองดูว่าในอดีตที่ผ่านมาเราเคย
ชื่นชอบพืชชนิดใดมากเป็นพิเศษ หรือเคยปลูกพืชชนิดใดเป็นงานอดิเรกบ้างหรือไม่
บางคนชอบปลูกผัก บางคนชอบไม้ดอกไม้ประดับ
บางคนอาจชอบเพาะถั่วงอก ฯลฯ
ถ้าอยู่กับสิ่งนั้นได้เป็นวันๆ ไม่เบื่อ
ทำแล้วมีความสุข คิดถึงทีไรชื่นใจทุกที
อย่างนี้มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงมากครับ
ถ้าจะเอารายได้เป็นตัวตั้ง เช่น ทุเรียนราคาดี
อยากปลูกทุเรียน โกโก้มา กาแฟ ยางพารารวย
ก็แห่ไปปลูกตามกระแสแบบนี้ไม่ดีมีโอกาส
ล้มเหลวสูง
2) การตลาด
อาจจะต้องศึกษาหาข้อมูลเรื่องการตลาดไว้บ้าง
ก็จะช่วยได้มาก
ปลูกแล้วก็ต้องหาแหล่งขาย แต่ถ้าปลูก
กินเองในครอบครัวก็ว่าไปอย่าง
ลองสำรวจดูครับว่า
1) พืชที่เราสนใจจะปลูกมีใครปลูกบ้างแล้วหรือยัง?
ถ้ามีคนที่ปลูกอยู่แล้วหรือมีกลุ่มเกษตรกรที่เขาทำ
ประสบความสำเร็จอยู่แล้วก็อาจขอเข้าไปเป็นสมาชิกร่วมกับเขาก็ได้
เพราะถ้าทำคนเดียวมันเปลี่ยวใจ อำนาจการต่อรองกับตลาดมีน้อย โอกาสที่จะประสบความสำเร็จยาก
หรือไม่เช่นนั้นก็ลองมองไปหาพืชตัวอื่นที่ยังไม่มีใครปลูก ฉีกแนวออกไปเลยน่าจะดีกว่า
เช่น
เขาปลูกหน่อไม้ เราปลูกชะอม
เขาปลูกส้มเราปลูกเงาะ
เขาเพาะถั่วงอกเราปลูกถั่วเขียว อย่างนี้เป็นต้น
2) จะขายที่ไหน ขายอย่างไร
มีโรงงานรับซื้อหรือไม่ถ้ามีก็ถือว่าโชคดีครับ
ตัวอย่าง
เช่น อำเภอวังสะพุงบ้านผมมีโรงงานน้ำตาล 2 โรง
ใกล้ๆกันอำเภอเอราวัณมีอีก 1 โรง
ทำให้เกษตรกรที่นี่ส่วนใหญ่ตัดสินใจปลูกอ้อย
เพราะมีตลาดรองรับชัดเจนสร้างรายได้แต่ละปี
ไม่น้อย
แต่ผมขอบายไม่ใช่แนว
เพราะผมชอบถั่วงอก
😊
ถ้าไม่มีโรงงานรับซื้อจะทำอย่างไร
มีตลาดสด หรือตลาดนัดไหม
ถ้าอยู่ไกลหรือไม่มีตลาดสด ตลาดนัด
อาจต้องไปศึกษาการทำตลาดออนไลน์
เช่น การโพสท์ลงขายในเฟสบุ้ค ยูทูป หรือ
อินสตราแกรม ฯลฯ
8
เพราะปัจจุบันมีคอสสอนการตลาดออนไลน์
ฟรีมากมายทั้งในยูทูป และ เฟสบุ้ค
หรือถ้าใครพอมีเงินก็อาจไปเรียนแบบจ่ายเงินก็ได้
(ครูสอนเขาจะได้มีรายได้บ้าง) 😊
กรณีศึกษา
สมมุติว่าเราชอบกินถั่วงอก อยากเพาะถั่วงอกขาย
สร้างรายได้เสริมหรือทำเป็นอาชีพหลัก
เครดิคภาพจาก facebook:เจนตา แก้วดวงดี
ศึกษามาแล้วว่าถั่วงอกนี้ดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย
ทำก็ง่าย ใช้เงินลงทุนไม่มาก ขั้นตอนการทำก็ไม่
ยุ่งยาก น่าจะพอไปไหว
ในระแวกนั้นก็ยังไม่มีใครทำ ไม่มีโรงงานรับซื้อ
ไม่มีตลาดสด ตลาดนัด ไม่มีร้านอาหาร
(ไม่มีอะไรเลย)โจทย์หินมาก😊
แต่เมื่อสำรวจดูแล้วว่าคนในชุมชนชอบกิน
ถั่วงอกมากน่าจะพอขายได้
เราอาจเริ่มต้นด้วยวิธีการส่งเสริมการขายด้วยวิธีการง่ายๆ คือเอาไปฝากเพื่อนๆ ญาติพี่น้องของเราเขาจะได้ช่วยโปรโมทให้อีกทาง
