24 เม.ย. 2021 เวลา 06:30 • สิ่งแวดล้อม
สิงคโปร์ รับเหตุน้ำท่วมมาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
สิงคโปร์ เป็นหนึ่งในหลายประเทศที่มีระบบจัดการด้านน้ำที่ดีอย่างมาก ซึ่งได้มีการวางแผนและวิจัยเรื่องน้ำมายาวนาน
แต่ประเทศยังไม่พ้นจาก "น้ำท่วมฉับพลัน" หรือ flash flood มักเกิดอยู่เป็นประจำช่วงเวลาฝนตกหนัก และระดับน้ำก็ลดลงภายในไม่กี่ชัวโมงเท่านั้น
แต่อะไรทำให้สิงคโปร์ยังโดนน้ำท่วม
สิงคโปร์ พบเหตุน้ำท่วมฉับพลันครั้งล่าสุด เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (17 เม.ษ.) ในพื้นที่ทางตะวันตก ไม่ว่าย่านบูกิตทีมะ (ฺBukit Timah) หรือ อูลูปันดาน (Ulu Pandan)และในภาคกลางของประเทศ
เกรซ ฟู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม ออกมายอมรับว่า ปริมาณน้ำฝนกำลังสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นประวัติการณ์ในรอบ 40 ปี
ช่วงสุดสัปดาห์ ประเทศเจอกับปัญหาน้ำท่วมซ้ำแล้วซ้ำเล่า พบว่าคลองและระบบระบายน้ำหลายแห่ง ต้องรับความจุน้ำมากถึง 90% อันเนื่องมาจากฝนที่ตกเป็นเวลานาน
เธอยอมรับว่า นี้เป็นผลปวงที่มาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป หรือ Climate Change
หน่วยงานจัดการด้านน้ำ หรือ PUB ทุ่มเงินมหาศาลกว่า 2 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ ในโครงการพัฒนาระบบระบายน้ำให้ดียิ่งขึ้น ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
WorldNow จึงอยากให้ทุกคนลองมาทำความรู้จักกับโครงการอุโมงรับน้ำขนาดใหญ่ อย่าง DTSS
Annual average rainfall distribution (1981-2010)
เมื่อก่อน สิงคโปร์เจอกับปัญหาน้ำประปาปนเปื้อน ท่อระบายน้ำไม่มีประสิทธิภาพและชำรุด
ในช่วงยุคปี 1960-1980 เกิดน้ำท่วมใหญ่อยู่บ่อยครั้ง สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนอย่างมาก รวมไปถึงผลผลิตทางการเกษตรของชาวนา ผู้คนต้องมาหลบในศูนย์อพยพชั่วคราวซึ่งใช้พื้นที่ในโรงเรียน
รัฐบาลจึงเสนอแนวคิดโครงการอุโมงกักเก็บน้ำใต้ดินอย่าง DTSS หรือย่อมาจาก Deep Tunnel Sewerage System ในปี 2538
สองปีให้หลัง เริ่มมีทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ในปีเดียวกันนายกฯ สมัยของนายกฯ โก ช็อก ตง ยืนยันว่าจะก่อสร้างแน่นอนในอีกปีถัดไป
DTSS เป็นโครงการเพื่อทำหน้าที่กักเก็บน้ำ ลำเลียงน้ำที่ใช้ไปแล้วตามบ้านเรือน หรือ น้ำฝน เป็นต้น โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ลงสู่อุโมงขนาดใหญ่ใต้ดิน
นอกจากการกักเก็บน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำรอการระบาย ใต้ดินจะมีส่วนที่ออกแบบให้ทำหน้าที่เป็นโรงงานบำบัดน้ำเสียไว้ใต้ดิน รีไซเคิลน้ำใช้แล้วจากส่วนกลางกลับมาบำบัด ให้เป็นน้ำสะอาด นำมาใช้ในระบบประปาตามบ้านอีกครั้ง
บางส่วนก็มาทำเป็นน้ำดื่ม ที่เรียกว่า Newater
DTSS เฟสแรกเริ่มสร้างมาตั้งแต่ 2000 และใช้เวลาก่อสร้างร่วม 8 ปี เม็ดเงิน 3.8 พันล้านเหรียญ เป็นอุโมงใต้ดินความยาว 108 กิโลเมตรลากมาบริเวณย่านชางงีทางตะวันออก มาจนถึง ย่านครานจีทางเหนือของเกาะ
ขณะที่ อุโมงเฟส 2 กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2025 ซึ่งจะมารองรับทางตอนใต้ของเกาะ เชื่อมต่อกับบริเวณทูอาส (Tuas) ทางฝั่งตะวันตก ผ่านตัวใจกลางเมือง
หนึ่งในอุโมงค์กักเก็บน้ำ ตั้งอยู่บริเวณใต้ดินสวน Garden by the Bay หรือ Stamford Detention Tank มีขนาดใหญ่เท่ากับสนามว่ายน้ำไซส์มาตรฐานโอลิมปิก 15 สระเลยทีเดียว
เมื่อแล้วเสร็จ นอกจากพื้นที่รับน้ำที่กว้างขึ้นแล้ว ทั่วเกาะจะมีโรงงานบำบัดน้ำเสียถึง 3 แห่ง ได้แก่ ชางงี ครานจี และทูอาส ซึ่งจะช่วยขยายความสามารถในการผลิตน้ำภายในประเทศอีกด้วย
โครงข่ายระบายน้ำทั้งคลองและท่อระบายน้ำ สามารถคลอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 8,000 กิโลเมตร
PUB ยังประยุกต์การใช้ เรดาร์ X-band ติดตามระดับน้ำแบบเรียลไทม์ และพยากรณ์สภาพอากาศและการก่อตัวของฝนล่วงหน้า พร้อมเสริมข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา (MSS) มาที่ PUB
ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงนี้ ทำให้หลายพื้นที่ถูกน้ำท่วมน้อยลงจากเกือบ 8 แสนตารางเมตร ในปี 2008 เหลือเพียง 2.4 แสนตารางเมตรในปี 2018
แต่นั้นไม่ได้แปลสิงคโปร์จะสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วม ได้อย่างเบ็ดเสร็จ แม้จะเกิดขึ้นเพียงเวลาไม่กี่ชัวโมง
ระหว่างปี 2010-2012 เกิดเหตุน้ำท่วมอยู่ครั้งในย่านถนนช้อปปิ้งชื่อดังอย่างถนนออชาร์ด
ตั้งแต่ปี 2000 ถึง 2015 เหตุน้ำท่วมฉับพลันสร้างความเสียหายมาแล้ว ตีเป็นมูลค่ากว่า 32 ล้านเหรียญสิงคโปร์
Masagos Zulkifli รมต. สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ ณ ขณะนั้น ในปี 2018 เคยกล่าวว่าการขยายคลองเพื่อรองรับน้ำให้ลำเลียงได้สะดวกขึ้น อาจจะเป็นไปได้ยาก
เพราะต้องไม่ลืมว่าประเทศมีขนาดเล็ก เกิดข้อจำกัดในการใช้พื้นที่ และงบประมาณการลงทุนก็สูงเช่นกัน
นอกจากนี้เป็นได้ว่าระบบระบายน้ำที่มีการปรับปรุงใหม่ อาจถึงขีดความสามารถในการรองรับน้ำ จากปัญหาของ climate change
สิงคโปร์ มีลักษณะเป็นเกาะถูกล้อมด้วยน้ำทะเลที่สูงขึ้น มีพื้นที่เพียง 30% เท่านั้นที่มีความสูงเหนือระดับทะเลไม่เกิน 5 เมตร บวกกับระดับอุณหภูมิที่มีความร้อนขึ้น เมื่อเราลองย้อนข้อมูลที่ผ่านมา สิงคโปร์มีแนวโน้มปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นในทุกปี และมีความถึ่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
How will climate change affect Singapore? | Why It Matters (CNA)
รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องระดับน้ำทะเล ในปี 2018 ได้จัดตั้งกองทุน Coastal and Flood Protection Fund ทุ่มเงิน 5 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เพื่อมาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานป้องกันชายฝั่งและการระบายน้ำ
ปัจจุบัน สิงคโปร์สามารถป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง 70% ของพื้นที่ จากคลื่นและพายุต่างๆ โดยใช้โครงสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น (เช่นกำแพงคอนกรีต เขื่อนหิน) หรือแม้แต่วิธีทางธรรมชาติ เช่น ชายหาด ป่าโกงกาง
ปัจจัยต่างๆ ที่ว่ามานี้ ทำให้ระบบการคาดการณ์แพทเทินของสภาพอากาศเปลี่ยนไป และวางแผนล่วงหน้าได้ยากมากขึ้น
ล่าสุด ในเดือนก.พ. มีการประกาศแผนชื่อว่า “Singapore Green Plan 2030” มุ่งขับเคลื่อนประเทศสู่ความยั่งยืน เป็นการประสานความร่วมมือกันของหลายๆหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5 กระทรวง
ซึ่งเป็นแผนที่สิงคโปร์พยายามยกระดับการแก้ปัญหา Climate Change อย่างจริงจัง
ทั้งตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่สีเขียว ปลูกต้นไม้ตามถนนเพิ่ม เมืองปลอดรถ เพิ่มกำลังการผลิตน้ำดื่มด้วยตัวเอง หรือแม้แต่การแปลงขยะ เป็นคุ้มทรัพย์ (trash to treasure) นำขยะที่ผ่านการเผา แปรรูปเป็นทรายมาใช้ในงานก่อสร้างต่างๆ เพื่อลดการนำขยะฝังกลบดิน
เพราะสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงนั้น ทำให้เกิดน้ำท่วมบ่อยครั้ง รวมไปถึง ภัยคุกคามจากระดับน้ำทะเลที่หนุนสูงขึ้น
รัฐบาลเสนอแนวคิดโครงการอุโมงค์เก็บน้ำขนาดใหญ่ โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกลำเลียงน้ำลงสู่ใต้ดิน สามารถบรรเทาปัญหา flash flood ช่วงเวลาฝนตกหนักๆ ได้ในหลายพื้นที่เสี่ยงของประเทศ
โครงการ DTSS อย่างเป็นอีก 1 ผลงานความสำเร็จของสิงคโปร์ที่มีความพยายามในการบริหารทรัพยากรน้ำอย่างต่อเนื่องมากกว่า 40 ปี
Green Plan ยังสอดคล้องกับเป้าหมาย Sustainable Development Goals 2030 ขององค์การสหประชาชาติอีกด้วย
นี้อาจเป็นอีกหนึ่งในแนวคิดที่จุดประกายให้รัฐบาลทุกประเทศ เกิดแนวคิด ต่อยอดเพื่อผลักดันเรื่อง Climate Change เป็นวาระแห่งชาติ ในระยะยาวอย่างจริงจัง
เพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่ความยั่งยืน และมีความพร้อมในการแก้ไขปัญหาในภายภาคหน้าต่อไป
ผู้เขียน:รัตนราช ลิ่มเศรษฐกานต์
พิสูจน์อักษร: ศรุตา อาวศิริมงคล
อ้างอิง:
โฆษณา