20 เม.ย. 2021 เวลา 23:21 • หุ้น & เศรษฐกิจ
EP. 10 - ตัวอย่างการวิเคราะห์เหรียญ atom
3
หมายเหตุ- บทความนี้ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน แต่มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ข้อมูลในบทความนี้อาจจะมีข้อมูลบางอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจะเกิดขึ้นได้จากความไม่เข้าใจของผู้เขียน หรือความผิดพลาดของผู้เขียน นักลงทุนต้องทำการบ้านด้วยตัวเอง ตัดสินใจด้วยตัวเอง
3
เหรียญ atom เป็น native token ของ cosmos chain
เพราะฉะนั้นเราจะวิเคราะห์เหรียญ atom ได้เราต้องเข้าใจ cosmos chain ก่อน
ซึ่ง coin bureau channel ในดวงใจของผม เพิ่งทำคลิป atom ออกมาเมื่อวานนี้พอดีไปฟังกันดูก่อนจะอ่านต่อ
สรุปใจความคร่าวๆ
คือ cosmos เป็น chain ที่สร้างขึ้นมาเพื่อ
1
- แก้ปัญหาเรื่อง scalability ของ ethereum ซึ่งทำให้การทำงานบน eth นั้นทั้งช้าและแพงมากๆ
- แก้ปัญหาเรื่อง interoperability ซึ่งตอนนี้มี chain เกิดขึ้นมากมาย แต่ว่าต่างคนต่างอยู่ ซึ่งทำให้การเชื่อต่อกันนั้นเป็นไปได้ยาก ลองจินตการถึง internet ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่ว่า internet ของแต่ละประเทศไม่ได้เชื่อต่อกัน จะพบว่าประโยชน์การใช้งานมันจะต่างกับการที่ internet เชื่อมต่อกันทั่วโลกเยอะเลย ซึ่งตอนนี้ Blockchain ก็กำลังอยู่ในสภาวะนั้นอยู่ แล้ว cosmos พยายามมาแก้ปัญหาเรื่องนี้ ตอนนี้เค้าเลยเคลมตัวเองว่าเป็น Internet of Blockchains
2
- cosmos sdk ออกมาแก้ปัญหาเรื่องความยุ่งยากในการสร้าง chain ขึ้นมา โดยเค้าทำ coding สำเร็จรูปออกมาเป็น module ย่อยๆ ใครอยากสร้าง chain ขึ้นมาใหม่แทนที่จะต้องเขียน code เองตั้งแต่ 0 ก็เอา sdk ของ cosmos ไปใช้อันไหนที่เขียนไว้แล้วก็ copy paste ได้เลย ทีนี้พอหลาย chain สร้างโดยใช้ภาษาเดียวกับ cosmos การเชื่อมต่อกันก็จะง่าย (ซึ่งก็จะไปช่วยแก้ปัญหาข้อที่แล้ว) ตอนนี้มีคนที่ใช้ cosmos sdk อยู่เยอะมากๆ เช่น binance crypto.com terra okb thorchain ฯลฯ
1
chain ที่พัฒนาด้วย cosmos sdk จริงๆมีเยอะกว่านี้อีกเยอะนะครับ เอามาแค่บางส่วน
สรุปในส่วนของอนาคตของ atom ก็เรียกได้ว่าน่าสนใจไม่น้อย เพราะเค้าพยายามที่จะแก้ปัญหาที่ใหญ่มากๆ หลายเรื่องใน Blockchain ไปพร้อมๆกัน
ต่อมาลองมาดูเรื่อง tokenomic ของ atom กันบ้าง ว่าเค้าออกแบบเหรียญอย่างไร?
