19 เม.ย. 2021 เวลา 10:31 • ธุรกิจ
‘ฮาวเวิร์ด ชูลท์ซ’ จากเด็กบ้านจน เงินพาพ่อไปหาหมอยังไม่มี
สู่มหาเศรษฐีแสนล้านเจ้าของร้านกาแฟ ‘สตาร์บัคส์’
2
เคยได้ยินประโยคที่ว่า “คนเรามีต้นทุนชีวิตไม่เท่ากัน” ใช่ไหม? เชื่อว่าทุกคนเคยได้ยิน หรือหลายคนรู้สึกคล้อยตามประโยคนี้จนคิดไปว่า เกิดมาไม่รวย ไม่เก่ง ไม่ได้คาบช้อนเงินช้อนทองมา จะเอาปัญหาที่ไหนไปสร้างธุรกิจให้ยิ่งใหญ่เหมือนพวกเศรษฐีที่มีเพียบพร้อม
แล้วถ้าการที่จะเป็นอภิมหาเศรษฐีเจ้าของร้านกาแฟ 26,000 สาขาที่คนทั่วโลกรู้จักอย่าง ‘สตาร์บัคส์’ (Starbucks) ก็คงจะต้องเป็นคนที่ฐานะทางครอบครัวต้องมีสินทรัพย์ระดับหมื่นล้านแสนล้านแน่ๆ เลย ถึงได้ครองอาณาจักรร้านกาแฟที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกนี้ได้
ถ้าเป็นเช่นนั้นคุณอาจคิดผิดไปไกลเลยทีเดียว เพราะในความเป็นจริงแล้วเจ้าของเชนร้านกาแฟสตาร์บัคส์ คืออดีตเด็กยากจนที่แม้แต่เงินจะไปหาหมอยังไม่มี และครอบครัวทำอาชีพรับจ้างรายวันที่รายได้ไม่กี่ดอลล่าร์
อ่านดูแล้วอาจดูเป็นเรื่องที่ขัดแย้งกับธุรกิจที่เขามีตอนนี้ใช่ไหม? แต่ในความเป็นจริงแล้วนี่คือชีวิตของ ‘ฮาวเวิร์ด ชูลท์ซ’ (Howard Schultz) ที่กว่าเขาจะมายืนอยู่แถวหน้าของนักธุรกิจระดับโลกได้ เขาไม่ได้เกิดมาสบายบนกองเงินกองทองอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เขาสร้างตัวเองขึ้นมาด้วยความขยันและความฉลาดที่เป็นจิ๊กซอว์สำคัญทำให้เขาครองอาณาจักรธุรกิจร้านกาแฟที่มีมูลค่าสูงถึง 8 แสนล้านบาท
1
🔵 เด็กชายฮาวเวิร์ด กับครอบครัวที่แม้แต่เงินไปหาหมอยังไม่มี
ฮาวเวิร์ด ชูลท์ซ เกิดเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ในปี 1953 เป็นชาวนครนิวยอร์ก อาศัยอยู่ในย่านบรู๊คลิน พ่อและแม่ของเขามีฐานะปานกลางค่อนไปทางยากจน มีรายได้จากการทำงานรับจ้างทั่วไปรายวันได้เงินเพียงพอประทังชีพ หรือบางวันอาจจะไม่พอด้วยซ้ำ
ด้วยการที่ครอบครัวของฮาวเวิร์ดมีด้วยกัน 5 ชีวิต ซึ่งรวมพ่อ แม่ พี่ชาย และน้องสาว ทำให้ภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวค่อนข้างสูง และด้วยการอาศัยอยู่ในมหานครนิวยอร์กซึ่งเป็นทั้งเมืองแห่งโอกาสและเมืองที่พร้อมผลักให้ผู้ที่ไม่ได้มีรายได้มากเพียงพอออกไปจากเมือง ทำให้ชีวิตของเขาต้องดิ้นรนมาตั้งแต่เด็ก
3
ในวัย 7 ขวบ พ่อของฮาวเวิร์ดประสบอุบัติเหตุจนข้อเท้าแตก ไม่สามารถออกไปรับจ้างเพื่อหาเลี้ยงครอบครัวได้อีกต่อไป ทำให้ฐานะทางการเงินในครอบครัวเริ่มวิกฤต มีเพียงแม่ที่แบกภาระการหาเงินเข้าบ้านเพียงลำพัง เพราะเขายังเด็กเกินไปที่จะออกไปช่วยครอบครัวหาเงินได้
ในวัย 12 ปี ฮาวเวิร์ดเริ่มมาช่วยครอบครัวทำงานหาเงิน เท่าที่เด็กอายุแค่นี้จะทำได้ เขาเป็นเด็กขายหนังสือพิมพ์ เป็นเด็กเสิร์ฟในร้านกาแฟ และงานอื่นๆ อีกสารพัด ความรับผิดชอบต่อตัวเองตั้งแต่เด็กเพื่อที่จะหาเงินมาช่วยจุนเจอครอบครัวนั้น มันได้ปลูกฝังความขยัน อดทด รู้จักการต่อสู้กับความยากลำบาก ซึ่งเป็นการบ่มเพาะอุปนิสัยของการเป็นผู้ประสบความสำเร็จ
2
ในวัย 16 ฮาวเวิร์ดก็รับจ็อบในร้านขายขนสัตว์ เพื่อนำขนเหล่านี้ส่งไปยังร้านตัดชุดขนสัตว์ ซึ่งเป็นงานที่หนักมาก ไม่ต่างอะไรกับการทำงานในโรงงาน แต่เขาก็ขยันที่จะทำเพื่อส่งตัวเองเรียนหนังสือ
1
เมื่อพูดถึงการเรียนฮาวเวิร์ดเป็นเด็กที่ไม่ได้หัวดี หรือเรียนเก่งเลย แต่ที่ทำให้เขาฝ่าชีวิตในโรงเรียนมาได้คือความเก่งในเรื่องทักษะด้านกีฬา ซึ่งเป็นใบเบิกทางให้เขาได้โควตาทุนนักกีฬาของมหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์น มิชิแกน ในปี 1971 และเรียนจนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการสื่อสารมวลชน ในปี 1975
🔵 พรหมลิขิตนำพาให้ฮาวเวิร์ดกับสตาร์บัคส์มาเจอกัน
1
ชีวิตของฮาวเวิร์ดค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่เขาได้งานทำในตำแหน่งทีมขายของบริษัท Xerox ในปี 1979 โดยเริ่มไต่เต้าตำแหน่งขึ้นสูงการเป็นหัวหน้าทีมขาย ก่อนจะย้ายไปทำงานในบริษัท Hamamaplast ซึ่งทำธุรกิจขายเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องบดเมล็ดกาแฟ
1
วันหนึ่งที่เขาตรวจเช็ครายการจัดซื้อสินค้าก็พบว่า มีบริษัทเล็กๆ แห่งหนึ่งในซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน ซึ่งอยู่ห่างออกไปอีกฝั่งของประเทศทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับชายแดนของประเทศแคนาดา มีคำสั่งซื้อเครื่องบดเมล็ดกาแฟของบริษัทที่เขาทำงานอยู่เข้ามาเป็นจำนวนมากกว่าบริษัทอื่น ซึ่งบริษัทนี้มีชื่อว่า “สตาร์บัคส์”
การที่มียอดคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามาขนาดนี้ ในฐานะของผู้บริหารทีมขายฮาวเวิร์ดก็คงจะต้องเดินทางไปเยี่ยมลูกค้าเสียหน่อย และไปดูให้เห็นว่าร้านสตาร์บัคส์นั้นมันเติบโตขนาดไหนในอีกฝั่งของประเทศ ถึงได้มีคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามาขนาดนี้ เขาจึงจัดสินใจบินไปพบกับลูกค้ารายนี้ที่ซีแอตเทิล
2
บริษัท Starbucks Corporation เป็นร้านกาฟในเมืองซีแอตเทิล ที่ก่อตั้งโดยหุ้นส่วน 3 คน คือ Jerry Baldwin ซึ่งเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ, Zev Siegl คุณครูสอนประวัติศาสตร์ และ Gordon Bowker เป็นนักเขียน ซึ่งทั้งสามคนนี้มีความหลงใหลในการดื่มกาแฟเป็นอย่างมาก จึงตัดสินใจที่จะหุ้นส่วนกันเพื่อเปิดร้านกาแฟเล็กๆ ขึ้นมาโดยชื่อ สตาร์บัคส์ พร้อมกับโลโก้ร้านมีที่มาจากตัวละครหนึ่งในนิยายที่ชื่อว่า Herman Melville’s novel “Moby-Dick.” ซึ่งเป็นนางเงือกสองหาง จึงกลายเป็นที่มาของสัญลักษณ์โลโก้ของ Starbucks ในปัจจุบันนี้นี่เอง
1
การพบปะกับลูกค้าทั้งสามรายของฮาวเวิร์ด กลายเป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาไปตลอดกาล เมื่อเขาได้ลองชิมกาแฟสูตรของร้านสตาร์บัคส์ นั่นทำให้ฮาวเวิร์ดหลงใหลในรสชาติขอมันทันที และสิ่งที่เขาคิดต่อมาก็คือ ไม่ว่าจะอย่างไรก็จะต้องเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของธุรกิจนี้ให้ได้
2
ในฐานะนักการตลาด ฮาวเวิร์ดมองเห็นโอกาสการเติบโตของสตาร์บัคที่สามารถไปได้อีกไกล ดังนั้นสิ่งที่ฮาวเวิร์ดแนะนำต่อ Jerry Baldwin ว่า ร้านกาแฟของเขานั้น มีศักยภาพมากพอที่จะเปิดสาขาเพิ่ม และในวันรุ่งขึ้นฮาวเวิร์ดก็ถูกทาบทามให้มาเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของสตาร์บัคส์ในค่าจ้างที่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเงินเดือน ณ ปัจจุบัน
3
🔵 คิดว่าฮาวเวิร์ดจะยอมมาไหมในเมื่อเขามีงานการที่มั่นคงทำอยู่แล้ว?
9
ใช่! ฮาวเวิร์ดยอมลาออกจากที่ทำงานเดิม และย้ายมาที่ซีแอตเทิลในปี 1982 เพื่อร่วมงานกับสตาร์บัคส์
มาถึงตรงนี้หลายคนคงอุทานว่า...ทำไมเขาถึงยอมทิ้งเงินเดือนในบริษัทใหญ่ที่มั่นคง แล้วมาเริ่มต้นช่วยบริหารร้านกาแฟเล็กๆ ที่เพิ่งก่อตั้ง แถมเงินเดือนลดลงครึ่งต่อครึ่งจากที่เดิมอีกด้วย เขาต้องบ้าไปแล้วแน่ๆ
แต่เชื่อว่าในมุมของนักการตลาดเขามองเห็นในสิ่งที่หลายคนไม่เห็น และเชื่อว่าคุณภาพที่ร้านแห่งนี้มีอยู่นี่แหละจะสามารถสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจได้อย่างที่ไม่มีใครคาดคิด และมันคือการตัดสินใจที่ถูกต้องของฮาวเวิร์ด
🔵 ร้านกาแฟที่ไม่ใช่แค่ซื้อกาแฟดื่ม แต่มันคือบ้านหลังที่ 3 ของผู้คน
1
ร้านสตาร์บัคส์ในรูปแบบยุคแรกๆ เป็นเพียงแค่ร้านกาแฟที่ซื้อมาขายไป ไม่ได้มีรูปแบบของการเป็นร้านที่ใครต่อใครจะไปใช้ชีวิตนั่งชิล นั่งทำงาน หรือพบปะสังสรรค์แบบทุกวันนี้ แต่การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้สตาร์บัคส์ กลายเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตของคนเมืองเริ่มมาจากการที่ฮาวเวิร์ดได้เดินทางเพื่อไปจัดซื้อสินค้าที่ประเทศอิตาลีในปี 1983 เขาไปพบกับรูปแบบของร้านกาแฟที่ผู้คนต่างใช้เป็นที่นัดเจอพบปะสังสรรค์ หรือประชุมคุยงานกัน ซึ่งมันเป็นรูปแบบของร้านกาแฟที่ไม่มีในอเมริกา ด้วยไอเดียที่อยากจะนำรูปแบบร้านที่เขาเห็นไปปรับใช้กับสตาร์บัคส์ เพราะคิดว่ามันจะต้องเปลี่ยนแปลงสังคมการดื่มกาแฟของอเมริกันชนอย่างแน่นอน แต่พอนำแผนรูปแบบของร้านไปเสนอให้กับทางผู้บริหารของสตาร์บัคส์ กลับไม่ได้รับความสนใจ เนื่องจากไม่ใช่ทิศทางที่สตาร์บัคส์เดินอยู่
1
ทำให้เขาตัดสินใจลาออกจากสตาร์บัคส์ในปี 1985 พร้อมกับเงินเก็บจำนวนหนึ่งเพื่อมาเปิดร้านกาแฟเป็นของตัวเอง ซึ่งไม่เพียงพอ เขาต้องการเงินอีกราว 4 แสนดอลลาร์สหรัฐ หรือ 12 ล้านบาท ในการเริ่มทำธุรกิจ ดังนั้นเขาเลยกู้ธนาคารเพิ่มเติมรวมทั้งหยิบยืมคมรู้จัก
2
และแล้วร้านกาแฟ ‘อิล จออร์นาเล’ (il Giornale) ก็ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งไม่รู้ว่าเขาเป็นคนที่ทำอะไรก็ประสบความสำเร็จมาแต่ไหนแต่ไรหรือเปล่า หรือดวงคนมันจะรวยจะเป็นเศรษฐี เพราะเพียงแค่เปิดร้านวันแรกวันเดียวมีลูกค้ามาต่อคิวใช้บริการถึง 300 คน นั่นทำให้เขามีความคิดจะขยายสาขาตั้งแต่วันแรกที่ร้านเพิ่งเปิดเลย
ระหว่างที่เขาทำธุรกิจร้านกาแฟของตัวเองไปได้สักพัก ก็มีข่าวว่าเจ้าของสตาร์บัคส์กำลังประกาศขายธุรกิจร้านกาแฟของตัวเอง ด้วยปัญหาเรื่องการควบคุมคุณภาพของสินค้าในแต่ละสาขา และสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจากไม่มีนักบริหารมืออาชีพคอยดูแล ฮาวเวิร์ดชายผู้ตกหลุมรักสตาร์บัคส์มาตั้งแต่แรกพบ เขาไม่มีทางยอมที่จะปล่อยให้ร้านแห่งนี้หลุดไปอยู่ในมือของใครเด็ดขาด
1
เขาจึงติดต่อไปยังสตาร์บัคส์อีกครั้งเพื่อขอซื้อกิจการด้วยมูลค่า 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 124 ล้านบาท โดยหนึ่งในผู้ที่อยู่เบื้องหลังเงินทุนที่ฮาวเวิร์ดจะไปซื้อธุรกิจสตาร์บัคส์นั้นก็มาจาก ‘บิล เกต’ เจ้าพ่อแห่ง ‘ไมโครซอฟ’ นั่นเอง เพราะทางไมโครซอฟก็เคยลงทุนกับ ‘แม็คโดนัล’ มาแล้ว
1
การตกลงดีลกันระหว่างฮาวเวิร์ดและทีมผู้บริหารสตาร์บัคส์จบลงด้วยดี เขาได้กลายเป็นเจ้าของร้านกาแฟในฝันที่ตกหลุมรักตั้งแต่แรกสัมผัสทั้งหมด รวมทั้งร้านสาขาแรกในซีแอตเทิลที่เขาเคยทำงานด้วย พร้อมกับเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น ‘Starbucks Coffee Company’
.
🔵 วันแรก 5 สาขา 6 ปี 150 สาขา จนวันนี้ 26,000 สาขา ที่หนทางไม่ได้โรยด้วยดอกไม้
6
สตาร์บัคส์ที่กุมบังเหียนโดยฮาวเวิร์ด เติบโตอย่างรวดเร็ว จาก 5 สาขาที่รวมทั้งร้านกาแฟอิล จออร์นาเล ของเขาเองเข้าไปแล้ว กลายเป็น 150 สาขาภายในระยะเวลาเพียง 6 ปี ซึ่งโมเดลการขยายสาขาของสตาร์บัคส์คือ การใช้รูปแบบของแฟรนไชน์เข้ามาช่วยให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด และยังสามารถคุมคุณภาพของสินค้ารวมทั้งคุณภาพของพนักงานได้อีกด้วย เพราะเป็นรูปแบบที่กำหนดโดยบริษัทแม่ในซีแอตเทิล ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับที่แม็คโดนัลใช้
1
ในปี 1992 สตาร์บัคส์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนอเมริกัน เป็นร้านกาแฟที่ผู้คนต่างเข้ามาใช้บริการในการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งนัดพบปะพูดคุยของกลุ่มเพื่อน นัดประชุมกับลูกค้า หรือแม้แต่มานั่งอ่านหนังสือทำการบ้านของนักเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ฮาวเวิร์ดใฝ่ฝันอยากจะเห็นตั้งแต่วันแรกที่ได้เจอไอเดียแบบนี้ระหว่างเดินทางในอิตาลี และด้วยอัตราการเติบโตทางธุรกิจที่สูงอย่างต่อเนื่องทำให้วันที่ 26 มิถุนายน ปี 1992 สตาร์บัคส์กลายเป็นบริษัทมหาชนโดยการนำเข้าในตลาดหุ้น Nasdaq (Starbucks : SBUX) ซึ่งเปิดตัวด้วยราคา 14 เหรียญฯ ต่อหุ้น และพุ่งขึ้นไปจบที่ 33 เหรียญฯ ภายในวันแรกของการ IPO
2
🔵 เกือบล้มละลาย เพราะพิษเศรษฐกิจ และคุณสินค้าตกต่ำ
2
ฮาวเวิร์ดบริหารสตาร์บัคส์อยู่พักใหญ่ๆ ก็ได้ถอยตัวเองลงจากตำแหน่งและไปใช้ชีวิตส่วนตัวในปี 2001 ให้ทีมบริหารของบริษัทเข้ามาทำหน้าที่จัดการเดินหน้าธุรกิจต่อ และแม้ว่าบริษัทจะยิ่งใหญ่ขนาดไหนก็ตามหากเจอวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ซึ่งก็คือวิกฤตซับไพรม์หรือที่เราคุ้นหูกันในชื่อวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ตกต่ำอย่างรุนแรง แม้แต่สถาบันวาณิชธนกิจรายใหญ่ที่สุดอันดับ 4 อย่าง ‘เลห์แมน บราเธอร์ส’ ที่เป็นหนึ่งในเสาหลักสำคัญของภาคการเงินของสหรัฐด้วย ซึ่งมีอายุเก่าแก่ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2393 ยังถึงคราวล้มละลาย
4
สตาร์บัคส์ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ก็โดนวิกฤตครั้งนั้นไปเต็มๆ หุ้นของบริษัทร่วงลงกว่า 42% มูลค้าบริษัทหายไปเกือบครึ่งหนึ่ง ประกอบกับคุณภาพของร้าน การบริการของพนักงาน และคุณภาพของสินค้าที่แย่ลงหลังจากที่ฮาวเวิร์ดปล่อยมือจาการบริหาร ทำให้สตาร์บัคส์เผชิญกับวิกฤตใหญ่ มีการปิดสาขาไปเกือบ 1,000 แห่ง และสั่งปลดพนักงานกว่า 6,700 คน ทำให้ฮาวเวิร์ดถูกเรียกตัวกลับมาบริหารอีกครั้งเพื่อแก้ไขสถานการณ์
