20 เม.ย. 2021 เวลา 09:30 • ธุรกิจ
วันที่ 10 เมษายน 2564 ได้ลงประกาศพระราชกำหนดแก้ไขเพีมเติมประมวลรัษฎากรเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยที่จะคิดตามาตรา 7 (ในกรณีที่ไม่ได้มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในนิติกรรม) ที่เดิมให้คิดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีลดลงตามพระราชกำหนดนี้เหลือร้อยละ 3 ต่อปี อัตรานี้อาจมีการเพิ่มหรือลดได้ทุก 3 ปีโดยกระทรวงการคลังและประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา นอกจากนี้ยังได้มีการแก้ไขมาตรา 224 อัตราดอกเบี้ยในกรณีมีการผิดนัดจากที่เดิมกำหนดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเป็นอัตราตามมาตรา 7 ใหม่บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี (3% +2% = 5%) เว้นแต่จะได้มีเหตุที่จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้น บทมาตราใหม่ที่มีการเพิ่มคือ มาตรา 224/1 ที่บัญญัติว่า “ถ้าลูกหนี้มีหน้าที่ผ่อนชำระหนี้เงินเป็นงวด และลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ในงวดใด เจ้าหนี้อาจเรียกดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดได้เฉพาะจากต้นเงินของงวดที่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น” บทบัญญัติมาตรานี้น่าคิดว่ามีลักษณะเป็นการลงโทษลูกหนี้ไหมที่ให้เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่มีการผิดนัดได้ ปัญหามีว่า จะเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนบนเงินต้นไหมหากหนี้เดิมมีการคิดดอกเบี้ยบนเงินต้นอยู่แล้วทั้งตามนิติกรรมสัญญาซึ่งถ้าใช่จะยิ่งกว่าการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยที่ต้องห้ามตรามมาตรา 224 เพราะฐานการคิดดอกเบี้ยอาจจะมากกว่าแค่ตัวดอกเบี้ยที่ผิดนัด แต่ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบสัญญาและวิธีการคำนวณดอกเบี้ยเพราะโดยปกติ การผ่อนชำระหนี้ในแต่ละงวดจะมีการทะยอยตัดเงินต้นและดอกเบี้ย ในการผ่อนงวดหลังๆ ก่อนที่หนี้จะหมดดอกเบี้ยจะเป็นส่วนน้อยกว่าการผ่อนหนี้ในช่วงแรกๆ นอกจากนี้ หากให้คิดดอกเบี้ยบนเงินต้นได้เพราะถือเป็นการลงโทษลูกหนี้จะใช้อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาหรืออัตราตามมาตร 224 คือ อัตราตามมาตรา 7 บวกร้อยละ 2 หรือยอมให้ใช้อัตราตามสัญญาตามที่มาตรา 224 บัญญัติด้วย
ถ้าจะมองเจตนารัฐบายก็นับว่าช่วยลูกหนี้เงินกู้แต่ก็ไม่ได้ช่วยมากเพราะหนี้เกือบทุกรายมีการกำหนดดอกเบี้ยในสัญญาอยู่แล้ว แต่มาตรา 224/1 อาจยิ่งเพิ่มภาระแก่ลูกหนี้
ในเจตนารมณ์ท้ายพระราชกำหนดรัฐบาลอ้างโควิด 19 ซึ่งไม่ได้มีผลอะไรกับดอกเบี้ย อันที่จริงรัฐบาลควรมองไปที่ค่าเช่าที่มากกว่าเพราะเป็นภาระหนักมากแก่ผู้ประกอบการไม่ว่ามีวิกฤตโควิดหรือไม่ กิจการไม่น้อยต้องล้มเลิกกิจการเพราะค่าเช่าที่เจ้าของที่คิดค่าเช่าเกินสมควร รัฐจึงควรจัดระบบระเบียบการคิดค่าเช่าใหม่ไม่ใช่หวังรายได้จากภาษีจากเจ้าของที่จนลืมผู้ประกอบการรายย่อยที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่แท้จริง
โฆษณา