22 เม.ย. 2021 เวลา 01:00 • การศึกษา
ด้วยความเป็นธรรม นิติกรรมและสัญญา📜
นิติกรรม คือ การกระทำใดๆของบุคคล 2 ฝ่าย ที่กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายและมุ่งที่จะผู้พันธ์ เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวในสิทธิ ระงับสิทธิ รวมทั้งโอนไปซึ่งสิทธิ ที่ตนเองมีตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการตกลงทำสัญญาซื้อขาย สัญญากู้ยืมเงิน การจำนำ เป็นต้น ซึ่งการกระทำเหล่านั้นเรียกว่า การทำนิติกรรม
นิติกรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- นิติกรรมฝ่ายเดียว
- นิติกรรม 2 ฝ่าย
นิติกรรมฝ่ายเดียว
หมายถึง นิติกรรมที่มีแสดงเจตนาเพียงคนเดียว หรือฝ่ายเดียว และทำให้เกิดผลทางกฎหมายขึ้น อาทิ การให้ หารผ่อนผันการชำระหนี้ให้ลูกหนี้ เป็นต้น
นิติกรรม 2 ฝ่าย
หมายถึง นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาของบุคคล 2 ฝ่ายขึ้นไป โดยผู้ที่ตกลงทำนิติกรรมทั้งสองฝ่ายมุ่งที่จะยิมยอมร่วมกันตามกฎหมาย ซึ่งก็คือ การทำสัญญาประเภทต่างๆนั้นเอง
เงื่อนไขการทำนิติกรรม
- นิติกรรมจะสามารถได้โดยบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล เท่านั้น
- บุคคลธรรมดาที่จะกระทำนิติกรรมต้องเป็บบุคคลที่มิได้ถูกต้องห้ามไว้ตามกฎหมาย เช่น ผู้เยาว์ คนวิกลจริต บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ บุคคลล้มละลาย เป็นต้น
- นิติกรรมที่จะกระทำนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น สัญญาจ้างฆ่าผู้อื่น สัญญาซื้อขายป่าสงวน เป็นต้น
- นิติกรรมนั้น จะต้องทำแบบที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกฎหมายได้กำหนดแบบของนิติกรรมเอาไว้ 3 แบบ คือ
1. นิติกรรมแบบธรรมดา
เพียงมีบุคคล 2 ฝ่าย ตกลงกันด้วยวาจาไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ นิติกรรมนั้นก็มีผลสมบูรณ์ สามารถใช้บังคับได้ตามกฎหมาย อาทิ การกู้ยืมเงินไม่เกิน 2,000 บาทเป็นต้น
2. นิติกรรมที่ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
นิติกรรมนี้มีกฎหมายบังคับไว้ว่า จะต้องทำนิติกรรมเป็นหนังสือ และนำหนังสือนั้นไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นิติกรรมนั้นจึงจะสมบูรณ์บังคับใช้ได้ตามกฎหมาย อาทิ การซื้อขายที่ดิน การเช่าที่ดินเกินกว่า 3 ปี หรือการจำนอง เป็นต้น
3. นิติกรรมที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
นิติกรรมนี้จะต้องจัดทำหลักฐานเป็นหนังสือว่ามีการทำนิติกรรมนั้นจริง เพื่อให้สามารถที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ อาทิ การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปการเช่าที่ดินไม่เกิน 3 ปี หรือการค้ำประกัน เป็นต้น
อ้างอิง : สุมิตรา จักขุทิพย์ หนังสือ คู่มือกฎหมายประจำบ้าน
โฆษณา