21 เม.ย. 2021 เวลา 14:23 • ประวัติศาสตร์
เล่ห์ลุนตยา - ผ้าทอร้อยกระสวย
ลุนตยา လွန်းတစ်ရာ (ออกเสียงแบบพม่า โหลนต๊ะหย่า/ลูนตหย่า/โหลนหย่า)แปลตรงตัวว่า 100(ต๊ะหย่า)/หลักร้อย(หย่า) กระสวย(โหลน/ลูน) หรือชื่อเต็มๆ ลูนตหย่าจ่อโจจีเฉะ Lun Ta Yar Kyaw Gyo Gyi Cheik... คือ ชื่อผ้าที่ทอด้วยเทคนิคการทอแบบเกาะล้วง (interlocking) ที่ใช้กระสวยนับร้อย (บางผืนถึงเกือบ 1000 กระสวย) อันเป็นศิลปะการทอที่สืบทอดมาจากราชสำนักมัณฑะเลย์ แห่งราชวงศ์คองบอง ของชนชาติพม่า
https://www.facebook.com/1540719236183062/posts/2845915175663455/?d=n
การทอแบบนี้ส่วนใหญ่จะใช้คนทอ 2 คนต่อ 1 ผืน ถ้าเป็นไหมที่เส้นบางละเอียดจะใช้เวลาอย่างน้อย 1 เดือน ต่อผืน บางผืนกินเวลาร่วมปี...
เทคนิคการทอนี้ยังไม่สามารถระบุที่มาได้แน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเริ่มในสมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพญา) เมื่อราว 200 ปีก่อน ที่นำเทคนิคการทอของหลายชนชาติมาพัฒนาขึ้น
การดูผ้าลุนตยาแท้ ง่ายๆเลยคือให้พลิกดูด้านในจะเห็นเป็นเส้นโยงๆชัดเจน
ตัวลายคลื่นเรียกว่า เช๊ค/อะเช๊ค အချိတ် แปลว่าคลื่น/การสลับขึ้นลง ที่ออกแบบลวดลายตามความเชื่อโบราณ ว่าด้วยเรื่องของคติจักรวาล ที่ประกอบด้วย เขาสัตตบริภัณ มหานที และป่าพฤกษา ในแต่ละชั้น พันรอบตัวผู้ใส่ และเปรียบกระหม่อมผู้สวมใส่เหมือนยอดเขาพระสุเมรุอันเป็นที่สถิตย์ของพระอินทร์ ผู้หญิงพม่าจึงนิยมมุ่นมวยผมและประดับดอกไม้เพื่อบูชาพระอินทร์ ไว้เหนือเกล้า
ภาพถ่าย และเรียบเรียงเนื้อหา ต้นฉบับโดย คำพญา ภูษาศิลป์
โฆษณา