22 เม.ย. 2021 เวลา 07:29 • สุขภาพ
เผยข้อข้องใจ ทำไมอิสราเอลถึงได้ฉีดวัคซีนไวที่สุดในโลก
อำนาจเงิน ชิงจ่ายแพงตัดหน้า กินโควตาจากประเทศอื่น
9
นับตั้งแต่วันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา เมื่ออิสราเอลประกาศว่าประชาชนไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยเวลาที่อยู่นอกบ้านในที่สาธารณะเปิดโล่งได้แล้ว หลังจากที่ได้รับการฉีดวัคซีนเกินจำนวนครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศไปแล้วที่ 60% ทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันหมู่ อัตราการติดเชื้อลดลงอย่างมากจนเกือบจะเข้าสู่ภาวะปกติ สามารถกลับมาเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ได้อย่างสบายใจ แม้ว่าการเดินทางโดยรถประจำทาง รวมทั้งการเข้าไปในสถานที่ปิดจะยังต้องสวมหน้ากากอนามัยก็ตาม
10
หลายประเทศที่ติดตามข่าวรวมทั้งคนไทยคงจะรู้สึกทึ่งในการควบคุมการระบาดของไวรัสในอิสราเอล และกล่าวโทษตัดพ้อด่าทอประเทศตัวเองที่ไม่สามารถดำเนินการได้แบบอิสราเอล ซึ่งเป็นกันในหลายประเทศไม่ใช่แค่ประเทศใดประเทศหนึ่ง
8
แต่ยังมีความจริงถึงปัจจัยและเหตุผลหลายอย่างว่า ทำไมอิสราเอลจึงมาถึงจุดนี้ได้ ซึ่งมีหลายเรื่องที่คนส่วนใหญ่อาจจะไม่รู้ และไม่มีทางรู้ถ้าไม่หาข้อมูลเชิงลึกอ่าน แต่วันนี้ Reporter Journey จะบอกให้ได้ทราบว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับอิสราเอลนั้นมาจากอะไรบ้าง และบางสิ่งที่อิสราเอลทำนั้นอาจทำลายความเชื่อเรื่องความเท่าเทียมของมนุษย์ และชี้ให้เห็นว่าอำนาจของเงินที่มากพอมันบันดาลให้กลไกต่างๆ ปิดเบือนได้อย่างไร
9
🔵 จ่ายค่าจองวัคซีนแพงกว่าทุกชาติ เพื่อให้ได้โควตามากที่สุด
3
อย่างที่ทราบกันคือ อิสราเอลสั่งวัคซีนของบริษัท Pfizer เพียงเจ้าเดียวเพื่อฉีดให้กับประชากรทั้งประเทศราว 9.8 ล้านคน และมีประชากรมากกว่า 6 ล้านคนได้รับวัคซีนแล้ว โดยในจำนวนนี้ราว 4 ล้านคนได้รับครบแล้ว 2 โดส ซึ่งในตอนที่สั่งจองวัคซีนนั้น นายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอลเสนอจ่ายเงินจองวัคซีนในราคาสูงถึง 30 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อโดสซึ่งมากกว่าราคาทั่วไปที่ทุกประเทศสั่งจองคือ 19 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อโดส หรือมากกว่า 50% แม้แต่ประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็ไม่สามารถจ่ายได้ในราคาที่สูงขนาดนี้
5
แน่นอนว่ามีหรือที่บริษัทผู้ผลิตจะไม่ยอมรับข้อเสนอนี้แล้วจัดสรรลัดคิววัคซีนให้กับอิสราเอลก่อน และในปริมาณมากกว่าทุกประเทศ ที่สำคัญคือ นายเนทันยาฮูยังตกลงที่จะแบ่งปันข้อมูลผลการทดลองฉีดวัคซีนกับประชากรหนูทดลองให้กับบริษัทผู้ผลิตด้วย โดยแพลตฟอร์มการทดลองที่เรียกว่า messenger RNA หรือ mRNA มีการใช้เกือบเฉพาะในอิสราเอลในปริมาณที่มากที่สุดในการศึกษาประสิทธิผลกับจำนวนประชากรจำนวนมาก ซึ่งจริงๆ แล้ว Pfizer เคยนำข้อเสนอแบบอิสราเอลให้กับประเทศไอซ์แลนด์แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ เพราะไอซ์แลนด์ไม่ได้ต้องการให้ประชากรมาเป็นหนูทดลองวัคซีน รวมทั้งไม่ได้มีผู้ติดเชื้อมากเพียงพอสำหรับการศึกษาประสิทธิภาพมากขนาดนั้น
14
