22 เม.ย. 2021 เวลา 05:00 • ธุรกิจ
กรมสรรพากร ... ตีความ Transport vs Service ต่างกันอย่างไร ?
จากการรวบรวม Tax Ruling ย้อนหลัง 15 ปี ... จนถึงปี 2558 ยังพอมี “ความหวังทางภาษี” เพื่อหา Tax Solution สำหรับ “ผู้ประกอบการ” และ “ลูกค้า” ให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตาม Tax Practice “แนวทางปฏิบัติ” ของกรมสรรพากร
แง่มุมใด ? สัญญาเปลี่ยนอะไร ? เอกสารเพิ่มลดส่วนไหน ? ต้องปรับปรุง Commercial Practice / Legal Implication / Tax Consequence อย่างไร ? มาดูกัน
A. Transport ขนส่งทางบกในประเทศ
โดยสรุป ...กรมสรรพากร “ตีความ” ผ่าน “ข้อหารือภาษี” ตั้งแต่ 2549 – 2558 กรณีเป็นกิจการ “ขนส่งทางบก” Land Transport ดังนี้
1. ผู้ประกอบการให้ “บริการขนส่ง” จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง “อย่างเดียว” เท่านั้น
2. ผู้ประกอบการให้ “บริการขนส่ง” โดยไม่มี “บริการเสริม” หรือ “บริการอื่น” เพิ่มเติมนอกเหนือจาก Load & Unload
3. ผู้ประกอบการให้ “บริการขนส่ง” แยกการขนส่ง ... ออกจาก “บริการอื่น” เช่น Pack & Unpack / Barcoding Service / Warehouse Management
4. ผู้ประกอบการให้ “บริการขนส่ง” แยกการขนส่ง ...ออกจาก “บริการเสริม” หรือ “บริการเพิ่มเติม” เช่น Logistics / Cleaning / Inspection / Service
5. ผู้ประกอบการให้ “บริการขนส่ง” แยก Invoice ใบแจ้งหนี้ / แยก Receipt ใบเสร็จรับเงิน
B. Service บริการ / จ้างทำของ
กรมสรรพากร “ตีความ” ผ่าน “ข้อหารือภาษี” ตั้งแต่ 2549 – 2558 กรณีเป็นกิจการ “จ้างทำของ” หรือ “บริการ”Service ดังนี้
1. ผู้ประกอบการให้ “บริการขนส่ง” จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ... มี “บริการอื่น” เพิ่มเติม เช่น
(ก) จัดเตรียมอุณหภูมิในรถบรรทุกให้ได้อุณหภูมิตามที่ลูกค้าต้องการก่อนไปรับสินค้า (Pre cool)
(ข) ต้องใช้รถบรรทุกที่ติดตั้งเครื่องทำความเย็น และเครื่องควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ตามช่วงอุณหภูมิที่ลูกค้า (เจ้าของสินค้า) กำหนด เพื่อรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมกับสภาพสินค้าแต่ละประเภท
(ค) ติดตามการกระจายสินค้าและควบคุมความเร็วในการขับขี่โดยติดตั้ง (i) อุปกรณ์บันทึกอุณหภูมิระหว่างการขนส่ง (Temperature Tracking) (ii) อุปกรณ์ป้องกันความเสียหายของสินค้า และ (iii) ระบบติดตามการเคลื่อนที่ (Real - time GPS) และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็นตามที่ลูกค้ากำหนด
(ง) เพื่อป้องกันความเสียหายของสินค้า ซึ่งลูกค้าสามารถเข้าตรวจสอบการรักษาอุณหภูมิระหว่างขนส่งได้
(จ) ต้องทำรายงานสรุปผลการกระจายสินค้าให้แก่ลูกค้า
(ฉ) พนักงานขับรถและพนักงานติดรถมีหน้าที่นำสินค้าลงจากรถและจัดเรียงให้เรียบร้อย
(ช) หน้าที่จัดทำรายงานสรุปผลการกระจายสินค้าให้แก่ลูกค้า
(ซ) หน้าที่จัดเรียงสินค้าในคลังสินค้า ติดฉลากสินค้า รวมถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์ (Repacking) และกระจายสินค้าโดยรถควบคุมอุณหภูมิไปยังปลายทางตามที่ลูกค้ากำหนด
(ฌ) หากสินค้าเน่าเสียระหว่างขนส่งบริษัทฯ ต้องจ่ายค่าปรับให้กับลูกค้า