หรือเอาถั่วงอกไปถวายพระที่วัด ทายก ทายิกา
ที่ไปจังหัน เพล เขาจะได้เห็นสินค้าของเรา
แต่อย่าลืมขนมจีนน้ำยาไปด้วยนะ
เดี๋ยวพระจะงงว่าเอามาให้ฉันกับอะไร 😊
เวลามีบุญมีงานที่วัดอาจไปทำโรงทานโชว์เมนูเด็ด
สักอย่าง แต่มีข้อแม้คือต้องกินกับถั่วงอกหรือมีถั่วงอกเป็นองค์ประกอบด้วยจึงจะเข้าทาง
หรือจะออกเดินสายไปทำโรงทานตามโรงเรียน
โรงพยาบาลก็น่าจะดี
ยิงปืนนัดเดียวได้นกตัวเบ้อเริ่ม ได้ทั้งบุญ
ได้ทั้งกล่องของขวัญ
แต่ช่วงนี้ต้องระวังโควิด 19 ด้วยนะครับ
จากนั้นพอมีคนเริ่มรู้จักเรามากขึ้น
ต่อไปก็อาจจะใช้วิธีการขายตรงโดยใช้จักรยาน หรือมอเตอร์ไซค์เพื่อนำเสนอสินค้าถึงประตูหน้าบ้านเลยก็ได้
หรือที่เราเรียกรถพุ่มพวงนั่นแหละครับ
ไม่รู้ใครตั้งชื่อให้
เคยมีปราชญ์พูดเอาไว้น่าคิดครับว่า
"ไม่มีความจน ในหมู่คนขยัน"
สู้ๆ นะครับ
ที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งมวลผมเคยลองทำมา
เกือบทุกข้อแล้วบอกได้เลยครับว่าดี
😊
3) เงินทุน
ศึกษาต้นทุนกำไร ให้ละเอียดครับ
ต้องมั่นใจว่าทำแล้วจะไม่ขาดทุน
โอกาสได้มากกว่าเสีย
ใช้หลักสวาท
ขออภัยพูดผิด
ใช้หลักสวอทมาช่วยคิดวิเคราะห์ได้ยิ่งดี
อยากให้เริ่มต้นทำจากเล็กๆ ก่อน
เอาเท่าที่เราไหว ถ้าเจ๊งไปก็ไม่ถึงกับ
ต้องขายรถ ขายบ้าน
เพราะอะไรที่เริ่มจากใหญ่ๆ แล้วเวลาพลาดขาดทุน
มันเจ็บหนัก
ค่อยเป็นค่อยไป เก็บเล็กผสมน้อยน่าจะดีกว่า
"ช้าๆได้พร้าเล่มงามครับ"
😊
4) ที่ดิน
น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญของเกษตรกรเลยก็ว่าได้
ถ้าไม่มีก็คงต้องเช่า
ใครที่มีมรดกตกทอดจากพ่อแม่ยินดีด้วยครับ
กอดๆ ให้แน่นๆเลยครับต่อไป(ไม่น่าเกิน 50 ปี)
มันจะมีราคาแพงมากขึ้นกว่านี้หลายเท่า
ถ้าคิดจะเพาะถั่วงอกคงไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่
มากมาย
แค่มีที่ว่างๆ ตรงไหนสักแห่งของบริเวณบ้าน
ก็น่าจะทำได้แล้ว
แต่ถ้าต้องการปลูกทุเรียนเพื่อส่งออกคงต้องใช้พื้นที่มากพอสมควร
เกษตรกรมีดินดี ถือว่าได้เปรียบ
มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จสูง
5) สภาพแวดล้อม ดิน ฟ้า อากาศ
เครดิคภาพ facebook:เด็กดื้อ
การเลือกพืชที่จะนำมาปลูกต้องคำนึงถึงสภาพ
ดิน ฟ้า อากาศด้วย เช่น การปลูกทุเรียน
ในพื้นที่ภาคอีสานทำได้ยากมากๆ ที่ปลูกได้ก็มี
แต่ไม่มาก อาจไม่คุ้มทุน
ศึกษาให้ดีครับพืชบางอย่างอาจไม่เหมาะกับพื้นที่ของเราก็ได้
มีตัวอย่างสุดคลาสสิครัฐบาลในอดีตสมัยหนึ่งเคยส่งเสริมให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกยางพาราที่ภาคอีสาน 1 ล้านไร่
ปรากฎว่าหลายพื้นที่ยางตายเรียบ
10 ปี ต่อมาราคาร่วงโค่นทิ้งอีกเพียบ
ถามว่าใครรวย?