สรุปคืออิสราเอลใช้เงินฟาด Pfizer เพื่อจองวัคซีนแพงกว่าและมากกว่าประเทศอื่นๆ อีกเท่าตัว และยอมให้ประชาชนเป็นหนูทดลองขนาดใหญ่เพื่อให้บริษัทผู้ผลิตวัคซีนให้เป็นข้อมูลในการศึกษาประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์นั่นเอง
12
🔵 ประเทศอื่นโดนตัดโควตา ทำส่งวัคซีนช้า กระทบกระจายวัคซีน
3
แน่นอนว่าการที่อิสราเอลให้เงินฟาดลงไปแบบนี้จนได้วัคซีนก่อนใคร และมีสัดส่วนมากกว่าใครในโลกเมื่อคิดตามเปอร์เซ็นต์ของสัดส่วนประชากรทั้งประเทศ มันจึงเกิดผลกระทบต่อการได้รับวัคซีนของประเทศอื่นๆ เช่นกัน
6
อิตาลีคือประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการลัดคิวและได้วัคซีนของ Pfizer ที่ช้ากว่าที่ควรจะเป็นเนื่องจากอิตาลีเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อ และเสียชีวิตสูงที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป และเคยสูงที่สุดในโลกเมื่อปีที่แล้ว ดังนั้นวัคซีนจึงเป็นความหวังของรัฐบาลอิตาลีอย่างยิ่งในการฉีดให้กับประชาชนเพื่อลดอัตราการติดเชื้อ
6
ในช่วงการสั่งจองวัคซีนกับ Pfizer อิตาลีถือว่ามีความสำเร็จอย่างมากในการได้รับการจัดสรรวัคซีนมากกว่าที่สุดในยุโรป แต่เหมือนฝันอิตาลีได้สลายลงหลังจากที่ Pfizer ได้ลดจำนวนการจัดส่งวัคซีนให้กับอิตาลีถึง 30% โดยไม่แจ้งรายละเอียดให้ชัดเจน
5
และหลังจากนั้นไม่กี่วันก็มีข่าวว่า Pfizer ได้จัดส่งวัคซีนหลายล้านโดสไปให้อิสราเอลแทน และอีกไม่กี่สัปดาห์อิสราเอลก็ประกาศขยายการฉีดวัคซีนไปยังประชาชนกลุ่มอายุ 16 – 18 ปี ในขณะที่อิสราเอลต้องระงับการฉีดวัคซีนที่ไม่เพียงพอในกลุ่มประชากรอายุ 60 ปี
7
เรื่องนี้ทำให้ประธานคณะกรรมการแห่งแคว้นเวเนโต นาย Luca Zaia ถึงกับโกรธมาก เพราะแคว้นดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมากที่สุดของประเทศ แต่วัคซีนที่ต้องฉีดให้กับประชานถูกลดโควตามายังแคว้นนี้ถึง 53% และกล่าวโทษไปยังบริษัท Pfizer ที่ไม่สามารถจัดสรรวัคซีนให้กับทุกประเทศที่สั่งจองได้ตามจำนวนในเวลาที่กำหนด เพราะ Pfizer เองก็มีกำลังการผลิตที่จำกัด แต่คำสั่งจองจากประเทศต่างๆ นั้นมีเกินกว่าที่บริษัทจะผลิตไหวในเวลานี้
7
และสิ่งที่ Pfizer ต้องการคือผลกำไร ทำให้ยอมที่จะดีลผลประโยชน์กับผู้นำบางประเทศที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า มีสายสัมพันธ์กับบริษัท แม้จะต้องตัดโควตาของประเทศอื่นๆ ไปให้ประเทศที่จ่ายเงินดีกว่าก็ต้องทำ เพราะผลประโยชน์มาก่อนเสมอ แต่ทาง Pfizer จะออกมาแก้ต่างว่า การส่งวัคซีนไปให้กับอิสราเอลไม่ได้กระทบกับการจัดส่งให้กับประเทศต่างๆ ก็ตาม
9
🔵 การซื้อขายที่ไม่เปิดเผยสถานะ อาจบิดเบือนราคาวัคซีน
1
แน่นอนว่า Pfizer เริ่มมีแต้มต่อรองกับผู้นำประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ต้องการสั่งจองวัคซีนของบริษัท นาย Albert Bourla ประธานกรรมการบริหารของไฟเซอร์ ได้มีการโทรศัพท์พูดคุยกับผู้นำประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทั้งสหรัฐฯ แคนาดา ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รวมทั้งอิสราเอล เพื่อต่อรองการนำผลการทดลองวัคซีนกับประชาชนในประเทศที่สั่งวัคซีนจาก Pfizer มาเป็นข้อมูลให้กับบริษัท ซึ่งอิสราเอลนั้นมีการต่อรองที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ ที่สั่งวัคซีน ที่ยอมให้ประชาชนเป็นหนูทดลอง