2. หากเป็นสัญญาขนส่งสินค้า โดยผู้รับจ้างต้องมี “บริการเสริม” เช่น
(ก) “รถยกเพื่อขนสินค้า” ของผู้ว่าจ้างจากคลังสินค้า
(ข) เรียงขึ้นรถบรรทุก รวมถึงผู้รับจ้าง
(ค) จัดให้มีกรรมกรประจำรถอย่างน้อย 1 คน เพื่อขนสินค้าลงเรียงกองเก็บ ณ หน่วยงานลูกค้าของผู้ว่าจ้าง และ/หรือหน่วยรับสินค้าปลายทาง
กรมสรรพากร ... วางแนวทาง (ยังไม่ได้ฟันธง) ว่า “หากเป็นบริการที่มุ่งผลสำเร็จของงานเข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของ”
3. บริษัทฯ ให้ “บริการบริหารจัดการคลังสินค้า” ไม่ว่าจะในคลังสินค้าของลูกค้าของบริษัทฯ หรือคลังสินค้าที่บริษัทฯ ได้เช่ามาจากบุคคลที่สามเพื่อนำมาให้บริการกับลูกค้า พร้อมทั้งให้บริการขนส่งสินค้าจากคลังสินค้าดังกล่าวให้กับลูกค้า นั้น
(ก) บริษัทฯ ประกอบกิจการให้บริการขนส่งเป็นปกติธุระ
(ข) บริษัทฯ ได้แยกการ “บริการจัดการคลังสินค้า” ออกจาก “บริการขนส่งสินค้า”
(ค) รวมทั้งเรียกเก็บค่าบริการทั้งสองประเภทแยกออกจากกันอย่างชัดเจน
กรมสรรพากร...”ตีความ” ว่า ... (i) การให้บริการขนส่งสินค้า ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ii) ให้บริการบริหารจัดการคลังสินค้าหรือการเก็บรักษาสินค้า เข้าลักษณะเป็นการให้บริการ บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ง) กรณีการให้ “บริการขนส่งสินค้า” จากโรงงานของผู้ผลิตที่ลูกค้าของบริษัทฯ ซื้อสินค้าไว้ และคลังสินค้าของลูกค้าเอง โดยไม่ผ่านคลังสินค้าของบริษัท (การส่งตรง)
กรมสรรพากร...”ตีความ” ว่า ... เข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งสินค้าในราชอาณาจักร ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
4. บริษัทฯ เป็น “ผู้จัดหารถยนต์” ที่เหมาะสมแก่การบริการขนส่ง “ทรัพย์มีค่า” ของธนาคาร
(ก) เป็นรถยนต์หุ้มเกราะนิรภัย มีสภาพที่ใช้การได้ดี ได้มาตรฐานติดตั้งระบบติดตามผ่านดาวเทียม ระบบตัดน้ำมัน และวิทยุสื่อสารพร้อมพนักงานประจำรถ และหัวหน้าชุดรถหุ้มเกราะนิรภัยที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ในงานเป็นอย่างดี
(ข) พนักงานของบริษัทฯ กำลังปฏิบัติงาน บริษัทฯ จะไม่ใช้รถยนต์และพนักงานดังกล่าวไปให้บริการร่วมกับลูกค้ารายอื่นของบริษัทฯ
(ค) บริษัทฯต้องจัดผู้แทนผู้มีอำนาจของบริษัทฯ มาประจำ ณ สถานที่ที่ธนาคารฯ กำหนด ในวันเวลาทำการปกติของธนาคารฯ ตลอดเวลาการปฏิบัติงานเพื่อควบคุมดูแลการให้บริการขนส่งเป็นไปด้วยดี และเพื่อรับการติดต่อประสานงาน รับคำบอกกล่าวในเรื่องที่เกี่ยวกับสัญญานี้จากธนาคารฯ
กรมสรรพากร “ตีความ” (ฟันธง) ว่า “สัญญาดังกล่าวมีการให้ “บริการอื่นเพิ่มเติม” นอกจากการขนส่ง แม้จะไม่ก่อให้เกิดวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น แต่ผลที่เกิดขึ้นของงานเป็นวัตถุประสงค์ของผู้ว่าจ้างจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่มุ่งถึงผลสำเร็จของงาน เข้า ลักษณะเป็น “สัญญาจ้างทำของ”
C. บทสรุป Tax Solution
ที่ผ่านมาหลายสิบปี...ผู้ประกอบการรายใหญ่ “เรียนรู้” แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร (ตามกฎหมายเดิม) จึงเลือก “ตัดไฟแต่ต้นลม” ... แยกบริษัท Transport Service Co ออกจาก Logistics Service Co ตัวอย่าง TNT Express และ TNT Logistics
