21 เม.ย. 2021 เวลา 14:34 • ประวัติศาสตร์
พิจารณาตระกูลภาษา ในอุษาคเนย์ แบบเล่นๆ
ถ้าลองจับสำเนียงเสียงการพูดจะพอนึกกลุ่มภาษาได้ประมาณนึง #พวกตระกูลมลายู-อินโด-ฟิลิปปินส์ จะลงเสียงสะกดหนักๆ เดาว่าแอบมีความสัมพันธ์ ผ่านวัฒนธรรม ชวา จาม ศรีวิชัย กับ #พวกตระกูลเขมร-มอญ-อาระกัน ที่ลงเสียงหนัก และมีอีกเอกลักษณ์ คือการกระดกลิ้น ร.เรือ รัวลิ้นสนุกมากกก.. แต่ #ตระกูลไต /ไท ลักษณะภาษาสอดคล้องกับวิถีชีวิต คือ เรียบง่ายไม่หวือหวา ภาษาไม่ค่อยมีลูกเล่น แต่ผันเสียงได้ มีตัวสะกด และหนักผันไปทางเสียงสูง เว้น #ไทสยาม ที่เป็นลูกผสม ไท+มอญเขมร ที่กระดกลิ้นได้แต่ไม่รัวมาก ผันเสียงต่ำสูง เพราะรับคำนำเข้ามาเยอะ เพราะเป็น hub มาแต่โบราณ... ส่วน #พวกตระกูลพม่า-กะเหรี่ยง เป็นตระกูลหิมาลัย จะมีการใช้ตัวอักษรควบแปลกๆเยอะ อย่าง กย- ชว- จย- พด- และไม่ค่อยเน้นตัวสะกด คือพูดไม่เหนื่อยลิ้นดี แทบจะวางลิ้นติดฟันล่างตลอด ......... ที่พร่ามมาไม่ได้มีความรู้ทางภาษาศาสตร์อย่าฃลึกซึ้งอะไร อาศัย verb to dao อย่างมีหลักการตามความรู้สึกทางการได้ยิน 🤣😅 จบ 😁
เห็นต่างอย่างไร ช่วย comment บอกทีค่ะ มาแลกเปลี่ยนความเห็นกันค่ะ 😁😁
เครดิต รูปภาพ และเรื่องราวดีๆ จาก Facebook page: Asian SEA Story
โฆษณา