24 เม.ย. 2021 เวลา 11:39 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ภาพจำยังชัดเจน
หลังวิกฤตซับไพรม์ VS หลังวิกฤตโควิด-19
1
จากการศึกษาวงจรการฟื้นตัวของตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังวิกฤตโควิด-19 ตั้งแต่จุดต่ำสุดเดือน มี.ค.2020 จนถึงปัจจุบัน (22/04/2021)
พบว่าการฟื้นตัวของดัชนี S&P500 มีความใกล้เคียงกับการฟื้นตัวหลังวิกฤตซับไพรม์ เดือน มี.ค.2009 ค่อนข้างมากจนแทบจะเรียกได้ว่า copy paste
Bloomberg / ลงทุนฉบับมืออาชีพ
โดยวงจรดังกล่าวบ่งชี้ว่าดัชนี S&P500 ของตลาดหุ้นสหรัฐฯมีโอกาสปรับฐานตั้งแต่วันที่ 284 (ไม่นับวันหยุด) ของการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในเดือน มี.ค.2020 หลังวิกฤตโควิด-19
ซึ่งจะตรงกับช่วงต้นเดือน พ.ค.2021 ขณะที่ปัจจุบัน (22/04/2021) การฟื้นตัวเดินทางมาถึงวันที่ 273 แล้ว จึงมองว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯมีความเสี่ยงปรับฐานอยู่เหมือนกัน หากเปรียบเทียบสถิติการฟื้นตัวหลังวิกฤตเศรษฐกิจครั้งล่าสุดอย่างวิกฤตซับไพรม์ปี 2009
ผลสำรวจการ Overweight หุ้นของ Fund Manager
นอกจากนี้ในช่วงเดือน พ.ค. ของทุกปี นักลงทุนที่อยู่ในตลาดหุ้นมาซักระยะ มักจะได้ยินคำว่า Sell in May จากสำนักข่าวต่างๆอยู่บ่อยครั้ง
ซึ่งคำว่า Sell in May นี้ก็คือ วลีที่นักลงทุนใช้พูดถึงปรากฎการณ์ที่ตลาดหุ้นมักจะปรับตัวลงในช่วงเดือน พ.ค. หลังจากที่บริษัทจดทะเบียนได้ประกาศผลประกอบการไตรมาส 1 และมีการจ่ายปันผลประจำปีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
จึงเกิดเหตุการณ์ขายทำกำไรระหว่างทางเป็นผลให้ราคาหุ้นมีการปรับย่อตัวลงในช่วงกลางปี
Bloomberg / ลงทุนฉบับมืออาชีพ
หากพิจารณาสถิติผลตอบแทนเดือน พ.ค. ย้อนหลังไป 15 ปี นอกเหนือจากตลาดหุ้นสหรัฐฯแล้ว ยังพบว่าตลาดหุ้นในดัชนีหลักๆของโลก ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิด Sell in May เช่นเดียวกัน
โดยผลตอบแทนเฉลี่ยและความน่าจะเป็นที่จะให้ผลตอบแทนเป็นลบ ก็แตกต่างกันไปมากน้อยในแต่ละดัชนี
1
ส่วนตัวผมแล้วมองว่าหากเกิด Sell in May ขึ้นจริงในเดือนหน้า จะเป็นจุดเปลี่ยนให้เกิด sector rotation สำหรับการเข้าซื้ออีกครั้ง จากเดิมที่เม็ดเงินเคยย้ายจากหุ้น growth ไปสู่หุ้น value จะกลับมาตรงกันข้ามกลายเป็นหุ้น value ไปหุ้น growth แทนในช่วงครึ่งปีหลัง
โฆษณา