2
สถานะของ Pfizer ได้มีการเจรากับ 60 ประเทศแบบไม่เปิดเผยข้อมูลเงื่อนไขทางการค้าเพื่อตอบสนองความทะเยอทยานเร่งขยายกำลังการผลิตให้ได้ 2,000 ล้านโดสภายในปี 2564 และคาดว่ามันจะสร้างผลตอบแทนอย่างมหาศาลให้กับ Pfizer ถึง 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
2
ความสำเร็จของ Pfizer ยิ่งตอกย้ำการเป็นบริษัทที่กินรวบในตลาดวัคซีน เพราะประเทศที่ทำการตกลงจองวัคซีนกับ Pfizer ยินดีที่จะจ่ายเงินจำนวนมหาศาลจนกลายเป็นคำถามสำคัญว่า ทำไมถึงปล่อยให้บริษัทเดียวเข้ามากุมอำนาจเหนือตลาดความต้องการของผู้คนได้อย่างไร
7
ราคาของวัคซีนเริ่มมีการบิดเบือนจากราคากลางที่สูงมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศร่ำรวยในตะวันออกกลางที่ยอมจายเงินมากขึ้นไปอีกเพื่อให้ได้วัคซีนที่มากขึ้นและเร็วขึ้น เช่น ปลายเดือนธันวาคมมีข่าวว่าไฟเซอร์ได้ทำสัญญาที่จะขายยาหลายล้านโดสให้กับประเทศต่างๆ ในข้อตกลงที่ไม่ได้รายงานก่อนหน้านี้ ซึ่งดูไบได้รับวัคซีนล็อตแรกที่บินเข้ามาจากเบลเยียมและประกาศว่าจะฉีดวัคซีนให้กับผู้คน 70% จาก 3.3 ล้านคน
6
เจ้าหน้าที่ในซาอุดีอาระเบียให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Al Arabiya ว่า พวกเขาคาดว่าจะได้รับปริมาณไฟเซอร์ 3 ล้านโดสโดย 1 ใน 3 ของจำนวนนั้นถูกส่งมอบภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์
3
โอมานสั่งซื้อ 370,000 โดส โดยจ่ายเงินสูงถึง 30 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อโดส สำหรับวัคซีนต้นที่มาถึงในเดือนธันวาคม และอีก 24 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อโดส สำหรับการจัดส่งในภายหลัง ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวกับสำนักข่าวของรัฐบาลว่า นี่ถือเป็นราคาที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งนอกอิสราเอล แม้ว่าจะไม่มีการเปิดเผยข้อมูล แต่ก็ทำให้ไม่สามารถพูดได้อย่างแน่นอนเต็มปากแน่นอน
4
ความพยายามในการล็อบบี้ของบริษัทประสบความสำเร็จ เมื่อวันที่ 6 มกราคม องค์การอาหารและยาได้แก้ไขเอกสารข้อเท็จจริงโดยอนุญาตให้ใช้วัคซีนครั้งที่ 6 และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของไฟเซอร์ได้ถึง 20% หน่วยงานกำกับดูแลในยุโรป สหราชอาณาจักร และที่อื่น ๆ ตามมาด้วยสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรสามารถจัดหาวัคซีนของ Pfizer ได้แล้ว
6
ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ยังคงดิ้นรนเพื่อให้ได้รับวัคซีนตามคำสั่งซื้อ ทั้งสวีเดนและญี่ปุ่น ต่างบ่นว่าพวกเขาไม่ได้รับวัคซีนอย่างเพียงพอ และมีความเป็นไปได้สูงที่จะต้องยกเลิกคำสั่งซื้อของ Pfizer จำนวนหลายล้านโดส ส่วนออสเตรียก็ขาดแคลนวัคซีนเช่นกัน
5
สุดท้ายมันก็เห็นได้ชัดเจนว่า แม้แต่เรื่องราวระดับโลกก็ไม่มีความเท่าเทียมใดในตลาดการค้าท่ามกลางสถานการณ์วิกฤต แต่ผู้ร่ำรวยกว่า ยอมจ่ายเงินในปริมาณที่มากกว่า และเส้นสายดีกว่า ย่อมได้เปรียบเสมอบนโลกที่ความเท่าเทียมกันเป็นได้เพียงอุดมคติในความฝัน เพราะทุนนิยมนั้นมันถูกขับเคลื่อนด้วยอำนาจเงินล้วนๆ
3
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
4
โฆษณา