20 เม.ย. 2021 เวลา 19:10 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“ยิ่งจน ยิ่งมีค่าใช้จ่ายสูง” จริงหรือไม่ ?
เป็นความผิดของเราหรอ ที่เรามีรายได้ลดลง…?
เป็นความผิดของเราหรอ ที่เรามีหนี้ท่วมหัว…?
ทำไมเราถึงต้องเป็นหนี้...?
ทำไมเราถึงต้องเป็น “หนี้นอกระบบ”...?
แล้วเราจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร...?
2
เราจะพาทุกท่านมาทำความเข้าใจปัญหาเรื่องหนี้หนี้
กับ คุณสฤณี อาชวานันทกุล
นักวิจัย และนักวิชาการอิสระด้านการเงิน
2
#คนไทยไร้จน
#คิดเคลื่อนไทย
บทความเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564
“ยิ่งจน ยิ่งมีค่าใช้จ่ายสูง” หนี้ครัวเรือนในสถานการณ์โควิด-19
 
สฤณี อาชวานันทกุล นักแปล นักวิจัย และนักวิชาการอิสระด้านการเงิน
โควิด-19 “รายได้หาย หนี้ท่วม ไม่ใช่ความผิดของประชาชน”
รัฐต้องเยียวยา สร้างอาชีพ รักษางาน แบ่งเบาภาระให้ประชาชน อย่างน้อยคือ
ทำยังไงก็ได้ให้เรากลับไปมีรายได้อย่างน้อยเท่าเดิมหรือใกล้เคียง ไม่ใช่แค่ถึงแต่เรื่องกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นเหมือนวิกฤตเศรษฐกิจทั่วไป
สถานการณ์หนี้ครัวเรือน ไตรมาสสาม 2563
 
สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไตรมาส 3/2563 ทำสถิติสูงสุดในรอบ 18 ปี ครั้งใหม่ที่ 86.6% ต่อจีดีพี และมีแนวโน้มจะแตะ 90% ในช่วงต้นปี 2564 แต่การมีหนี้สูงอาจจะไม่ได้มีปัญหาถ้าเรามีความสามารถในการจ่ายหนี้
งั้นเราลองมาดู DSR (Debt Service Ratio) หรือ อัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้ โดยเฉลี่ยของครัวเรือนทั้งประเทศอยู่ที่ประมาณ 27% จากรายได้ทุก 100 บาทในแต่ละเดือนต้องถูกนำไปชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 27 บาท
แต่ถ้าเราลงไปดูคนรายได้น้อย พบว่า
- ครัวเรือนที่มีรายได้ระหว่าง 5,000-10,000 บาทต่อเดือน มี DSR ราว 40%
- ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำว่า 5,000 บาทต่อเดือน มี DSR สูงถึง 84%
หมายความว่า ถ้าเขามีรายได้ 100 บาท เขาต้องจ่ายหนี้ไปแล้ว 84 บาท เหลือเงินแค่ 16 บาทในการซื้อข้าว จ่ายค่าเทอมลูก และอื่นๆ ทำให้เห็นว่า ยิ่งจนก็ยิ่งมีแนวโน้มว่าจะจ่ายหนี้ไม่ได้ และนั่น คือ ปัญหา
และการก่อหนี้เพื่อการประกอบอาชีพ เช่าซื้อรถยนต์ บัตรเครดิต และ สินเชื่อส่วนบุคคล กลับมาสูงขึ้นหลังจากที่ชะลอลงในไตรมาสสอง
1
รายได้ลดลง รายจ่ายมากขึ้น กู้หลายทางมากขึ้น
- สิ่งที่น่าเป็นห่วงมาก คือ 1 ใน 6 ของลูกหนี้ เป็น “หนี้เสีย” และมีมูลค่าสูงขึ้น โดยค่ากลางคือ 64,551 บาทต่อคน
และเมื่อลงไปดูลูกหนี้รายย่อยทั้งหมด 80% คือ หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งถือได้ว่าเป็น หนี้ระยะสั้น
1
- ซึ่งหนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล ธปท.ประเมินว่าเป็น หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ แต่เอาจริงๆแล้ว พ่อค้าแม่ค้ารายย่อยไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในฐานะ SMEs ได้ เขาจึงใช้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนตัวในการทำธุรกิจแทน
- กว่าครึ่งหนึ่งของลูกหนี้ มีบัญชีหนี้ มากกว่า 5 บัญชี หมายความว่า เขามีหนี้หลายเจ้า มีหนี้หลายรูปแบบ
ลักษณะลูกหนี้ที่เข้ามาตรการ ธปท.
- จากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของธปท. ทำให้เราพบอีกว่า
- 24% ของลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือ มีหนี้หลายบัญชี (ประมาณ 4 บัญชี)
- 41% มีภาระหนี้สูง (เฉลี่ย 4.9 แสนบาท)
ซึ่งข้อมูลหนี้ที่อยู่ในเครดิตบูโร มันเป็น หนี้ในระบบ หรือ หนี้ในสถาบันการเงิน แต่พ่อค้าแม่ค้าคนรายได้น้อยจำนวนมากเข้าไม่ถึง ทำให้ต้องพึ่งหนี้นอกระบบ แต่ในไทยเราไม่มีการสำรวจเรื่องหนี้นอกระบบอย่างเป็นระบบ ทำให้เราไม่มีข้อมูลเรื่องหนี้ที่ครอบคลุมและสมบูรณ์
โรงรับจำนำ ภาพสะท้อนส่วนเสี้ยวเศรษฐกิจคนจน
- ความเดือดร้อนของคนจนช่วงโควิด-19 ทำให้ต้องพึ่งพาโรงรับจำนำมากขึ้น แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ของที่เอาไปจำนำมันถึงระดับที่เป็นเครื่องใช้ทำมาหากิน ไม่ว่าจะเป็น ครก หม้อ ไห กระทะทองเหลือง ส่วนหนึ่งสะท้อนว่า ถ้าเราไม่เดือดร้อนจริงๆ เราคงไม่เอาข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันไปจำนำหรอก ซึ่งคนนำสิ่งของมาจำนำเพิ่มมากขึ้น แต่วงเงินจำนำลดลง ในขณะที่ทองคำ อัญมณี ส่วนใหญ่ถูกไถ่ถอนเอาออกไปขายก่อนหน้านั้นแล้ว
- โรงรับจำนำกว่า 21 แห่งในกรุงเทพฯ มีสต๊อกทรัพย์สินที่ประชาชนมาจำนำในเดือนมิถุนายน 2563 จำนวน 334,808 ราย คิดเป็นเงิน 5,012 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 หรือก่อนเกิดโควิด ประมาณ 19,253 ราย คิดเป็น 178 ล้านบาท หรือผู้มาจำนำสูงขึ้นราว 17 เท่า และมูลค่าต่างกันมหาศาล
เศรษฐกิจปลายปี 63 ไม่ฟื้นตัว รัฐไม่มีมาตรการช่วยเหลือ
- สถาบันป๋วยฯ พยากรณ์ว่า เศรษฐกิจปลายปี 2563 จะไม่ฟื้นตัว และคาดว่าผู้กู้ 2.1 ล้านคน อาจมีปัญหา คือ ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ทั้งนี้ หากรัฐไม่มีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มขึ้น และไม่ได้รวมเอาปัจจัยการระบาดระลอกใหม่มาประเมิน
ทำไมคนเราถึงเป็นหนี้นอกระบบ
“กู้ง่าย” “ผ่อนง่าย” “เข้าถึงง่าย” แม้จะต้องจ่ายแพง
- ถ้าหนี้นอกระบบดอกเบี้ยแพง แล้วทำไมคนถึงยังไปกู้หนี้นอกระบบ? เราพบว่า
อันดับแรก คือ รวดเร็ว กู้ง่าย ไม่ต้องมีเอกภาพไม่ต้องมีหลักประกัน
อันดับที่สอง คือ ผ่อนได้ (ค่างวดที่เขาต้องจ่าย เขาสามารถที่จะผ่อนได้ ไม่สูงมาก)
แสดงให้เห็นว่า หนี้นอกระบบตอบโจทย์คนได้ดีกว่าหนี้ในระบบ
- การที่เรามีหนี้นอกระบบเรื้อรังอยู่และเพิ่มขึ้นในช่วงโควิด เป็นสัญญาบ่งชี้ว่า “เรายังมีอุปสรรคหรือช่องว่างทางการเงินของคนจำนวนมากโดยเฉพาะคนจน”
“หนี้” ต้องดูแลตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
เราจะแก้หนี้นอกระบบได้ยังไง?
(ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย)
ระยะก่อนเป็นหนี้
- การขยายบริการทางการเงิน
- การให้ความรู้ทางการเงิน
- การปล่อยสินเชื่อที่เป็นธรรม
ระยะหลังเป็นหนี้
- การทวงหนี้ที่เป็นธรรม
- การปล่อยสินเชื่อที่เป็นธรรม
ชำระหนี้ไม่ได้
- กลไกปรับโครงสร้างหนี้
- กลไกการไกล่เกลี่ย
- กลไกการยื่นล้มละลายโดยสมัครใจ
มาตรการ ธปท. ที่ผ่านมา “ดี” แต่ยังไม่พอ
การไกล่เกลี่ยรูปแบบเดิม
- ไม่สามารถ “ไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง”
- แผนการปรับโครงสร้างหนี้ไม่สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้
- ขาดคนกลาง ที่มีความชำนาญด้านการเงินและกฎเกณฑที่เกี่ยวข้องที่จะให้ความเป็นธรรมกับลูกหนี้
การไกล่เกลี่ยรูปแบบใหม่
- สามารถ “ไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง” ได้
- สามารถ “ไกล่เกลี่ย Online” ได้
- มีคนกลางเข้าไปช่วยดูข้อเสนอในขึ้นตอนไกล่เกลี่ย
ปัญหา
- ลูกหนี้จำนวนมากเข้าไม่ถึงระบบออนไลน์
- ลูกหนี้มีอำนาจต่อรองน้อยกว่ามาก เพราะเจ้าหนี้ยื่นฟ้องล้มละลายได้ฝ่ายเดียว
- เจ้าหนี้ที่ไม่ได้เข้ากระบวนการไกล่เกลี่ยจะเสียเปรียบ
วิธีแก้ไข
เลื่อนการบังคับคดีสำหรับหนี้ที่เริ่มเป็นหนี้เสีย (NPL) ในช่วงโควิด-19
ออกกฎหมายล้มละลายโดยสมัครใจ (กระบวนการฟื้นฟูหนี
โฆษณา