22 เม.ย. 2021 เวลา 00:53 • การศึกษา
ปลาสวยงาม (Ornamental Fish) ในสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์ได้รับการยกย่องว่า เป็นเมืองหลวงของอุตสาหกรรมปลาสวยงาม เนื่องจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ของประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ศูนย์กลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสภาพภูมิอากาศเขตร้อน มีอุณหภูมิสูง และมีฝนตกตลอดทั้งปี อีกทั้งระบบการขนส่งทางอากาศของสิงคโปร์ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นสถานที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงปลาเขตร้อนเป็นอย่างดี แม้ว่าประเทศสิงคโปร์จะมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัดในด้านการทำเกษตกรรมและการทำฟาร์มเลี้ยงปลา แต่ทั้งนี้ ในปี 2559 สิงคโปร์ถือเป็นผู้ส่งออกปลาสวยงามอันดับที่ 1 ของโลก โดยเป็นการส่งออกปลาสวยงามกว่า 1,000 สายพันธุ์ ไปยัง 80 กว่าประเทศทั่วโลก มีมูลค่ากว่า 43 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ
อุตสาหกรรมปลาสวยงามในสิงคโปร์ แบ่งออกเป็นการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและการส่งออกปลาสวยงาม โดยผู้ประกอบการจะมีการผลิตปลาสวยงามที่มีคุณภาพสูง รวมทั้งการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ส่งออก หรือผู้ประกอบการค้าส่งภายในประเทศ
ในปัจจุบันผู้ประกอบปลาสวยงามในสิงคโปร์ 5 ราย ได้รับการรับรองระบบการจัดการคุณภาพ (Quality Management System Certificate) ISO 9002 และการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environment Management Systems Certificate) ISO 14001
หน่วยงานที่ควบคุมการนำเข้า – ส่งออกปลาสวยงามในสิงคโปร์ คือ Animal & Veterinary Service (AVS) ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยใน The National Parks Board (NParks) ทั้งนี้ ผู้ประกอบการปลาสวยงามในสิงคโปร์จะต้องมีใบอนุญาตการนำเข้า-ส่งออก จากหน่วยงาน AVS เท่านั้น
สายพันธุ์ปลาสวยงามที่เพาะเลี้ยงเพื่อการส่งออกในสิงคโปร์ ปัจจุบันมีมากกว่า 1,000 สายพันธุ์ ประมาณ 90% เป็นปลาสายพันธุ์น้ำจืด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ อาทิ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศอื่นๆ
ส่วนปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดของสิงคโปร์มีอยู่ประมาณ 135 สายพันธุ์เท่านั้น สายพันธุ์ปลาสวยงามที่ส่งออกจากสิงคโปร์มากที่สุด 6 สายพันธุ์ ดังนี้
 
1) GUPPIES
2) MOLLIES
3) PLATYFISH
4) GOLDFISH (Carassius auratus)
5) KOI carp (Cyprinus carpio)
6) Asian arowana (Scleropages formosus)
ระบบการเลี้ยงและการบรรจุปลาสวยงามในสิงคโปร์
ปัจจุบันในสิงคโปร์มีฟาร์มปลาสวยงามที่ได้รับอนุญาต 65 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เช่น Lim Chu Kang และ Sungei Tengah โดยผู้ประกอบการฟาร์มปลาสวยงามแต่ละรายใช้ระบบการเลี้ยงและการบรรจุที่แตกต่างกัน
ในปี 2551 - 2552 ระบบการเลี้ยงปลาในบ่อเป็นที่นิยมมากที่สุด ส่วนประเภทและขนาดของบ่อจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ปลา ระดับน้ำในบ่อขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ เช่น หากอยู่ในช่วงฤดูแล้ง ผู้ประกอบการจะต้องเพิ่มปริมาณน้ำดี ซึ่ง่คุณภาพน้ำจะใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของดินที่อยู่ในบริเวณบ่อเลี้ยงปลา เนื่องจากความกระด้างของน้ำใน บ่อเลี้ยงปลาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยในดิน เช่น ดินที่มีอินทรียวัตถุสูง มีความเป็นกรด หรือมีความเป็นด่าง เป็นต้น
ในปัจจุบันหลายบริษัท เช่น บริษัท Apollo Aquarium (Pte) Ltd ได้เริ่มระบบการเลี้ยงปลาในตู้ แก้วที่วางเรียงต่อกันในแนวตั้งเพื่อการประหยัดพื้นที่ในการเลี้ยงและยังเป็นการเพิ่มผลผลิตได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในกับบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ขนส่งปลาเพื่อการส่งออกปลาที่มีคุณภาพมากขึ้น
การขอใบอนุญาตผู้ค้าปลาสวยงามในสิงคโปร์
- การนำเข้า-ส่งออกปลาสวยงามในสิงคโปร์ ผู้ประกอบการจะต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตการนำเข้าส่งออกจากหน่วยงาน AVS
- การสมัครและรับใบอนุญาตในการนำเข้า-ส่งออกปลาสวยในสิงคโปร์ จะต้องดำเนินการผ่านทางเว็บไซต์ LicenceOne เท่านั้น
- ขั้นตอนขอใบรับอนุญาตในการนำเข้า-ส่งออกปลาสวยงามจาก AVS
1. เอกสารสำหรับการสมัครขอรับใบอนุญาต
1.1. ผู้ขอใบอนุญาตการนำเข้า-ส่งออก ต้องเป็นผู้ที่ถือสัญชาติสิงคโปร์ ผู้พำนักถาวร หรือผู้ถือบัตรแรงงาน เท่านั้น
1.2. แผนผังพื้นที่สำหรับการเลี้ยง การพัก และการบรรจุปลาสวยงาม ก่อนการส่งออกและหลังการนำเข้า ในสิงคโปร์
1.3. เอกสารการจดทะเบียนบริษัทในสิงคโปร์
1.4. สำเนาสัญญาเช่าสถานที่ในสิงคโปร์ (ถ้ามี)
2. ค่าธรรมเนียมใช้ในการขอใบอนุญาต
ใบอนุญาต Cost and validity
ใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกปลาสวยงาม 350 เหรียญสิงคโปร์ ต่อ 1 ใบอนุญาต ใบอนุญาตเป็นแบบปีต่อปี
 
3. ขั้นตอนการขออนุญาตการนำเข้า
3.1. การขอใบรับรอง Import Health จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- Spring viraemia of carp (SVC)
- Koi herpesvirus disease (KHV)
- Epizootic ulcerative syndrome (EUS)
- Epizootic haematopoietic necrosis (EHN)
- White spot disease (WSD)
- Furunculosis (Aeromonas Salmonicida)
3.2. การยื่นขอใบอนุญาตนำเข้ากับ AVS ผู้นำเข้าจะต้องได้รับใบอนุญาตนำเข้าที่ออกโดยหน่วยงาน AVS และใบอนุญาต CITES หากสายพันธุ์ปลา ที่นำเข้านั้นอยู่ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศในสัตว์ป่าและสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์
 
ขั้นตอน คำอธิบาย
ขั้นตอนที่ 1: ต้องมีใบอนุญาตการสง่ออกหรือส่งออกต่อ CITES ที่ออกโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศผู้ส่งออก
 
ขั้นตอนที่ 2: สมัครและรับใบอนุญาตนา เข้า CITES ที่ออกโดย AVS ผ่านทาง LicenceOne
ขั้นตอนที่ 3: ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจา นวน 12 เหรียญสิงคโปร์ ต่อสายพันธุ์ ทั้งนี้ ใบอนุญาตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมขั้นต่ ารวม 60 เหรียญสิงคโปร์
ขั้นตอนที่ 4: การสมัครทั้งหมดจะต้องส่งผ่าน TradeNet ก่อนเวลา 17:30 น. ในวันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี และก่อน 17.00 น. ในวันศุกร์
 
ที่มา : รายงานการวิจัยเรื่อง The ornamental fish industry in Singapore ของ Ph.D, Gen Hua YUE www.nparks.gov.sg / http://apolloaq.com.sg/our-facility/ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงสิงคโปร์ / พฤษภาคม 2562
ที่มา : https://www.ctat.or.th/news-detail.aspx?c=1&n=2196 วันที่ 21 เมษายน 2564
โฆษณา