ตอบ พ่อค้าขายพันธุ์ยางรวยตามระเบียบ(พรรค)
ใครซวยคงไม่ต้องบอกนะครับ 😊
ก่อนคิดจะปลูกพืชอะไรลองเข้าไปขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานพัฒนาที่ดินใกล้บ้านท่าน ก็ไม่เสียหาย
ดินดีมีแล้ว
ถ้ามีแหล่งน้ำดี เช่น ถ้าที่ดินอยู่ในเขตชลประทาน
ก็ยิ่งดี เพราะจะช่วยทุ่นแรงได้มาก
ถ้าแค่เพาะถั่วงอกก็คงจะไม่ต้องใช้น้ำมากมายอะไร
แต่ถ้าต้องการปลูกทุเรียนอันนี้ต้องคิดหนัก
ดินดี น้ำดีมีแล้วสิ่งที่จะต้องพิจารณาต่อไปคือ
ดูว่ารอบๆ ที่ดินที่เราจะทำเกษตรชาวบ้านเขาปลูกอะไรกัน
เช่น เราจะปลูกถั่วเขียวเพื่อเอาไปเพาะถั่วงอกขาย
แต่รอบๆ พื้นที่เขาปลูกอ้อยโรงงาน
อย่างนี้อาจต้องวางแผนจัดการให้ดีไม่งั้นจบเกม
เพราะเกษตรกรที่ปลูกอ้อยโรงงานเขาจะฉีดพ่นสารเคมีปราบวัชพืชประเภท เถา เครือ เช่น
ทู โฟร์ ดี, ไตรคลอเพอร์ หรือทู โฟร์ ดี +
พิคลอแรม เป็นต้น
ฉนั้นต้องเลือกช่วงเวลาปลูกให้ดี
6) แรงงาน
ต้องยอมรับครับว่าแรงงานภาคเกษตรนั้นหายากจริงๆ
สิ่งที่พอจะทำได้คือถ้าเรามีเงินทุนไม่มาก
อาจต้องใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก
หรือใช้บริการแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน
ใครที่ยังไม่มีคู่รีบหาคู่ซะเดี๋ยวลูกโตไม่ทันใช้😊
ถ้าเพาะถั่วงอกอาจพิจารณาใช้บริการแรงงานผู้สูงวัยก็ดีนะคุณตาคุณยายจะได้มีงานทำ คงพอทำได้แหละ เพราะงานไม่หนัก
แถวบ้านผมเห็นหลายคนจ้างบรรดาสอวอไป
เก็บพริก เก็บมะเขือ เก็บส่วย ขออภัยพูดผิดๆ
เก็บมะนาว ฯลฯ
ท่านก็พอทำได้นะครับแม้จะไม่คล่องตัว
เท่าคนหนุ่มสาวก็ตาม
สอวอบางคนไปตัดอ้อยได้เฉยเลยทั้งๆที่อายุเกิน 60 ปีเข้าไปแล้ว
แต่ถ้าใครคิดอยากปลูกข้าวหอมมะลิอันนี้คงต้องใช้เครื่องจักรกลการเกษตร หรือใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยสอวอของเราคงเกี่ยวข้าวไม่ไหว
😊
ที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งมวลเป็นแต่เพียงส่วนเล็กน้อยเท่านั้น รายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ยังมีอีกมาก
แต่จะไม่ขอกล่าวในบทความนี้เกรงว่าจะยาวไป
(บางท่านบ่นนี่ขนาดว่าไม่ยาว
ถ้ายาวมันจะไม่ไปถึงสุไหงโก ลกเหรอ?)
เป็น 6 ข้อ ที่ผมเรียบเรียงมาพอสังเขป
พอให้เห็นภาพ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจ(บ้าง)
😊
การทำเกษตรให้ประสบความสำเร็จนั้น
ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
เกษตรกรก็คล้ายกับผู้ประกอบธุรกิจคนหนึ่งนั่นแหละครับ
ต้องใช้ทุน ใช้แรงงาน ใช้สมอง ใช้สรรพกำลังมากมายสารพัด กว่าที่จะได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพออกมาจำหน่ายให้เราได้ชิม ได้ใช้ ได้ชื่นชม
ถ้ามีโอกาสซื้อสินค้าเกษตรครั้งต่อไป
ขอร้องอย่าต่อรองราคาเลยนะครับ
ยืด อก หยิบกระเป๋า จ่ายตังค์ แล้วพูดดังๆ
ออกไปว่า "ไม่ต้องทอน"
(เพราะนับมาแล้วพอดีเป๊ะ!)
😊
😁
เครดิดภาพ:marketteer
เกษตรเอส'Society
"อยากเห็นคนในสังคมนี้
มีรอยยิ้มและความสุข"
หากชอบช่วยกดไลค์ กดแชร์ กดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้ผมและทีมงานด้วยนะครับ หรือจะเข้ามาเขียนคอมเม้นต์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ยินดีครับ
ติดตามอ่านบทความได้ที่
https://www.blockdit.com/smartago
1
อ้างอิง
https://youtu.be/ECKnVStMMpo
https://marketeeronline.co/archives/161682
http://www.mitrpholmodernfarm.com/news
สำหรับท่านที่ยังไม่ได้อ่าน ep.1
เขียนไว้นานแล้วลองดูครับเผื่อชอบ
https://www.blockdit.com/posts/5ceb3a42e5125b11bdde11df
เครดิตภาพ pixabay
😁
11 บันทึก
21
12
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คู่มือเกษตรกรไทย
11
21
12
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย