19 เม.ย. 2021 เวลา 15:24 • คริปโทเคอร์เรนซี
Defi โอกาสหรือความเสี่ยง?
#แบบอย่างง่าย
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงนี้ กระแส Cryptocurrency มาแรงมาก!! ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือวัยทารก!!(แฮร่) ก็ต้องเคยได้ยินได้เห็นได้ฟัง โดยเฉพาะพระเอกของเราอย่าง Bitcoin ที่มีชื่อเสียงทั่วทุกสารทิศ
แต่นอกจาก Bitcoin แล้ว ตัวเทคโนโลยีที่ทำให้ Bitcoin ทำงานหรือเทคโนโลยี Blockchain นั้น ก็มีคุณสมบัติมากกว่าการที่จะมาเทรดไปเทรดมา เล่นกับราคาขึ้นลงของเหรียญอื่นๆ เพราะมันสามารถทำให้สามารถสร้างระบบการเงิน หรือสถาบันการเงินแบบย่อยบนโลก Internet ได้อย่างง่ายๆเลยทีเดียว
ซึ่งทีเด็ดมันอยู่ตรงที่มันสามารถให้เราฝากเงิน ปล่อยกู้ และสามารถได้รับผลตอบแทนเป็น ค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย ได้อีกด้วย ถือว่าเป็นอีกโลกหนึ่งที่เราไม่ศึกษาก็คงไม่ได้
ในส่วนตัวผมได้มีโอกาสลองเข้าไปทำความรู้จัก ศึกษาและได้องค์ความรู้มาในระดับหนึ่ง จึงอยากมาแชร์ให้ท่านผู้อ่านได้ลองรับรู้รับทราบกันครับ
Defi คืออะไร ?
Defi คือ ระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลาง
ผมจะขอพูดอย่างย่อๆง่ายๆนะครับ มันก็คือ สถาบันการเงินบนอินเทอร์เน็ตแหละครับ ซึ่งเราสามารถฝากเงิน ปล่อยกู้ ขอกู้ จำนำ รับผลตอบแทนต่างๆได้ ไม่ต่างจากสถาบันในโลกแห่งความเป็นจริงเลยครับ
เพียงแต่ที่มันเพิ่งมาบูมในตอนนี้ได้ก็เพราะ เทคโนโลยี Blockchain ที่เกิดมา สามารถทำลายขีดจำกัดในเรื่องการโอนมูลค่าในโลกอินเทอร์เน็ตแล้วนั่นเอง
1
ส่งผลให้ทุกคนสามารถสร้างแพลตฟอร์มต่างๆ มาเป็นสื่อกลาง เป็นตลาด เป็นที่ที่ทำธุรกรรมทางการเงินบนโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดายนั่นเอง
โอกาสใน Defi คืออะไร ?
1
สำหรับผมเมื่อลองศึกษาดูแล้ว ทำให้รู้ว่า โอกาสหลักเลยคือ ผลตอบแทนที่สูงครับ ซึ่งผลตอบแทนตัวนี้ส่วนใหญ่มาจาก ค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยนั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่น การแลกเปลี่ยนเหรียญ (Swap) ซึ่งเราสามารถนำเหรียญที่เรามี
ไปฝากไว้ในแพลตฟอร์ม (เปรียบเสมือนการให้ยืมเหรียญไปแลกเปลี่ยน) ซึ่งในการแลกเปลี่ยนนั้นผู้ที่นำเหรียญไปฝาก จะได้ค่าตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียมที่มีคนมา Swap เหรียญเหล่านั้นไป
ซึ่งค่าตอบแทนในการ Swap ต่อครั้งตรงนี้ถ้าคิดเป็น % ก็ค่อนข้างสูงครับ เพราะว่า " มันตัดตัวกลางออกไป " ซึ่งนี่คือทีเด็ดของ Defi เลยล่ะครับ
เมื่อไม่มีตัวกลาง ทุกคนที่ฝากเงินจึงเปรียบเสมือนสถาบันการเงินซะเอง และเก็บเกี่ยวเอาผลตอบแทนได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่าการฝากเงินกับระบบเดิม ๆ ที่ตัวกลางมักได้กำไรเต็ม ๆ เพราะให้ดอกเบี้ยฝากน้อย แต่ได้ดอกเบี้ยปล่อยกู้เยอะ
ซึ่งในอนาคตผลตอบแทนที่ว่ามันมีโอกาสจะน้อยลงครับ เพราะว่าคนหารเยอะขึ้น คนหารเยอะขึ้นหมายความว่าอย่างไร เมื่อผู้คนเริ่มเชื่อมั่นในระบบของ Defi นี้ และเห็นผลตอบแทนที่มากกว่าอยู่ตรงหน้า ทุกคนก็คงจะเข้ามาลงทุนกันแน่นอน
แต่เมื่อทุกคนเข้ามาลงทุนก็เท่ากับว่า เค้กก้อนนั้น(ผลตอบแทนที่ได้) ได้มีคนมาแบ่งเยอะขึ้น ส่งผลให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อหัวน้อยลงนั่นเอง
ดังนั้นใครที่คิดจะเข้ามา ผมแนะนำว่า อย่ามาๆ หนีไปๆ พวกนี้มันหลอกลวง(แซวเล่นนะครับ แต่ก็กลัวชิ้นเค้กเล็กลงนะ)
1
แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ทุกคนคงกลัวกัน นั่นก็คือ ความน่าเชื่อของ Platform ที่เราไปลงเงินไว้นี่แหละ ว่ามันจะหลอกเรา เอาเงินเราหมดไปรึป่าว ยิ่งผลตอบแทนสูงๆ แสดงว่ามันต้องหลอกเราแน่เลย
ตรงนี้เป็นความเสี่ยงหนึ่งครับ แต่เป็นความเสี่ยงที่เราสามารถจำกัดได้ เพราะในโลก Defi ที่รันบน Blockchain จะมีตัว Smart Contract ที่เป็นตัวให้ระบบทำงาน ซึ่ง Smart Contract ที่ว่านี้ มันคือ Code โปรแกรมนั่นแหละครับ
ซึ่ง Code นี้มันโปร่งใสมาก ชนิดที่ว่า รู้ได้หมดเลยว่า เงินค่าธรรมเนียมให้ใครบ้าง คนฝากเงินได้กี่ % คนสร้าง Platform ได้กี่ % ผู้ใช้งานเท่าไร และแน่นอนครับ มันสามารถบอกเราได้เลยว่า เจ้าของ Platform มีสิทธิ์ที่จะเอาเหรียญของเราไปหรือไม่
เคยมีกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และน่าสนใจคือ มี Platform หนึ่งเปิดตัวขึ้น โดยบอกว่า หากนำเหรียญไปฝากไว้ จะได้เปอร์เซ็นเท่านั้นเท่านี้ว่าไปโดยตัว Smart Contract บอกชัดเจนเลยว่า เจ้าของ Platform ไม่สามารถเอาเงินของผู้ฝากไปได้
แต่ต่อมา เดชะบุญ!! Platform ตัวนี้ได้ปิดตัวลง ซึ่งมีคนมากมาย ฝากเงินไว้ในนั้น ทำไงดีล่ะ ทำไงดี โดนหลอกแล้ว แต่ อ๋อ... Smart Contract มันบอกไว้หนิว่า เจ้าของ Platform ไม่สามารถเอาเงินเราไปได้
มันก็เหมือนกับ หน้าร้านปิด แต่ตังยังอยู่ข้างใน ใช่แล้ว!! เราก็พังร้านไปเอาเงินเราคืนดีกว่า!!
จากนั้น ก็เขียน Code ยิง Smart Contract ไป และแล้วก็ เย้!! ได้ตังคืนทุกบาททุกสตางค์
ดังนั้นแล้ว ถ้าหากเราอ่าน Code เป็น เราจะรู้ทุกอย่างของ Platform ว่ามันตั้งใจจะโกงเราจริง ๆหรือป่าว ว่า Platform มีความน่าเชื่อถือแค่ไหน เสี่ยงแค่ไหน
แต่เดี๋ยวก่อนๆๆ หนูไม่ได้เรียนโปรแกรมเมอร์มา หนูจะอ่าน Code เขียน Code เป็นมั้ยเนี่ย!!
ตรงนั้นไม่ต้องห่วงครับ เพราะผมก็ทำไม่เป็นเช่นกัน เพราะฉะนั้น เราก็จะไม่เหงา กอดคอโดนโกงไปด้วยกันครับ..
เดี๋ยว!! ไม่ใช่!! ในโลกของ Defi มันมี Community มากมายครับ คนเก่งๆที่พร้อมจะช่วยเหลือคนอื่น สังคมนี้เป็นสังคมแห่งการแบ่งกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการแนะนำว่าที่นี่ปลอดภัยในระดับหนึ่งนะ ที่นี่ Smart Contract โกงเราได้นะ ความเสี่ยงมาก ความเสี่ยงน้อย
ดังนั้นแล้วก็ถือโลก Defi นี้ ปลอดภัยในระดับที่เรียกว่า ถ้าคุณไม่ตั้งใจเดินลงเหลวที่มีป้ายเตือนไว้ คุณก็ความเสี่ยงน้อยมากที่จะโดนโกง (แต่ถ้าใครชอบปีนเขาก็ลงไปสำรวจก็ได้นะครับ)
ความเสี่ยงที่แท้จริงคือ ?
แต่ความเสี่ยงที่แท้จริง ผมมองว่ามันคือ สิ่งที่เหมือน " แชร์ลูกโซ่ " ครับ
บาง Project หรือ บาง Platform เรียกให้ผู้ฝากเข้ามาฝากเยอะๆ โดยบอกว่าจะให้ผลตอบแทนสูง ๆ ซึ่งผลตอบแทนที่ได้รับนั้น เป็นเหรียญที่เขาสร้างขึ้นเอง สมมติว่า เป็นเหรียญ A (A coin)
และมีการทำให้ Demand ของ A coin(เหรียญที่เขาออก)เพิ่มขึ้น โดยบอกว่าถ้าฝาก A coin อีกก็จะได้ผลตอบแทนมากขึ้นอีก
ดังนั้นแล้วก็จะทำให้ผู้คน ที่เห็นผลตอบแทนที่สูงเหล่านั้น ไปซื้อ A coin (แทนที่จะไปฝากเงินไว้เพื่อรอรับผลตอบแทนเป็น A coin)
1
เมื่อมีคนต้องการซื้อ A coin มากขึ้น (รวมถึงอาจมีการปั่นราคาเหรียญ) ราคาเหรียญก็พุ่งไปเรื่อยๆ และสุดท้ายก็ถูกทุบราคา หรือถูกเทขายโดยเจ้าของ Platform ซึ่งถือ A coin ไว้มากมายตั้งแต่แรกนั่นเอง
1
สุดท้าย A coin (เหรียญของ Platform) ก็จะกลายเป็น " เหรียญขยะที่ไร้ค่า " นั่นเอง
Project แบบนี้มีเกลื่อนครับ ดังนั้นในช่วงที่ Platform เปิดใหม่ เราถึงต้องรอไปสักพัก ให้คนเข้าไปเยอะๆก่อน เมื่อดูแล้วไม่มีอะไรน่ากลัว หรือกลิ่นแปลกๆ ก็ลองเข้าไปฝากกันดูได้ครับ
1
และนี่ก็คือ โอกาสและความเสี่ยงของ Defi ครับ
โดยสรุปก็คือ มีผลตอบแทนสูง เพราะยังไม่ใครเข้ามาหารเยอะ ปลอดภัย เพราะมีความโปร่งใส แต่ก็ยังไว้ใจไม่ได้ทั้งหมด เพราะมีการหลอกลวงมากมาย ปั่นราคาได้
สุดท้ายก็ขอให้ท่านผู้อ่าน โชคดีกับการลงทุนนะครับ ลงทุนอย่างมีความรู้ ลงทุนอย่างสมเหตุสมผล ร่ำรวยๆเป็นเศรษฐีเงินล้านนะครับ
#หวังว่าบทความข้างต้นจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านนะครับ หากมีอะไรสงสัย สามารถ สอบถามเพิ่มเติม หรือมีคำแนะนำ ติชม รวมทั้งอยากให้นำเสนอบทความแบบไหน ก็สามารถติดต่อ คอมเมนต์ไว้ได้เลยนะครับ
#ขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาจนจบ แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไปนะครับ
ฝากติดตามผลงาน
Facebook : bit.ly/3Ivyuoq
Blockdit : bit.ly/33dccI3
Youtube : bit.ly/335G497
โฆษณา