25 เม.ย. 2021 เวลา 02:16 • สัตว์เลี้ยง
เหลือเชื่อ⁉️ เคยได้ยินแต่งูกินหาง… “งูกินหัว” ก็มีอยู่จริง!
2
📍เห็นภาพนี้เป็นใครก็งงกันทั้งนั้น ทำไมน้องถึงกลืนหัวตัวเอง??? เชื่อว่าใครหลายๆ คนต้องไม่เคยเห็นมาก่อนแน่นอน (น้องหมอก็เหมือนกันค่ะ)
📍เรารู้กันโดยทั่วไปว่า งูมีขากรรไกรที่ยืดหยุ่นมาก และมีบางครั้งก็เกิดการ “กินหางตัวเอง” ได้
🔴 แต่กรณีนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร... มาดูกันค่ะ
น้องหมอตกใจ คนอ่านงุงงง ส่วนเจ้าของกรีดร้อง😅
👉🏻 เรื่องนี้เป็นความผิดพลาดอย่างไม่ตั้งใจของงู Boa constrictor ตัวนี้ เกิดขึ้นระหว่างที่น้องกำลังเขมือบกระต่ายอยู่ แล้วฟันบนก็ไปติดกับตัวกระต่ายโดยอุบัติเหตุ
🐇 ตามสัญชาตญาณเมื่อกระบวนการกลืนอาหารเริ่มต้น ขากรรไกรที่กำลังขยายเต็มที่ก็จะค่อยๆ กลืนอาหารเข้าไป แต่โชคร้ายน้องตัวนี้ส่วนหัวกลับติดเข้าไปด้วย
3
‼️จนได้เป็นภาพงูกำลังเขมือบหัวตัวเองให้เราได้เห็นกัน‼️
สิ่งที่เกิดขึ้นอธิบายเป็นรูปได้แบบนี้ค่ะ ☝🏻 ขอบคุณภาพจาก witmerlab และ Nature says
👉🏻 แต่อย่างไรก็ตาม แกล้งเจ้าของให้ตกใจได้ไม่นาน น้องก็สามารถคายหัวตัวเองออกมาได้ภายหลัง สภาพปกติดีไม่มีอาการบาดเจ็บใดๆ✨
2
🔴 กรณี “งูกินหัว” แม้จะเป็นเรื่องผิดปกติ แต่หลายครั้งก็พบได้ในคนที่เลี้ยงสัตว์พิเศษแบบนี้
โดยเมื่อส่วนหัวเข้าปากไปแล้ว ประมาณ 2-3 นาที น้องก็จะขยับฟันให้หลวมๆ ทันทีที่รู้สึกตัวว่า เอ๊ะ... มันไม่ถูกต้องนะ
👉🏻 ใช่ค่ะ… งูสามารถขยายขากรรไกรและขยับฟันได้นะคะ‼️
จากนั้นคอจะถูกจัดให้ตรง ก่อนค่อยๆ ขยับแล้วคายส่วนหัวออกมาจนในที่สุดก็กลับสู่ตำแหน่งปกติ
💡จากเคสนี้จะเห็นได้ว่า งูมีขากรรไกรที่พิเศษมาก สามารถขยับขยายและยืดหยุ่นได้อย่างน่าถึง ไม่แปลกเลยที่น้องจะสามารถเขมือบอาหารที่ใหญ่กว่าตัวเองได้หลายเท่า
1
📣 มาดูภาพชัดๆ กันค่ะ
Before: หัวน้องหายไปเลย
After: กลับมาเป็นปกติแล้ว✨
🔴 เรียนรู้เพิ่มเติมเรื่อง “ขากรรไกรของงู” ที่ไม่ใช่การถอดขากรรไกรออกเพื่อกินอาหารอย่างที่ใครคิด‼️
ความเชื่อ: งูสามารถถอดขากรรไกรได้
❌FALSE ผิดนะคะ❌
✅ ขากรรไกรของงูมีโครงสร้างเฉพาะและความยืดหยุ่นมากเป็นพิเศษ
📣 กายวิภาคขากรรไกรบนของมนุษย์จะหลอมรวมเข้ากับกะโหลกศีรษะ จึงทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ แต่ขากรรไกรบนของงูจะถูกยึดติดด้วยกล้ามเนื้อเอ็นและเส้นเอ็นทำให้สามารถเคลื่อนไหวแบบ ซ้าย-ขวา และ หน้า-หลังได้
โดยการทำงานสำคัญจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน:
1️⃣ Quadrate bone - เป็นตัวเชื่อมขากรรไกรบนและล่าง ซึ่งทำงานเหมือนบานพับแบบข้อต่อสองชั้น ทำให้สามารถขยายขากรรไกรล่าง เปิดปากได้กว้างถึง 150 องศาเลยทีเดียว❗️
2️⃣ Elastic ligament - มีความยืดหยุ่นสูง เป็นตัวเชื่อมขากรรไกรล่างทั้งซ้ายและขวาให้สามารถยืดออกจากกันได้กว้างมากๆ ซึ่งไม่เหมือนในคนที่จะเชื่อมติดกันถาวร
บางตัวสามารถอ้าปากได้มากกว่า 150 องศานะคะ เกือบเป็นเส้นตรงเลยทีเดียว❗️
ด้วยเหตุนี้ งูจึงสามารถเขมือบอาหารที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวเองได้หลายเท่าแต่บางกรณีสัตว์ตัวใหญ่เกินไปก็เอาไม่อยู่เหมือนกันนะคะ 😅
🌱ฝากติดตามเรื่องเล่าว่าที่สัตว์แพทย์-Vet Stories ด้วยนะคะ
📌 เตรียมรับความรู้และประสบการณ์ที่น่าสนใจได้เลยค่ะ
❤️ ขอบคุณที่ตั้งใจอ่านบทความกันนะคะ
📚 อ้างอิงข้อมูลและรูปภาพ:
1) FB: Luke Roland Martin
1
โฆษณา