เหรียญ atom นั้น ณ ปัจจุบัน เอาไว้ใช้ได้ 2 อย่าง คือ
1. เป็นค่า fee ในระบบของ cosmos hub
2. เอาไว้ใช้ staking เพื่อวางในระบบ Proof of stake สำหรับสร้างระบบ security ให้กับ cosmos chain ซึ่งคนที่ stake ตอนนี้ก็จะได้รับ return ประมาณ 9-10% เป็นผลตอบแทน (สำหรับคนที่ถือ atom แล้วจะไป stake รับปันผล ตอน unstake จะต้องรอ 21 วันถีงจะได้เหรียญคืนนะครับ)
1
เหรียญ atom นั้นไม่มี maximum cap ว่าสูงสุดได้เท่าไหร่ โดยในแต่ละปีจะมีเหรียญ atom เพิ่มขึ้นมาในระบบประมาณ 7-20% ขึ้นอยู่กับว่า ณ เวลานั้นๆ มีสัดส่วนคน stake เท่าไหร่ ถ้ามีคน stake น้อย เหรียญใหม่จะสร้างขึ้นมาเยอะ แต่ถ้าคน stake เยอะ เหรียญใหม่ก็จะสร้างขึ้นมาน้อย
3
ส่วนค่า fee ในระบบ cosmos chain นั้นก็จะไปจ่ายให้กับคนที่ stake atom ด้วย ถ้ามีคนมาใช้ cosmos chain มากขึ้นๆ ค่า fee จะสูงขึ้น และทำให้ return ของ atom เพิ่มจากปัจจุบันที่ 9-10% ไปสูงกว่านี้ตามปริมาณการใช้งานที่มากขึ้น
3
สรุปสั้นๆว่า atom นั้นเป็นเหรียญแบบ inflation คือจะมีเหรียญใหม่เพิ่มเข้ามาในระบบทุกปี ซึ่งถ้าปริมาณค่า fee ที่เพิ่มขึ้นนั้นโตได้ดีกว่าเงินเฟ้อ return ก็เป็นบวก แต่ถ้าค่า fee โตช้าเงินเฟ้อทำให้ return เป็นลบ
1
มาดูเรื่อง valuation กันบ้าง
1
เนื่องจากเหรียญ atom นั้นเป็นเหรียญที่สร้างกระแสเงินสดได้จากค่า fee ในระบบเพราะฉะนั้นจึงสามารถประเมินมูลค่าได้ 2 วิธี คือ แบบเปรียบเทียบ และแบบ dividend discounted model (DDM)
2
1. แบบเปรียบเทียบ - ถ้าจะให้เทียบเหรียญที่มี business model ใกล้เคียงกับ cosmos มากที่สุดก็ต้องไปเทียบกับ dot ซึ่งพยายามจะแก้ปัญหาเดียวกับ cosmos อยู่ ซึ่งปัจจุบัน dot มี market cap อยู่ที่ $32,000 million ในขณะที่ atom มี cap อยู่ที่ $4,500 million
2
ถ้าเราเชื่อว่า cosmos มีคุณภาพไม่แพ้ dot และอนาคตจะเติบโตได้ดีไม่แพ้ dot ก็เทียบได้ว่ามูลค่า atom ควรจะไม่น้อยไปกว่า 32000 แปลว่าราคา atom สามารถขึ้นไปได้ถึง 7 เท่า O_O
2
แต่เห็นเป้าหมาย 7 เท่าอย่าเพิ่งรีบไปซื้อนะครับ อย่างที่ผมเคยเตือนไว้ว่าวิธีการประเมินมูลค่าแบบนี้มีจุดอ่อนใหญ่มากๆ คือ ถ้าเราเอาไปเทียบกับเหรียญที่แพง เหรียญของเราก็ดูเหมือนว่าถูก (ทั้งที่อาจจะไม่ถูกก็ได้)
3
แต่มีความเป็นไปได้ว่า dot เองนั้น overvalue อยู่พอสมควร เพราะฉะนั้นมูลค่าของ atom ก็ไม่ควรจะให้เป้า 7 เท่าไปด้วย เพราะฉะนั้นเรามาดูวิธีประเมินมูลค่าวิธีที่ 2 ดีกว่า
3
(สมมติเล่นๆ ถ้าเราวิเคราะห์กลับกันคือวิเคราะห์ dot เทียบกับ atom แล้วสมมติว่า atom นั้นราคาอยู่ที่ fair value แล้ว แปลว่าราคาเป้าหมายของ dot ตอนนี้คือต้องเอา 7 ไปหาร T_T ใครถือ dot อยู่ก็คงจะร้อนๆ หนาวๆ ไม่น้อยเหมือนกัน)
1
2. DDM - ทำได้โดยการประมาณกระแสเงินสดที่จะจ่ายออกมาให้คน stake atom ตลอดอายุการใช้งาน แล้ว discount กลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน แค่ฟังก็ยากแล้วใช่มั๊ยครับ 555 สำหรับคนที่อยากเข้าใจวิธีคิดลึกๆ ไปลอง search หาดูนะครับ หาไม่ยากหรอก มันเป็นวิธีคิดที่ใช้กันเยอะมากๆ ในอุตสาหกรรมการประเมินมูลค่าตราสารหนี้
1
สำหรับผมจะเอาหลักการ ddm มาประยุกต์ให้ง่ายขึ้น เรามาดูตัวอย่างจาก atom กันได้เลย
https://www.stakingrewards.com/earn/cosmos
