Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Indy Writer นักเขียนอินดี้
•
ติดตาม
26 เม.ย. 2021 เวลา 00:34 • ไลฟ์สไตล์
ในประเทศไทยมีกี่ภาษากันนะ ?
เคยสงสัยมั้ยว่า ในประเทศไทยมีกี่ภาษากันนะ คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า ประเทศไทยมีภาษาถิ่นย่อย เพียง 4 - 5 ภาษา Indy Writer จะเล่าให้ฟัง ว่าในไทยมีภาษามากน้อยแค่ไหน
ประเทศไทยจัดเป็นประเทศหนึ่งที่มีความหลากหลายทางภาษาสูงมาก เมื่อมีความหลากหลายทางภาษา แสดงว่ามีความหลากหลายทางกลุ่มชาติพันธุ์และวัฒนธรรมด้วย
การนับจำนวนภาษาในประเทศไทย ไม่ได้นับกันง่าย ๆ ต้องศึกษาวิจัยกันเป็นระบบระเบียบ ใช้เวลาศึกษาข้อมูลกันยาวนาน
จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ออกมา ดังภาพที่เห็นในแผนที่ สีสันต่าง ๆ แทนค่าของกลุ่มภาษาที่บางภาษากระจุกรวมตัวกันเป็นแห่ง ๆ บางภาษากระจายตัวในพื้นที่กว้าง
แผนที่ภาษาในประเทศไทย
สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ, 2547 ทำวิจัยเรื่อง “แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย” พบว่า ในประเทศไทยมีจำนวนของภาษามากกว่า 70 ภาษาในตระกูลภาษา 5 ตระกูล ประกอบไปด้วย ตระกูลไท (Tai-Kadai Language Family) ตระกูลออสโตรเอเชียติค (Austroasiatic Language Family) ตระกูลออสโตรนีเชียน (Austronesian Language Family) ตระกูลจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan Language Family) และตระกูลม้ง-เมียน (Hmong-Mien Language Family) ที่กระจายตัวอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ
แต่ละตระกูลภาษา แบ่งย่อยออกเป็นภาษาต่าง ๆ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอีกมากมาย เช่น
ภาษาตระกูลไทในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 24 กลุ่มภาษา ได้แก่ 1 กะเลิง 2 โซ่ง/ไทดํา 3 ไทขืน 4 ไทยโคราช 5 ไทยเลย 6 ไทยหย่า 7 ปักษ์ใต้ (ภาษากลุ่มใหญ่ในภาคใต้) 8 พวน 9 โย้ย 10 ลาวแง้ว 11 ลาวเวียง 12 ลาวอีสาน (ภาษากลุ่มใหญ่ในภาคอีสาน) 13 คําเมือง/ยวน (ภาษากลุ่มใหญ่ในภาคเเหนือ) 14 ญ้อ 15 ไทยกลาง (ภาษากลุ่มใหญ่ในภาคกลาง) 16 ไทยตากใบ 17ไทลื้อ 18 ไทใหญ่ 19 ผู้ไท 20 ยอง 21 ลาวครั่ง 22 ลาวตี้ 23 ลาวหล่ม และ 24 แสก
ตระกูลออสโตรเอเชียติก (22 กลุ่ม) ได้แก่ 1 กะซอง 2 กูย (ส่วย) 3 ขมุ 4 เขมรถิ่นไทย 5 ชอง 6 ชะโอจ 7 มานิ 8 ซำเร 9 โซ่ (ทะวึง) 10 ญัฮกูร 11 เยอ 12 บรู 13 ปลัง 14 ปะหล่อง 15 มอญ 16 มัลร-ปรัย 17 มลาบรี (ผีตองเหลือง) 18 ละเม็ด 19 ละว้า 20 ว้า 21 ซาไก 22 เวียดนาม
ตระกูล ออสโตรเนเซียน (3 กลุ่ม) ได้แก่ มลายูปัตตานี มอแกน/มอเกล็น อูรักลาโว้ย
ตระกูลจีน-ธิเบต (21 กลุ่ม) ได้แก่ 1 จีนกวางตุ้ง 2 จีนแคะ 3 จีนแต้จิ๋ว 4 จีนแมนดาริน 5 จีนไหหลำ 6 จีนฮกเกี้ยน 7 จีนฮ่อ 8 กะยา 9 กะยอ 10 จิงโพ/คะฉิ่น 11 บเว 12 บิซู 13 ปะกายอ 14 ปะด่อง 15 โปว 16 พม่า 17 ละหู่/มูเซอร์ 18 ละว้า (ก๋อง) 19 ลิซู 20 อะข่า 21 อึมปี
1
ตระกูลม้ง-เมี่ยน (2 กลุ่ม) ได้แก่ ม้ง/แม้ว เมี่ยน/เย้า
ในประเทศไทยมีความหลากหลายทางภาษาสูงมากกว่า 70 ภาษา แน่นอนมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมด้วย เพราะว่าภาษากับสังคมและวัฒนธรรมนั้น มีความสัมพันธ์กัน
การสื่อสารที่ดีควรทำความเข้าใจให้ลึกลงไปถึงรากเหง้าของสังคมและวัฒนธรรมนั้น ๆ การเคารพและให้เกียรติแก่ชนกลุ่มน้อยจะทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
พบกันใหม่ในบทความต่อไปค่ะ
เอกสารอ้างอิง
http://www.langrevival.com/project/ethnoling-map-thailand/
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLC/article/download/20272/17614/
สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ, 2547.
http://research.culture.go.th/index.php/interest/sp/download/549/789/16.html
https://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาในประเทศไทย
ลักขณา พรมพรรณา, 2564. เอกสารประกอบการสอน วิชาการใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน
ติดตามผลงานที่
www.omnibonga.com
ช่องทางติดต่อ
Line : omnibonga
Facebook.com/chicbechic
6 บันทึก
14
14
13
6
14
14
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย