22 เม.ย. 2021 เวลา 03:58 • สิ่งแวดล้อม
ภาพดวงดาวที่ไม่ได้เล่าแต่เรื่องดวงดาว ...
ทางช้างเผือกเหนือพระมหาธาตุคู่ อช.ดอยอินทนนท์ โดย วิรติ กีรติกานต์ชัย
ระบบสุริยะของเรานั้นเป็นหนึ่งราวๆหนึ่งแสนล้านระบบสุริยะในกาแล็กซี่ทางช้างเผือก เมื่อมองขึ้นไปบนท้องฟ้ายามค่ำคืน ดวงดาวที่ทอแสงประกายแต่ละดวงนั้นคือดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะอื่นๆ แต่ละระบบสุริยะก็มีบริวารเป็นดาวเคราะห์เหมือนอย่างเช่นระบบสุริยะของเรา
กลุ่มดาวฤดูหนาวพร่างพรายทั่วฟ้า ณ สามพันโบก อ.โพธิไทร จ.อุบลราชธานี โดย ราชันย์ เหมือนชาติ
ระบบสุริยะของเรานั้นตั้งอยู่ในส่วนแขนของทางช้างเผือกในส่วนที่เรียกว่า Orion Spur ไกลออกมาใจกลางทางช้างเผือกประมาณ 30,000 ปีแสง กาแล็กซี่ทางช้างเผือกนั้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 100,000-130,000 ปีแสง ตั้งแต่ระบบสุริยะของเรากำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 5,000 ล้านปีก่อนนั้น เราเพิ่งโคจรรอบทางช้างเผือกไปได้ราว 20 รอบเท่านั้น
ภาพแสดงตำแหน่งของระบบสุริยะของเราบนแขนของกาแล็กซี่ทางช้างเผือก โดย earthsky.org
225-250 ล้านปีคือคาบของระบบสุริยะของเราในการโคจรรอบกาแล็กซี่ทางช้างเผือก ระยะเวลาที่เราโคจรครบรอบนี้เราเรียกกันว่า Cosmic Year
ภาพโดยศิลปินแสดงระบบสุริยะและใจกลางทางช้างเผือกเป็นฉากหลัง โดย earthsky.org
ความพยายามหาดาวเคราะห์นอกระบบหรือ Exoplanet ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้ดำเนินการมานานหลายสิบปี จากเพียงหนึ่งดวงจนมาเป็นหลายพันดวงในวันนี้
ปัจจุบันเราค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบประเภทต่างๆนับพันดวงทั้งในระบบสุริยะของเราและระบบสุริยะอื่น โดย phl.upr.edu
โครงการนี้ช่วยเราวางแผนการดำรงเผ่าพันธุ์มนุษย์ สัตว์และธรรมชาติ ในวันที่โลกนี้อาจมีสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปจนยากที่จะอาศัยอยู่ รวมทั้งประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นจนล้นโลกและในวันที่เราใช้ทรัพยากรหมดสิ้นไป
ฤา เราจะปล่อยให้โลกตายไปเช่นนี้ โดย Designer daily
เราต้องยอมรับว่าวันหนึ่งโลกจะเปลี่ยนไปทั้งเพราะมือของเราและการคุกคามของวัตถุพุ่งชนจากนอกโลก เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมนั้น สิ่งที่เราทำได้คือดำเนินโครงการอนุรักษ์และสร้างสมดุลอย่างยั่งยืน ที่ต้องการความร่วมมือของพลเมืองโลกทุกคน โลกอนาคตนั้นจะไม่มีพรมแดนหรือพลเมืองท้องถิ่น เราไม่อาจผลักภาระหรือมองข้ามปัญหา เป็นหน้าที่ของเราทุกคนในการดูแลรักษาโลกใบนี้
ลำพังการรณรงค์ปีจะสามสี่วัน เช่น earthday หรือ environment day คงไม่เพียงพอ โดย almanac.com
แต่ ... ความพยายามนี้สามารถช่วยยืดอายุของโลกได้ในช่วงยุคสมัยของเราเพียงไม่กี่สิบ กี่ร้อยหรือแค่พันปีเท่านั้น
เราเลือกได้ ...
โครงการสำรวจอวกาศ การค้นหาโลกใหม่หรือ Exoplanet จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เราจะมีฮับ ณ ดวงจันทร์ เราจะสร้างอาณานิคมบนดาวอังคาร จะมีเทคโนโลยีเพย์โหลดที่สามารถขนส่งคน สัตว์และสิ่งของจำนวนมากขึ้นสู่อวกาศ โนอาห์อาร์คอวกาศจะเกิดขึ้นอีกไม่นานและมนุษย์จะออกเดินทางสู่อวกาศ
ยังต้องมีเรือโนอาห์ที่พาเราอพยพไปสู่ดวงดาวดวงใหม่อีกหรือ
เราจึงอยู่ที่ยุคที่ตกกระแสการสำรวจอวกาศไปไม่ได้ การเข้าถึงและเป็นเจ้าของนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้วยตัวเราเอง ไม่ว่าจะเป็นสนับสนุนเยาวชนไทย สถานศึกษาสร้างดาวเทียมหรือโครงการไทยไปดวงจันทร์นั้นไม่ได้ล้าหลังเลย
โครงการ “BCC SPACE PROGRAM : การส่งดาวเทียม BCCSAT-1 เข้าสู่อวกาศ” โครงการที่กระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจด้านเทคโนโลยีอวกาศ และสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของตนเองจึงเป็นเรื่องสำคัญ ได้พัฒนากำลังคนใหประเทศให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
คำถาม
เราจะทิ้งโลกแบบใดไว้เบื้องหลัง?
โลกสมดุลงดงามหรือโลกที่ถูกทำลายล้าง ...
เราสามารถใช้เทคโนโลยีขั้นสูงช่วยปรับสมดุลของโลกให้กลับมาดีได้หรือไม่ ...ร่วมมือ ร่วมแรงและร่วมใจกันครับ
คุณภาพท้องฟ้าเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ โดย วิรติ กีรติกานต์ชัย
Image info :
Camera : Nikon D7K
Lens: Sigma 14mm DG/HSM F1.8
Aperture : F2.8
Exposure : 60 Sec x 8 Images stacking
ISO : 1600
WB : 4500
Tracking : Kenko Sky Memo T
Location : Intanon National park, Chiangmai Thailand
เรียบเรียงโดย
อจ.วิรติ กีรติกานต์ชัย (อจ.โอ)
นักวิชาการอิสระด้านดาราศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
นักดาราศาสตร์สมัครเล่น
เครือข่ายงานดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) NARIT
ฑูตสะเต็ม สสวท.
ที่ปรึกษาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ดาราศาสตร์ ททท.
ผู้ก่อตั้งและผู้ประสานงานชมรมคนรักในดวงดาว
ช่างภาพ, นักเขียนและนักเดินทาง
กิจกรรมอบรมฝึกพัฒนาทักษะให้กับข้าราชการศาลยุติธรรม จัดโดย สถาบันข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม เมษายน 2564
โฆษณา