2
วิธีการพลิกวิกฤตของสตาร์บัคส์ของฮาวเวิร์ดเรียกได้ว่ามีความชาญฉลาด และกลายเป็นหนึ่งตัวอย่างกรณีศึกษาในหลักสูตรการเรียนการสอนธุรกิจทั่วโลก โดยเขาจัดโครงการ “My Starbucks Idea” เพื่อให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้าและบริการสตาร์บัคส์ ทำให้ฮาวเวิร์ดสามารถดึงไอเดียต่างๆ มาประยุกต์ใช้ ซึ่งการพัฒนาในครั้งนี้ก็ยังสามารถเรียกลูกค้าให้กลับมาสนใจใน สตาร์บัคส์ได้อีกครั้ง
2
นอกจากนี้เขายอมเสียเงินเกือบ 200 ล้านบาท เพราะสั่งปิดร้านทั้งหมดในอเมริกา 7,100 สาขา เป็นเวลา 3 ชั่วโมง เพื่อสอนพนักงานใหม่ทั้งหมดในการเรียนรู้วิธีการชงกาแฟให้กลับมามีคุณภาพเหมือนเดิม แม้จะต้องสูญเสียรายได้มหาศาลแต่เขาเชื่อว่า ถ้าไม่ทำแบบนี้คุณภาพของสินค้าก็จะไม่กลับมาและถูกละเลยตลอดไป ดังนั้นเขาจึงให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงให้กาแฟของสตาบัคส์เป็นกาแฟที่ดีที่สุดในทุกๆ แก้ว และมาตฐานต้องเหมือนกัน ซึ่งสุดท้ายก็เป็นแบบนั้นจริงๆ และทำให้สตาร์บัคส์ผ่านวิกฤตในวันนั้นมาได้จนถึงทุกวันนี้
2
🔵 เราได้อะไรจากชีวิตของฮาวเวิร์ด
2
มีคำพูดของฮาวเวิร์ดที่เป็นคำพูดที่สะท้อนความเชื่อของเขาทั้งชีวิตตั้งแต่เป็นเด็กที่บ้านยากจน มาสู่เส้นทางของมหาเศรษฐีเชนร้านกาแฟที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก โดยเขากล่าวว่า
.
‘In life, you can blame a lot of people and you can wallow in self-pity, or you can pick yourself up and say, ‘Listen, I have to be responsible for myself.’
1
‘ในช่วงชีวิตหนึ่งคุณสามารถที่จะกล่าวโทษใครก็ได้นี้และคุณสามารถที่จะจมปรักกับชีวิตที่น่าสมเพชของคุณเอง หรือคุณจะเลือกพูดให้กับตัวเองว่า จงฟัง! ลุกขึ้นมารับผิดชอบในชีวิตของตัวคุณเองซะ’
2
หากย้อนกลับไปที่ต้นบทความก็คงจะสอดคล้องกับสิ่งที่ฮาวเวิร์ดทำตลอดชีวิตของเขา แม้เขาจะเลือกเกิดไม่ได้ในครอบครัวที่ร่ำรวย ต้องใช้ชีวิตที่ยากลำบาก ทำงานส่งตัวเองเรียนตั้งแต่อายุ 12 ขวบ เรียนก็ไม่เก่ง แต่มีความขยันและหาเส้นทางในชีวิตของตัวเองจนเจอ พร้อมกับลงมือ ทำ ทำ ทำ แล้วก็ทำ สุดท้ายมือ สมอง และร่างกายของเขาก็พาให้เขามาถึงจุดสูงสุดในชีวิตได้ เพราะต้นทุนชีวิตที่แย่ ไม่ได้แปลว่าจะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
โฆษณา