ผลที่ตามมา...เมื่อมี “กฎหมายใหม่” Transfer Pricing โอนกำไรในเครือ ... เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ ปี 2563... จะเกิดอะไรขึ้น ? หลังจากนี้
(1) Transport ไม่มี VAT “ภาษีซื้อ” ในกิจการขนส่งกลายเป็น Cost เพราะนำมาใช้เป็น Tax Credit ได้...เรียกเก็บ VAT “ภาษีขาย” จากลูกค้าไม่ได้...ขนส่งทางบกในประเทศ...เป็น “กิจการยกเว้น VAT แบบเด็ดขาด” ... เลือกเข้า “ระบบ VAT” ไม่ได้...เสียเปรียบ “ขนส่งทางอากาศในประเทศ” และ “ขนส่งทางน้ำในประเทศ” แม้ยกเว้น VAT แต่ Domestic Air Transport / Domestic Marine Transport เลือกเข้า VAT System เพื่อใช้ประโยชน์จาก VAT Credit
(2) Cash Flow Management ของ Transport ด้อยกว่า Service แม้ Transport หักภาษี ณ ที่จ่าย 1% ในขณะที่ Service หักภาษี 3% ... แต่ VAT 7% เป็น Cash Flow-in & out ที่มีสัดส่วนมากกว่า...ผู้ประกอบการที่ Smart Tax Planning (Cash Flow) จะเลือก Timing ที่เหมาะสมในการบริหาร Input VAT ปลายเดือน / Output VAT ต้นเดือน...เพื่อ State Financing อยู่ 30 – 40 วันในแต่ละเดือน
(3) People Management ระหว่าง Transport vs Service หนีไม่พ้น Centralized Service / Shared Service มี “รายการระหว่างกัน” RPT (Related Parties Transaction) ... Transport เน้น Driver ต่างจาก Service เน้น People / Team ความแตกต่างอยู่ที่ Skill / Expertise
(4) Transfer Pricing บริการระหว่างกัน...ค่าบริการ Market Price หรือ Justify ได้หรือไม่ ... ว่าไม่ได้ “หลีกเลี่ยงภาษี” โอนกำไรในเครือ เช่น เช่าที่จอดรถหัวลาก / บริการทำความสะอาดตู้เปล่า / บริหารงานระบบ GPS
โดยสรุป...แยกบริษัท / แยกขนส่ง / แยกบริการ / แยก Invoice / แยกสัญญา ... ช่วยได้เรื่อง VAT หรือ Non-VAT แต่ “หนีเสือปะจระเข้” ... Tax Pitfalls ปัญหาใหม่ คือ Transfer Pricing โอนกำไรในเครือ
อดีตที่ผ่านมา...”ปัญหาเดิม” ยังไม่จบ... “ขนส่ง” หรือ “บริการ” ยังไม่มี Judicial Tax Interpretation “ตีความกฎหมายภาษี” จากศาลให้เป็น “บรรทัดฐาน” หรือ Tax Precedent Case ... แต่ยังคงเป็น “แนวทางปฏิบัติ” Tax Practice ของกรมสรรพากร Tax Regulator ฝ่ายเดียว ... คงต้องรอ "ศาล" Tax Neutral Agency ต่อไปจนกว่าจะมี “ผู้เสียภาษี” รายใด ? นำเรื่องนี้ขึ้นสู่ศาล
2
ต่อมา...”ปัญหาใหม่” Transfer Pricing โอนกำไรในเครือ ... มาเพิ่ม “น้ำหนัก” ของ “ภาระภาษี” ระหว่าง “ขนส่ง” หรือ “บริการ” ให้ความยุ่งยากสลับซับซ้อนมากขึ้นไปอีก ...โดยเฉพาะ Service Provider ผู้ประกอบการที่ได้ “แยกบริษัท” ระหว่าง Transport vs Service (Logistics) ออกจากกันมาแล้วหลายปีเพื่อแก้ปัญหา VAT vs Non-VAT และ VAT Allocation
ต่อไป...ผู้เสียภาษีใน Transport & Logistics Service ไม่ควรพลาด Tax Development เรื่องนี้...เพื่อให้ Tax Compliance ถูกต้องตามกฎหมาย By Law และตามแนวทางปฏิบัติ By Practice ของกรมสรรพากร
///////////////////
ติดตาม Legal & Tax Update ประจำได้ที่ LINE: @chinapatonelaw
ชินภัทร วิสุทธิแพทย์
ONE Law Office
ONE Law Academy
Tax Treatment: Transport vs Service ขนส่ง หรือ บริการ
โฆษณา