26 เม.ย. 2021 เวลา 12:20
“คนทำคอนเทนต์ยุคใหม่ ต้องรู้อะไรบ้าง ?”
สรุปเนื้อหาสำคัญ จากงาน CTC2021 Online
1
“คนทำคอนเทนต์ยุคนี้จะเหนื่อยมากกว่าทุกยุคที่ผ่านมา เรากำลังอยู่ในยุครอยต่อ ที่สิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นเร็วมาก แล้วเราจะเป็นครีเอเตอร์ในโลกอนาคตได้อย่างไร ?”
คุณเอกลักญ กรรณศรณ์ ผู้ก่อตั้ง BrandThink เพจธุรกิจดังที่ผสมผสานความคิดสร้างสรรค์อย่างลงตัว กล่าวประโยคนี้ในงาน CTC2021 ที่ทาง Blockdit ได้มีโอกาสเข้ารับชมเมื่อวานนี้ ใน Session ที่ชื่อว่า Way to Become a Hybrid Creator
1
Session นี้ได้ให้อะไรดี ๆ เยอะมาก และในฐานะที่ Blockdit ก็เป็นคอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มากด้วยคนทำคอนเทนต์ เราจึงอยากเอาสิ่งได้ที่จากงานนี้มาแชร์ให้กลุ่มครีเอเตอร์ หรือคนที่อยากจะลองทำคอนเทนต์ ได้เห็นไอเดียว่า กลยุทธ์ทำคอนเทนต์ยุคนี้และในอนาคต จะหน้าตาเป็นอย่างไร
1
Creator ยุคก่อน VS Creator ยุคนี้ ต่างกันอย่างไร ?
อย่างที่เรารู้กันว่าครีเอเตอร์ในอดีต จะอยู่ในวงจำกัด มีความสามารถทางครีเอทีฟโดดเด่น และมีเรื่องฐานะเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อเข้าถึงความรู้ความสามารถและเครื่องมือผลิตสื่อ แต่กว่าจะเรียกว่าโปรเฟสชันนอลได้ก็ต้องใช้เวลานานเป็นสิบ ๆ ปี
1
กลับกัน ในยุคนี้ ใคร ๆ ก็เป็นครีเอเตอร์ได้ ทำคอนเทนต์ผ่านสมาร์ตโฟนหรือเครื่องไม้เครื่องมืออื่น ๆ โดยไม่ต้องอาศัยเงินมากมาย หรือทักษะขั้นสูง อีกทั้งยังหารายได้จากคอนเทนต์ได้หลากหลายช่องทาง ตัวอย่างใกล้ตัวเช่น นักเขียนใน Blockdit จะสร้างรายได้จากคอนเทนต์ได้เมื่อทั้งเข้าเงื่อนไขของแพลตฟอร์ม
แล้ว Hybrid Creator คืออะไร ?
Hybrid Creator คือคนที่เห็นภาพรวมทั้งหมดของงาน ไม่ใช่เฉพาะงานที่เรากำลังทำอยู่ และสามารถสร้างงานคุณภาพ อย่างรวดเร็วพอจะแข่งขันได้ ด้วยขั้นตอนที่ Lean หรือเน้นสร้างคุณค่าสูงสุด โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
ส่วนผสมของ Hybrid Creator มีอะไรบ้าง ?
1. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) แบ่งย่อย ๆ ได้เป็น Content Strategy และ Multi Personalization
1.1 Content Strategy
กลยุทธ์การสร้างคอนเทนต์ฉบับ BrandThink ที่คุณเอกลักญ แชร์ให้ฟัง คือการที่คนทำคอนเทนต์ต้องครุ่นคิด และตอบคำถามกับตัวเองให้ได้ ซึ่งคำถามที่ว่ามีทั้งหมด 8 ข้อ ได้แก่
1) ทำไมคนต้องดู/อ่านคอนเทนต์เรา ?
คอนเทนต์นั้น ๆ มีความ Deep หรือ ลึก และพิเศษกว่าคอนเทนต์ทั่ว ๆ ไป อย่างไร โดยเราควรจะรู้ Insight ว่าคนตามคอนเทนต์เราต้องการดูอะไรประกอบด้วย
2) คนเสพคอนเทนต์เราแล้วจะมีอะไรดีขึ้น ได้ยังไง ?
ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การทำคอนเทนต์ของเราเอง ว่าตอบโจทย์ด้านไหน เช่น ให้ความรู้ ให้ไอเดีย ให้แรงบันดาลใจ หรือผลักดันสังคมให้ดีขึ้น (Social Movement)
3) เล่ายังไงให้น่าสนใจ ?
ขึ้นอยู่กับคอนเทนต์ จะลงรายละเอียดภายหลัง
4) ลง Channel ไหน ?
Channel ในที่นี้ไม่ใช่ แพลตฟอร์ม แต่เป็นช่อง หรือรายการ เช่น ในกรณีที่เรามี YouTube หลายช่อง แบ่งตามหมวดหมู่เนื้อหาที่ต่างกัน หรือในกรณีที่เรามีเพจเดียว แต่ภายในเพจแบ่งเป็นรายการพอดแคสต์ รายการวิดีโอ หรือซีรีส์บทความที่หลากหลาย เราต้องเลือกว่าเนื้อหาคอนเทนต์นั้น ๆ ควรจะไปอยู่ในซีรีส์ หรือรายการใดถึงจะเข้าธีมและเหมาะสม
1
5) Collaboration กับใครได้บ้าง ?
การ Collab หรือร่วมมือผลิตคอนเทนต์กับ Expert ในด้านนั้น ๆ จะมาเติมเต็มเนื้อหาของเราให้มีน้ำหนัก และลึกมากขึ้น จาก Small Idea ที่มาจากไอเดียเราอย่างเดียว ก็จะกลายเป็น Big Idea ได้เมื่อมีการ Collab กับคนที่เหมาะสม
 
6) Utilization ได้กี่รูปแบบ ?
มาถึงการตัดสินใจว่าเราจะทำคอนเทนต์ในรูปแบบไหนบ้าง วิดีโอ, Photo Story, บทความ, อินโฟกราฟิก, ข่าวสั้น ๆ หรือ พอดแคสต์
6
7) ลง Media ที่ไหนได้บ้าง ?
Media ในที่นี้คือ แพลตฟอร์มที่เราคุ้นเคยอย่าง Facebook, IG, Twitter, YouTube, TikTok หรือแม้แต่ Blockdit นั่นเอง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นกับว่าคอนเทนต์แต่ละชิ้นเหมาะสมกับแพลตฟอร์มไหนด้วย เพราะอย่าลืมว่าคอนเทนต์ 1 ชิ้นไม่ได้เหมาะกับผู้อ่านผู้ชมในทุกแพลตฟอร์ม
8) ต่อยอดอะไรได้บ้าง ?
ต่อยอดด้วยการสร้าง Conversion จากคอนเทนต์ (สิ่งที่เราต้องการจากลูกค้าหรือผู้ชมผู้อ่านของเรา) เช่น ยอดขายจาก Social Commerce หรือค้าขายออนไลน์เพิ่มเข้ามา หรือต่อยอดเป็นแคมเปญ ที่ประกอบด้วยชุดคอนเทนต์จำนวนหนึ่ง ที่ใส่ Key Message หรือข้อความหลักที่เราอยากสื่อสารไปถึงกลุ่มเป้าหมายของเรา
1.2 Multi Personalization
Personalization หรือการทำคอนเทนต์ให้ตรงใจผู้ชมแต่ละคนมากที่สุด ในยุคนี้จะต้องเป็นมากกว่าแค่การแบ่งกลุ่มตามอายุ เพศ ภูมิภาค แต่ต้องลงลึกถึงความสนใจที่เฉพาะเจาะจง
ตัวอย่างที่เราเห็นได้จาก BrandThink คือ การมี Channel ย่อย ๆ ใน YouTube ถึง 4 Channel ได้แก่
- Sauce Channel เล่าเรื่องอาหาร
- Localry เล่าเรื่องประวัติศาสตร์
- MOODY เล่าเรื่องจิตวิทยา
- BrandThink People เล่าเรื่องผู้คน
ทั้งนี้ก็เพื่อเสิร์ฟกลุ่มคนดูที่ Niche หรืออยู่มีความสนใจเฉพาะเรื่อง เพราะเชื่อว่าเมื่อมีกลุ่ม Niche มาก ๆ เข้าก็จะมารวมกันกลายเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น ซึ่งเวลาคนเข้ามาในสื่อของเรา ไม่ว่าจะเพจ ช่อง YouTube หรือบัญชีโซเชียลใด ๆ ก็จะได้เจอคอนเทนต์หลากหลาย มากเพียงพอที่จะดึงดูดความสนใจของพวกเขาได้นั่นเอง
2. ใจความสำคัญ (Focus) ในการทำคอนเทนต์ สิ่งเราต้องโฟกัสตามมานอกจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์แล้ว ก็คือการเล่าออกมาเป็นเรื่องราว (Storytelling) ซึ่งจะทำให้คนเกิดความรู้สึก หรืออารมณ์ร่วมได้
การดำเนินเรื่องราว ถ้าเราเริ่มต้นด้วยเรื่องราวแง่บวก ก็ควรใส่เรื่องราวแง่ลบเข้ามาด้วย เพื่อช่วยสร้างจุดสนใจ หรือกลับกัน ถ้าเราเดินเรื่องด้วยแง่ลบ ก็ควรจบลงด้วยเรื่องราวดี ๆ ไม่ควรทำให้คอนเทนต์ราบเรียบ อย่างดีตลอดเรื่อง หรือลบตลอดเรื่อง โดยที่ไม่ได้ออกหมัดเด็ด และทิ้งท้ายให้คนจดจำเลย
3. เป้าหมายของการทำคอนเทนต์ (Goal) เราในฐานะคนทำคอนเทนต์ต้องไม่ลืมเป้าหมายของตัวเอง โดยตั้งต้นจากความเชื่อว่าทุกคอนเทนต์มีชีวิต โดยมีเราเป็นคนปลุกปั้น อย่าเพิ่งคิดถึงการสร้างรายได้มาเป็นอันดับแรก แต่ควรเริ่มจากความเชื่อที่ตัวเองมี ว่าต้องการทำคอนเทนต์ไปเพื่ออะไร เราถัดในสิ่งนี้ไหม และเราได้ตอบโจทย์ผู้อ่านผู้ชม รวมถึงสิ่งที่เราเชื่อแล้วหรือยัง…
อ่านมาถึงตรงนี้ ทุกคนน่าจะได้เรียนรู้กลยุทธ์การทำคอนเทนต์กันพอสมควรแล้ว ใครที่อยากเพิ่มเติมความรู้ให้เท่าทันยุคสมัย ทาง CREATIVE TALK ก็มีมาให้รับชมอีกหลายสิบ Session ในรูปแบบออนไลน์ ทั้งด้าน Creative, Marketing, Innovation, Entrepreneurship, และ People จาก Speakers ชื่อดังในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย
ราคาบัตรใบละ 1,800 บาท
พิเศษ! 4 ใบ เพียง 6,480 บาท
ซื้อครั้งเดียวได้ 3 ต่อ
1. เข้าชมทุก Sessions ย้อนหลังในงาน CTC2021 ตลอด 1 ปีเต็ม
2. เข้าร่วม Creative Workshop ต่อยอดโอกาสให้คุณได้ไม่รู้จบ
3. อัปเดต Original Content จาก CREATIVE TALK ได้ตลอดทั้งปี
พิเศษสำหรับแฟน ๆ Blockdit เช่นเคย
รับส่วนลดไปเลย 10% เพียงแค่กรอกโค้ด BLOCKXCTC2021 ตั้งแต่วันนี้ - 30 เมษายน 2563 (มีจำนวนจำกัดถึงสิ้นเดือนนี้เท่านั้นนะ)
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม และซื้อบัตรได้เลยที่นี่
#CREATIVETALKCONFERENCE2021 #CREATIVETALK #CTC2021 #CTC2021ONLINE
1
โฆษณา