ถ้าเราเอา atom ไป stake เพื่อรับปันผลวันนี้ จะได้ return ประมาณ 9.88% (ตัวเลขจากเวปนี้อาจจะไม่ตรงเป๊ะนะครับ เพราะเค้าไม่ได้ update realtime และใช้ค่าเฉลี่ยย้อนหลังกี่วันผมจำไม่ได้ละ แต่ก็พอจะได้ idea คร่าวๆ (ถ้าอยากได้ตัวเลขเป๊ะๆ ต้องไปหาเอาในส่วนที่ทำ stake จริงๆ ใน chain cosmos ซึ่งอยู่ตรงไหนผมก็ไม่รู้เหมือนกัน ยังไม่เคยทำ)
1
ตัวเลข 9.88% อันนี้ยังไม่ใช่ตัวเลขผลตอบแทนจริงที่เราจะได้นะครับ เพราะว่า atom ออกแบบเหรียญมาเป็นระบบเงินเฟ้อ 7-20% ซึ่ง ณ ปัจจุบันเงินเฟ้ออยู่ที่ประมาณ 7% เพราะฉะนั้น real return จริงๆจึงอยู่ที่ 9.88-7= 2.8% ซึ่งในรูปเค้าคำนวนมาให้แล้วว่าประมาณ 2.84%
2
ถ้านึกภาพไม่ออกให้คิดเหมือนที่เราไปฝากธนาคารได้ดอกเบี้ย 1% ก็ได้ครับ แล้วถ้าเงินเฟ้อไทยเท่ากับ 3% แปลวว่า real return ของการฝากธนาคารก็คือ -2%
1
ทีนี้พอจะมาดูว่า atom ราคาเป้าหมายควรจะเป็นเท่าไหร่กันแน่ ก็ของลองคิดดูผลตอบแทนที่คาดหวังนั้นควรจะเป็นเท่าไหร่ โดยปกติถ้าเราลงทุนสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงต่ำเราก็จะหวังผลตอบแทนที่ต่ำ แต่ถ้าเราลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงสูง เราก็จะหวังผลตอบแทนที่สูงถูกมั๊ยครับ
การซื้อเหรียญลงทุนนี่ผมว่าก็เสี่ยงไม่น้อยเหมือนกัน ถ้ามองว่ามันเสี่ยงกว่าหุ้นซึ่งให้เงินปันผลได้ประมาณ 3-5% ต่อปี ตัวเลขเงินปันผลคาดหวังของเหรียญก็อาจจะอยู่ประมาณ 5-10%
1
สมมติว่าเราใช้ตัวเลขที่ผลตอบแทนคาดหวังที่ 7% ต่อปีละกัน (เอาค่ากลางๆระหว่าง 5-10%) แปลว่าวันนี้ atom ยังแพงเกินไปเพราะให้ผลตอบแทนได้แค่ 2.84%
2
แต่ถ้ามองไปในอนาคต เราสมมติว่าคนจะมาใช้ cosmos chain มากขึ้นหลังจากที่มีการเชื่อมต่อ blockchain กันแล้ว (สะพานเชื่อมต่อเพิ่งสร้างเสร็จเมื่อเดือนที่แล้วเอง ตอนนี้ยังมีคนมาเชื่อมต่อไม่กี่ราย) ค่า fee ในระบบก็จะเพิ่มขึ้น
สมมติต่อว่าค่า fee จะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันไปเป็น 5 เท่าเมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี แปลว่า real return ของ atom ก็จะกลายเป็น 2.84*5= 14.2%
ถ้าเราคาดหวังผลตอบแทนที่ 7% แสดงว่าเป้าหมาย atom 1 ปีหลังจากนี้ก็คือ 14.2%/7% หรือเป็นประมาณ 2 เท่าจากราคาปัจจุบัน ซึ่งน่าสนใจมาก
1
ทีนี้มันอยู่ที่ความแม่นในกระเมินค่า fee ในอนาคตของเราแล้วละครับ ถ้าเราเข้าใจระบบของมันติดตามความคืบหน้าของ cosmos ecosystem ได้ดีกว่าคนอื่น เราก็จะประมาณค่า fee ได้แม่นกว่าคนอื่น ซึ่งตรงนี้นักลงทุนต้องไปทำการบ้านกันเอาเอง
3
ผมเองก็ไม่ได้ตาม atom ละเอียดขนาดที่จะประมาณได้ใกล้เคียงพอ ที่ผมคิดไว้ 5 เท่า มันอาจจะโตแค่ 1 เท่าก็ได้ แล้วจากที่คิดว่า atom นั้นมี upside ก็กลายเป็นว่าราคานี้แพงไปแล้วก็ได้
โดยรวม atom ก็เป็นเหรียญที่น่าสนใจตัวหนึ่ง อนาคตดูดี พยายามแก้ปัญหาใหญ่ๆ มีคนมาใช้บริการเค้าเยอะ พอมาดูเรื่อง valuation ก็พบว่าพอใช้ได้ ส่วนตัวแล้วผมไม่ชอบใช้ valuation แบบเปรียบเทียบเท่าไหร่ เพราะจุดอ่อนมันใหญ่เกินไป
1
กรณีเหรียญที่สร้างกระแสเงินสดได้ ควรใช้ ddm จะดีกว่า ซึ่งก็อยู่ที่สมมติฐานของเราแล้วละว่า cosmos จะโตได้แค่ไหน ถ้าโตได้เยอะ atom ก็น่าสนใจ ถ้าแต่โตน้อย ก็แสดงว่าราคาอาจจะแพงเกินไปแล้ว กลับไปทำการบ้านกันเอาเองนะครับ ว่าราคานี้ถูกหรือแพง
โฆษณา